23 ก.ค. 2019 เวลา 00:09 • ธุรกิจ
Digital Music War ตอนที่ 9 : Zune
เหล่าผู้บริหาร ของ Microsoft กำลังเพ่งความสนใจไปที่ความท้าทายว่า จะทำอย่างไรให้ Microsoft นั้นกลับมาสู่การแข่งขันในธุรกิจเครื่องเล่นเพลงแบบดิจิตอลได้ แน่นอนว่าต้องเอาชนะ iPod รวมถึงบริการอย่าง iTunes และ Microsoft ต้องไม่ย้อนรอยความผิดพลาดเดิมด้วย PlayForSure อีกอย่างแน่นอน
Digital Music War ตอนที่ 9 : Zune
ดังนั้นจาก Project Argo มันได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการว่าเครื่องเล่น Zune และ Microsoft ต้องการผูกตัว Zune ให้เข้ากับความสำเร็จอื่น ๆ ที่บริษัทเคยได้มาอย่าง Xbox 360 ที่เป็นรุ่นที่ 2 ของ Xbox เครื่องเล่นเกม เรือธงของ Microsoft ในขณะนั้น
ต้องบอกว่า Xbox 360 นั้นได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามของเหล่า ๆ แฟน ๆ เกมส์ทั่วโลก ซึ่งเป็นการปล่อยตัวออกมาก่อนที่คู่แข่งสำคัญอย่าง Sony และ Nintendo นั้นจะเริ่มไหวตัวทัน เป็นก้าวที่สำเร็จครั้งแรกของ Microsoft ในธุรกิจ ดิจิตอล Entertainment
Xbox 360 กับความสำเร็จครั้งแรกของ Microsoft ในตลาดเกม
เหล่าทีมงานของ Zune ก็เริ่มไล่เรียง จุดด้อยของ iPod ว่าไม่มีอะไรบ้าง แล้วใส่มันเข้าไปในเครื่องเล่น Zune ตัวอย่างเช่น WIFI Connect ที่จะทำให้ Zune สามารถแบ่งปันเพลงกับเพื่อนผ่านทางเครือข่าย WIFI Network ได้
และกลายเป็นเหล่าค่ายเพลงที่ต้องการเข้ามาร่วมแบ่งเค้กส่วนนี้จาก Microsoft เนื่องจาก Apple นั้นแทบจะไม่แบ่งส่วนแบ่งในการเก็บเข้าเครื่อง iPod ของพวกเขา เพราะเป็นการ Burn จาก CD ลงมาที่เครื่อง iPod
เหล่าผู้บริหารค่ายเพลงทั้ง Sony , Warner , Universal ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ต้องการเรียกร้องค่าลิขสิทธิ์ 1 ดอลลาร์ ต่อเครื่องเล่นที่ขายได้ 1 เครื่อง และในที่สุด Microsoft ก็ตกลง และพวกเขาก็สามารถแก้แค้น Apple ได้ในที่สุด
ชื่อของเครื่องเล่น Zune นั้นต้องการให้ไกลจาก Apple มากที่สุด เพราะ Apple ขึ้นด้วยตัว A ส่วน Zune นั้นขึ้นด้วยตัว Z แม้ข่าวจะรั่วไหลออกไป เหล่าสื่อต่าง ๆ ก็มีทั้งชอบและไม่ชอบหลาย ๆ แนวความคิดของเครื่องเล่น Zune
ตัวอย่างเรื่องสีเครื่องที่เป็นสีน้ำตาล และข้อจำกัดอีกหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น การแชร์ไฟล์ ที่ถือว่าเป็นความคิดที่แปลกประหลาดอยู่เหมือนกัน
ปัญหาใหญ่ของ Microsoft ที่มีอยู่คือ เรื่องรสนิยม และความคิดสร้างสรรค์ แม้ ตอนนั้นจะใช้ทีมงานเก่ง ๆ กว่า 230 คน ที่กำลังพัฒนาเครื่อง Zune อยู่ และเป็นการเดินหน้าแบบเต็มที่จากผู้บริหารสูงสุดอย่าง สตีฟ บอลเมอร์
และในที่สุด Zune ก้ได้ออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการ หลังจากใช้เวลาในโครงการนี้กว่า 8 เดือน ซึ่งเมื่อเทียบกับการสร้าง iPod ของทีมงาน Apple นั้น ถือว่าเป็นโครงการที่ใช้เวลาทำอย่างรวดเร็วมากกับ Project ที่เป็น Hardware ซึ่งเหล่านักวิเคราะห์คาดการ์ณว่า Zune จะขายได้ประมาณ 3 ล้านเครื่องในปีแรก
Zune ที่ Microsoft หวังมาล้ม iPod
ซึ่งหลังจากเปิดตัวนั้น เหล่าผู้บริหารของ Microsoft ได้ออกมาอธิบายว่า Zune นั้นเป็นแค่อุปกรณ์แก้ขัดไปก่อนในช่วงแรก ก่อนที่ Microsoft นั้นจะสร้างบริการไปเก็บเพลงทั้งหมดไว้บน Cloud และสามารถเข้าถึงเพลงส่วนตัวได้ทุกที่ทุกเวลา
Zune จึงถูกมองเป็นอุปกรณ์แก้ขัด ของอุปกรณ์ใหม่ที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต ซึ่งจะมีประสิทธิภาพดีกว่ามาก ความคาดหวังของ สตีฟ บอลเมอร์ นั้น เป็นการรวมเอาเครื่อง Zune เข้ากับ Xbox 360 ซึ่งมักจะเป็นของเล่นในห้องนั่งเล่น ทั้งที่บ้านรวมถึงที่ทำงาน และมีการเชื่อมต่อกับ Cloud ผ่านทางการออนไลน์
ซึ่งการตัดสินใจของ Microsoft ในการผลักดันเครื่อง Zune และทิ้ง PlayForSure ไว้เบื้องหลังนั้น ทำให้เหล่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เก่า ๆ ที่ทำเครื่องเพื่อรองรับ PlayForSure นั้นโกรธเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่า Zune นั้นได้กลายมาเป็นคู่แข่งโดยตรงของพวกเขาทันทีหลังจาก Microsoft ประกาศลอยแพ PlayForSure
แต่ต้องบอกว่าในขณะนั้น ร้านดนตรี iTunes ของ Apple นั้นสามารถที่จะขายเพลงไปได้มากกว่า 600 ล้านดอลลาร์ต่อไตรมาส เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และการที่ Zune ไม่ได้ใช่ PlayForSure ทำให้เว๊บไซต์ที่ใช้ Software PlayForSure ต้องทำการปิดตัว เหล่าผู้ทำการตลาด รวมถึงผู้ให้บริการ Software ที่เกี่ยวข้อง ต่างเริ่มขาดความเชื่อมั่นใน Microsoft จึงเริ่มทยอยปิดตัวลงไปเรื่อย ๆ โดย Napster นั้นได้กลายเป็นบริการสุดท้ายที่ยังใช้ PlayForSure ก่อนจะเลิกไปในกลางปี 2010 ในที่สุด เป็นการปิดฉาก PlayForSure อย่างเป็นทางการ
และบททดสอบครั้งสำคัญของเครื่องเล่นเพลงดิจิตอล ตัวใหม่อย่าง Zune ที่จะมาแข่งขันกับ iPod ของ Apple คือ เทศกาลคริสมาสต์ในปี 2006 ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาทำเงินของเหล่าสินค้าอุปโภคบริโภคของสหรัฐอเมริกา และ Zune พร้อมที่จะเป็นของขวัญคริสมาสต์ชิ้นสำคัญให้กับเหล่าผู้บริโภคทั้งหลายของประเทศอเมริกาได้หรือไม่ และจะทำยอดขายได้มากน้อยเพียงใดหลังผ่านคริสมาสต์ครั้งแรก จะสามารถเอาชนะ iPod ของ Apple ได้หรือไม่ ติดตามได้ตอนหน้าครับผม
อ่านตอนที่ 10 : Design Philosophy
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา