30 ก.ค. 2019 เวลา 15:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
CRISPR - ประเด็นที่ 3 - การแก้ไขจีโนมเพื่อป้องกันและรักษาโรคของมนุษย์
ปัจจุบันมีงานวิจัยกว่าพันชิ้นที่กล่าวถึงเทคนิค CRISPR เนื่องจากเป็นระบบที่นิยมใช้ในการแก้ไขจีโนมเป็นอย่างมาก ในปี ค.ศ. 2015 การใช้ CRISPR/Cas9-gRNA ถูกเลือกโดยสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน (AAAS) ว่าเป็นเทคนิคยอดนิยมและมีศักยภาพในการควบคุมยีนของสิ่งมีชีวิตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงมนุษย์
งานวิจัยส่วนใหญ่จะใช้ CRISPR เพื่อศึกษาทำความเข้าใจโรคโดยใช้เซลล์ของสัตว์ ขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ก็กำลังพิจารณาที่จะใช้เทคนิค CRISPR กับคนที่เป็นโรคทางพันธุกรรมโดยเฉพาะที่มีความผิดปกติของยีนเดี่ยว (Single-Gene Disorders) เช่น
- Cystic Fibrosis ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้สารคัดหลั่งของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเหนียวข้นขึ้น
- Hemophilia โรคเลือดไหลไม่หยุด
- Sickle-cell Disease (SCD) โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
หรือโรคทีเกิดจากความผิดปกติของยีนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นอย่าง มะเร็ง โรคหัวใจ อาการป่วยทางจิตเวช และ HIV

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา