30 ก.ค. 2019 เวลา 15:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
CRISPR - ประเด็นที่ 4 - จริยธรรมกับการแก้ไขจีโนม
เมื่อมนุษย์เราเริ่มที่จะควบคุมลำดับ DNA ได้ดั่งใจ แน่นอนว่าเรื่องเหล่านี้ย่อมมีการพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมของการใช้เทคโนโลยี CRISPR ว่าเหมาะสมหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วการแก้ไขจีโนมจะถูกจำกัดให้ทำแค่ "เซลล์ร่างกาย" (Somatic Cells) เท่านั้น ซึ่งการทดลองในสัตว์จะส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อบางอย่างที่ต้องการเท่านั้น แต่จะไม่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนการใช้เทคโนโลยี CRISPR กับเอ็มบริโอของสิ่งมีชีวิต (Embryo Genome Editing) ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายในหลายประเทศเนื่องจากข้อกังวลเกี่ยวกับจริยธรรมและความมั่นคง โดยเชื่อว่าจะช่วยเสริมสมรรถนะบางอย่างให้กับมนุษย์ เช่น ความสูง หรือสติปัญญา เป็นต้น
1
ในปี 2018 He Jiankui นักวิจัยชาวจีนใช้ CRISPR-Cas9 ในการแก้ไขจีโนมของเอ็มบริโอของเด็กแฝดโดยร่างกายสามารถต้านทาน HIV ได้ โดยเขากล่าวว่าหลังจากนั้นเอ็มบริโอเจริญเติบโตเป็นเด็กทารกที่มีสุขภาพดีนามว่า Lulu และ Nana แต่ตามรายงานของ CNN พบว่ายังไม่มีการยืนยันเรื่องราวดังกล่าว รวมทั้งโรงพยาบาลที่อนุมัติเอกสารจริยธรรมก็ปฏิเสธความเกี่ยวข้องดังกล่าว อย่างไรก็ตามชุมชนวิทยาศาสตร์ก็ยังคงติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
Mazhar Adli นักพันธุศาสตร์จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย Virginia School of Medicine กล่าวว่า
"การจะป้องกันการติดเชื้อ HIV นั้น ทำได้โดยการลบยีน CCR5 ทิ้งไป แต่ยีนดังกล่าวไม่ได้มีหน้าที่ในการช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV เพียงอย่างเดียว เนื่องจาก CCR5 ยังมีส่วนช่วยในการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวอีกด้วย"
นั่นนำไปสู่ข้อกังวลว่าหากทารกแฝด Lulu และ Nana มีตัวตนอยู่จริง ก็อาจจะประสบปัญหาสุขภาพจากโรคทั่วไปได้ในอนาคต เนื่องจากขาดยีน CCR5
เรื่องราวของ CRISPR ยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ เนื่องจากแอดมินมีภาระอย่างอื่นที่ต้องทำต่อ ติดตามตอนต่อไปในวันพรุ่งนี้นะครับ หวังว่าจะได้ความรู้และเข้าใจภาพรวมของ CRISPR มากยิ่งขึ้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา