21 ส.ค. 2019 เวลา 10:59 • ธุรกิจ
❤️ประวัติศาสตร์การเงิน
เดจาวู!? ทำไมวิกฤตทางการเงินถึงเกิดซ้ำๆ?💸
เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง?📝
เรื่องเก่ามาเล่าใหม่ วิกฤตต้มยำกุ้ง😭
💵มาจะกล่าวบทไป...ก็ขอเล่าถึงจุดเกิดเหตุในช่วงปี 1985
... เมื่อสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นขายดีมากๆ ได้เปรียบดุลการค้าทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเกิดการจัดประชุม G5 ขึ้นเพื่อไม่ได้ญี่ปุ่นได้เปรียบดุลทางการค้ามากเกินไป เกิดข้อตกลง Plaza Accord รบกวนค่าเงิน โดยลดค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐลง ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น ขายของยากขึ้นนั่นเอง ❤️
... แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นอย่างที่สหรัฐคาด..
เมื่อเงินเยนแข็งค่าขึ้น ..แทนที่สินค้าของญี่ปุ่นจะขายได้ลดลง กลับขายได้ดีเพราะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ แถมยังรวยขึ้นทันที เพราะต้นทุนสินค้าที่นำเข้าถูกลง 70% จนรัฐบาลญี่ปุ่นติดใจ ปรับค่าเงินให้แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ จาก 250 เยนต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐ กลายมาเป็น 75 เยนต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐ ในปี 1990💸
1
... ช่วงเวลานั้น ประเทศญี่ปุ่นกลายมาเป็นประเทศที่รวยที่สุดในโลก ธนาคารใหญ่ที่สุด ซื้อตึกเอมไพร์สเตทที่สูงที่สุดในโลกได้💸
... แต่หลังจากปี 1995 เป็นต้นมา เศรษฐกิจเริ่มทรุดตัว สินค้าจากที่ขายได้ เริ่มขายไม่ได้ เพราะต้นทุนการผลิตในประเทศญี่ปุ่นมีราคาสูงมาก จึงมีการย้ายฐานการผลิต มายัง .”ประเทศไทย” นั่นเอง❤️
... เมื่อญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตมายังไทย ... เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว ❤️
รัฐบาลมีการเปิดเสรีทางการเงิน กู้ง่าย ลงทุนง่าย สนับสนุนการเข้ามาของเงินทุนต่างชาติ
แต่มีนโยบายล็อกค่าเงิน โดยอัตราแลกปลี่ยนบาทไทย คือ 25 บาท ต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐ
ต่อมาเมื่อปล่อยกู้ง่ายเกินไป หนี้ต่างประเทศต่อ GDP ขึ้นไปถึง 180% ต่อ GDP ฟองสบู่เริ่มก่อตัว จากการกู้เงินที่ง่าย และเศรษฐกิจโตอย่างรวดเร็ว
... ในปี 2539 เป็นช่วงเวลาที่หลายฝ่ายเริ่มมองเห็นอาการอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจไทย การส่งออกที่เติบโตแบบติดลบ เริ่มจาก IMF หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้ออกมาเตือนประเทศไทยว่า
“นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวจะช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นวิกฤตทางการเงินได้”
แต่สุดท้ายแล้วประเทศไทยเราก็ไม่ได้สนใจคำเตือนและเดินหน้าด้วยนโยบายเดิมต่อไป
🐍ตัวละครใหม่ที่เพิ่มเข้ามา คือ จอร์จ โซรอส…
เมื่อจอร์จ โซรอส เห็นจุดอ่อนว่าเงินส่วนมากที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินกู้ไปนั้น ถูกนำไปใช้เก็งกำไรในสินทรัพย์ที่เป็นฟองสบู่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถูกปั่นขึ้นสูงกว่าความเป็นจริง และเป็นหนี้เน่า มีโอกาสถูกเบี้ยวหนี้สูงมากและเมื่อดูตัวเลขมูลหนี้ต่างชาติก็พบว่า...ประเทศไทยเป็นหนี้ระยะสั้นจำนวนมหาศาลที่สะสมมานับสิบปี และสัดส่วนเงินก้อนนี้สูงกว่าเงินสำรองระหว่างประเทศของแบงก์ชาติ
จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่โซรอสตัดสินใจโจมตีค่าเงินบาทไทยทันที😭
เกมการเงินของจอร์จ โซรอส…💸
...เมื่อคำนวนแล้วว่าไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไม่ได้มีมากพอที่จะพยุงค่าเงินบาทให้คงที่ได้
จึงโจมตีด้วยความต้องการเงินดอลล่าร์ทะลักเข้ามาในประเทศอย่างต่อเนื่อง จนเงินสำรองของไทยไม่สามารถพยุงค่าเงินบาทไว้ได้อีกต่อไป …
“ความเชื่อมั่นหาย ฟองสบู่ก็แตก”😭
... ประเทศไทยโดนโจมตีค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง กลุ่มธนาคารต่างชาติที่เป็นเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินและบริษัทในไทย ไม่มั่นใจในความสามารถชำระหนี้ จึงต้องเรียกคืนเงินต้นของตัวเองทันที เพราะไม่ต้องการรับความเสี่ยงไปมากกว่านี้แล้ว ทำให้กิจการต่างๆ ที่อยู่ในช่วงก่อสร้าง ขาดสภาพคล่อง ถูกบีบ ลดคน เลิกจ้าง เงินไหลออกไปฝากยังต่างประเทศเพื่อความปลอดภัย
... แต่แบงค์ชาติดื้อดึงยังไม่ลอยตัวค่าเงิน นำเงินทุนสำรองมาซื้อเงินบาทกลับ เมื่อเงินทุนสำรองหมด
... จนในที่สุด...2 กรกฎาคม 2540 ประเทศไทยประกาศปล่อยลอยตัวค่าเงินบาท💸
มีผลทำให้หนี้ต่างๆที่มีอยู่เดิมจากการกู้เงินต่างประเทศเพิ่มขึ้นสูงมาก เพราะค่าเงินบาทอ่อน สุดท้ายไม่มีเงินจ่าย เพราะอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้มีมูลค่าสูงขึ้นเป็นเท่าตัว NPL ที่เน่าเฟะสูงถึง 2.5 ล้านล้านบาท
อสังหาต่างๆที่กำลังสร้างฟองสบู่แตก กลายเป็นบ้านผีสิง ตัวอย่างที่เรารู้จักกันดีคือ “สาทรยูนีคทาวเวอร์” ❤️
ตลาดหุ้นที่พังพินาศ😭
... จากทำจุดสูงสุดในปี 2537 ที่ระดับ 1,753.73 จุด ตกลงมาที่ระดับ 1,410.33 ในเดือนมกราคม 2540 และร่วงหล่นสู่ 457.97 จุดในเดือนมิถุนายนก่อนที่จะประกาศลอยตัวค่าเงิน และลงสู่จุดต่ำสุด 207 จุดในเดือนกันยายน 2541
💎เหตุการณ์ต่างๆ วิกฤตฟองสบู่แบบนี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดอีกเป็นครั้งที่สอง แม้ว่าจะผ่านพ้นไปแล้ว
😊แต่เหตุการณ์ที่เกิดจากความโลภทั้งที่รู้หรือไม่รู้ มักเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้ง The Dot-Com Bubble, Tulip Mania, Subprime bubble มันก็จะมาอีกครั้งในรูปแบบเดิมๆ เพิ่มเติมคือตัวละครใหม่ครับ!
🤸🤸‍♀️🤸‍♂️
🤑ดอยอะไรก็ติดได้..แต่อย่าติดดอยชีวิต🤑วางแผนไว้ก่อน..รู้รอดเป็นยอดดี
หมอลงทุน
FA Sayamon S.
Finnomena ref 116407
ติดต่อแนะนำการลงทุนได้ที่..สมัครเลย!
♥️ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ ♥️
รบกวนกด Like กดแชร์ เป็นกำลังใจให้กัน ส่งต่อความรู้ดีๆ ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนน้า
blockdit หมอลงทุน
facebook หมอลงทุน
...
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา