21 ก.ค. 2019 เวลา 04:02 • ธุรกิจ
💵Money Toy
Debentureหรือหุ้นกู้​ for beginner🤑
ของเล่นทางการเงินชิ้นเก่ามาเล่าใหม่?💰
อะไรคือหุ้นกู้​ 7​ชั่วโคตร?.. หุ้นกู้ชั่ว​นิรันดร์​👻
ตายไปยังไม่ได้เงินต้นคืน...
.... สังเกต... ช่วงนี้หุ้นกู้กลุ่มอสังหาออกมาเยอะเหลือเกิน.. หลากหลายรูปแบบ... จะซื้อดีไหม?
ดอกเบี้ยดูให้เยอะดี... แต่จะเจ้าก็ให้ไม่เท่ากัน?
แต่ละเจ้าต่างกันตรงไหน?
เดี๋ยวมาดูกัน...
หุ้นกู้หลักๆจะมี 2 แบบ คือ💓
1. หุ้นกู้ (Debenture) = เครื่องมือระดมทุนระยะยาว ซึ่งผู้ออก(ลูกหนี้)จ่ายผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนด ในที่นี้ผู้ถือหุ้นคือเจ้าหนี้
2. หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture) = หุ้นกู้ที่ให้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในอนาคตตามเงื่อนไขที่กำหนด
แรงจูงใจของหุ้นกู้❤️
1. ดอกเบี้ยถือเป็นค่าใช้จ่าย ทำให้บริษัทลดหย่อนภาษีได้ (Tax Shield)
2. เสริมภาพลักษณ์บริษัท โดยการจัดอันดับเครดิต ดีที่สุดคือ AAA
3. ทำให้ระดมทุนได้โดยไม่ต้องผ่านสถาบันทางการเงิน
4. ไม่มี Dilution effect กับหุ้นสามัญ
2
ผลกระทบต่างๆจากการออกหุ้นกู้
ทางบวก😎
1. กระแสเงินสดเพิ่มขึ้น สภาพคล่องของบริษัทดีขึ้น (current ratio และ quick ratio เพิ่ม)
2. กระแสเงินสดที่ได้นับเป็นรายรับพิเศษ (แสดงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น)
3. ดอกเบี้ยถือเป็นค่าใช้จ่าย ทำให้บริษัทลดหย่อนภาษีได้ (Tax Shield)
ทางลบ🙄
1. หนี้สินเพิ่มขึ้น (Debt/Equity เพิ่ม บ่งบอกความเสี่ยงทางการเงินที่เพิ่มขึ้นของบริษัท)
2. Interest coverage ratio ลดลง แปลว่าความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยลดลง ,DSCR ลดลง กล่าวคือความสามารถในการชำระหนี้ลดลง
การอ่านใบแสดงข้อมูลสำคัญ 🔥
1. Symbol / Company
2. วันที่คณะกรรมการมีมติ
3. ประเภทหุ้นกู้
*****หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ คือ ฐานะด้อยกว่าเจ้าหนี้ทั่วไป ถ้าบริษัทเจ๊งจะมีสิทธิ์เรียกร้องเงินเป็นลำดับสุดท้าย คือไม่น่าได้เงินคืนนั่นเอง มักได้ดอกเบี้ยสูง
*****หุ้นกู้มีประกัน คือ บริษัทมีหลักทรัพย์มาประกัน ทำให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าหุ้นไม่มีประกัน
4. สกุลเงิน
5. อายุหุ้นกู้ ไม่เกิน 1 ปีจัดเป็นหนี้สินระยะสั้น เกิน 1 ปีจัดเป็นหนี้สินระยะยาว
6. อัตราดอกเบี้ย มักตามตลาด ถ้าสูงกว่าคือสร้างแรงจูงใจ
7. การเสนอขาย (PO นักลงทุนทั่วไป, PP วงแคบ)
8. การไถ่ถอนก่อนกำหนด ****option เสริม เป็นประโยชน์ต่อบริษัท ถ้าดอกเบี้ยในตลาดต่ำกว่า สามารถใช้สิทธิ์ไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ดอกเบี้ยสูงก่อนกำหนดได้
9. วัตถุประสงค์ (ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน, ขยายธุรกิจ)
🤔อยากจะยกตัวอย่างเป็นพิเศษสำหรับหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์เพราะมีความน่าสนใจและน่ากลัวในเวลาเดียวกันค่ะ🤔
*****Perpetual bondหรือหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (ตัวอย่างในที่นี้คือหุ้นกู้ของบ. Ananda Development)
• มักมีเงื่อนไขซับซ้อน
• ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติมาก
• สังเกต wording
o หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ คือ ถ้าเจ๊งก็ไม่ค่อยได้เงินต้นคืน
o ที่มีลักษณะคล้ายทุน คือลงบัญชีในส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่ลงเป็นหนี้สิน
o ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท คือ ไม่กำหนดเวลาคืนเงินต้น
o ผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิ์ไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด คือ ถ้าตลาดดอกเบี้ยช่วงนั้นถูกมาก ก็จะยกเลิกหุ้นกู้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า คืนเงินต้นก่อนกำหนดได้
o มีสิทธิ์เลื่อนชำระดอกเบี้ยโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ คือ เลื่อนได้ตามใจชอบ เลื่อน 100 ปีก็ได้ ไม่มีเงื่อนไข
1
.....บริษัทไหนออกหุ้นกู้บ่อยๆ​ นี่ให้เล็งๆไว้นะ​ว่ากระแสเงินสดมีปัญหารึเปล่า? ดูอัตราส่วน​ D/E.​ Interest coverage ratio, DSCR เน้นๆเลย​ (ยกเว้นจะบุ๊คเป็นส่วนผู้ถือหุ้นนะ)
เมื่ออ่านจบแล้วคิดว่าน่าจะอ่านเอกสารข้อมูลหุ้นกู้อย่างง่ายได้แล้วนะคะ
เพิ่มเติม
❤️Initial credit spread. คือ​ ส่วนชดเชยความเสี่ยงของตลาด​ ณ​ เวลานั้นๆ​ แยกตามอายุและอันดับความน่าเชื่อถือ​ (ดูในสมาคมตราสารหนี้ไทย​ ThaiBMA)
จะแบ่งตามกลุ่มเช่น​ AAA, BBB
ที่ต้องมารวมกับพันธบัตรรัฐบาลเพราะถือว่าพันธบัตรรัฐบาล​เป็นฐานของตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด​ (risk free rate นั่นเอง)
คิดง่ายๆเลย... คือถ้าได้ดอกเบี้ยเท่ากับพันธบัตรรัฐบาล​แต่ความเสี่ยงสูงกว่าคืออุบาทว์จ้า🙄
🤸🤸‍♀️🤸‍♂️
🤑ดอยอะไรก็ติดได้..แต่อย่าติดดอยชีวิต🤑วางแผนไว้ก่อน..รู้รอดเป็นยอดดี
หมอลงทุน
FA Sayamon S.
Finnomena ref 116407
ติดต่อแนะนำการลงทุนได้ที่..สมัครเลย!
♥️ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ ♥️
รบกวนกด Like กดแชร์ เป็นกำลังใจให้กัน ส่งต่อความรู้ดีๆ ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนน้า
blockdit หมอลงทุน
facebook หมอลงทุน
...
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา