5 ส.ค. 2019 เวลา 09:10 • ธุรกิจ
ความเหลื่อมล้ำ ส่งผลกับสังคมเรามากแค่ไหน??
ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ คือ ความยากจนโดยเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มรายได้ส่วนบน(คนรวย)กับกลุ่มรายได้ส่วนล่าง(คนจน) ซึ่งไม่ได้หมายความว่าถ้าในประเทศมีคนจนเยอะขึ้นจะจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นไม่ใช่ครับ
แต่ความเหลื่อมล้ำคือ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน อย่าสับสนกับคำว่าปริมาณคนรวยกับคนจนนะครับเพราะคนละความหมายกันเลย
ซึ่งผมบังเอิญได้ไปฟังการบรรยายของRichard Wilkinson ผู้เขียนหนังสือ the spirit level ซึ่งในการบรรยายคุณริชาร์ดได้พูดถึงความน่ากลัวของความเหลื่อมล้ำว่าส่งผลต่อสังคมของเราอย่างไร ผมจึงขอนำข้อมูลบางส่วนในการบรรยายมาสรุปให้ผู้อ่านทุกท่านได้อ่านกัน
เรามาเริ่มกันเลยครับ
ต่อไปนี้คือข้อมูลทางสถิติที่จะชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำกับปัญหาง่ายๆรอบๆตัวคุณ
https://www.ted.com/speakers/richard_wilkinson
ภาพนี้แสดงถึงความร่ำรวยของประเทศต่ออายุขัย
เราจะเห็นได้ว่าประเทศทางซ้ายมืออย่าง อิสราเอล กรีซ โปรตุเกส ที่ร่ำรวยน้อยกว่าประทศทางขวามืออย่าง อเมริกา เดนมาร์ก นอร์เวย์ มีอายุขัยเฉลี่ยของประชากรในอัตรที่ใกล้เคียงกัน
พูดง่ายๆก็คือความรวยของประเทศไม่ได้ส่งผลอะไรต่ออายุขัยของประชากรในประเทศนั้นๆเลย
https://www.ted.com/speakers/richard_wilkinson
แต่กลับกันถ้าเรามองลึกลงไปในประเทศเดียวกัน ความร่ำรวยของคนในประเทศมีนัยยะสำคัญต่ออายุขัย
พูดง่ายๆก็คือ ถ้าในประเทศเดียวกัน คนรวยจะอายุยืนมากกว่าคนที่จนกว่า
ดังนั้นรายได้จึงมีความหมายมากในสังคมของเรา แต่กลับไม่มีผลระหว่างสังคม
คำถามก็คือ ถ้าเราลองถ่างหรือหดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนจะเกิดผลอย่างไร???
https://www.ted.com/speakers/richard_wilkinson
นี่คือภาพระดับความห่างระหว่างคนรวยที่สุด20%กับคนจนที่สุด20%ของแต่ละประเทศว่ามีช่องว่างแค่ไหนในประเทศที่พัฒนาแล้ว
อธิบายภาพก็คือในประเทศญี่ปุ่นซ้ายมือสุด กลุ่มคนรวยที่สุดในประเทศจะรวยกว่ากลุ่มคนจนที่สุดในประเทศประมาณ 3.4เท่า กลับกัน ในอเมริกากลุ่มคนที่รวยที่สุดในประเทศจะรวยกว่ากลุ่มคนจนที่สุดในประเทศ 8.5เท่า เป็นต้นครับ
ซึ่งก็คืออเมริกาเหลื่อมล้ำกว่าญี่ปุ่นประมาณ2เท่า
ทีนี้เราลองมาดูกันะครับว่า ความเหลื่อมล้ำส่งผลต่อสังคมเราอย่างไรบ้าง
https://www.ted.com/speakers/richard_wilkinson
โดยภาพนี้คือกราฟที่แสดงถึงความเหลื่อมล้ำต่อปัญหาสังคมต่างๆ ซึ่งปัญหาสังคมที่นำมาชี้วัดมีตั้งแต่
-อายุขัย
-คะแนนสอบวิชาเลขและการศึกษาของเด็ก
-อัตราการตายของทารกแรกเกิด
-อัตราอาชญกรรม
-อัตรากรท้องก่อนวัย
-อัตราฆาตกรรม
-ความไว้ในเชื้อใจของคนในสังคม(การไปถามว่าคุณไว้ใจบุคคลแปลกหน้าที่อยุ่ร่วมสังคมมากแค่ไหน)
-อัตราน้ำหนักเกิน
-อัตราการติดยาเสพติดและเหล้า เป็นต้น
โดยให้น้ำหนักในการคำนวณในแต่ละปัญหาเท่ากันแปลว่าไม่มีเรื่องใดสำคัญไปกว่าเรื่องใด
จะเห็นได้ว่าความเหลื่อมล้ำส่งผลต่ออัตราปัญหาเหล่านี้อย่างมีนัยยะสำคัญโดยประเทศที่เหลื่อมล้ำมากกว่ามีอัตราที่จะเจอปัญหาเหล่านี้สูงกว่า
https://www.ted.com/speakers/richard_wilkinson
กลับกันถ้าเราลองนำปัญหาเหล่านี้มาเปรียบเทียบกับ GDP ของประเทศเราจะพบว่าไม่มีนัยยะสำคัญอะไรเลย ฉะนั้นความร่ำรวยของประเทศไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคมเลย
แต่บางทีคุณอาจจะคิดว่าตัวชี้วัดเหล่านี้อาจจะน้อยเกินไป เรามีอีกตัวอย่างมาให้ดูครับ
https://www.ted.com/speakers/richard_wilkinson
นี่คือภาพที่แสดงถึงความอยู่ดีมีสุขของเด็กๆในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลของทาง unicef
โดยมีตัวชี้วัดถึง40ตัว เช่น การพูดคุยกันในครอบครัว มีหนังสืออ่านที่บ้านเยอะมั้ย ถูกกลั่นแกล้งมากแค่ไหน และอีกมากมาย
ประเด็นคือทางหากเอาปัจจัยเหล่านี้ไปเทียบกับความเหลื่อมล้ำ เช่นเดิมครับ ประเทศที่เหลื่อมล้ำมากกว่ามีอัตราการอยู่ดีมีสุขของเด็กๆที่ต่ำกว่า
https://www.ted.com/speakers/richard_wilkinson?language=th
และถ้าหากเรานำอัตราารอยู่ดีมีสุขของเด็กๆไปเทียบกับ GDPของประเทศ ผลออกมาเช่นเดิมครับ คือไม่มีนัยยะอะไรเลย
ที่จริงมีตัวอย่างอีกมากมายที่ผมไม่ได้นำมาแสดงอย่างเช่นความเหลื่อมล้ำส่งผลต่อระดับคอร์ติซอล(ฮอร์โมนความเครียดที่ทำให้สุขภาพเราแย่ลง)
ทีนี้ทุกคนคงได้เห็นแล้วว่าความเหลื่อมล้ำนั้นส่งผลร้ายมากแค่ไหน
ที่ผมนำเรื่องนี้มาพูดเพราะถ้าพูดถึงประเทศที่เหลื่อมล้ำมากที่สุดในโลกตอนนี้ลองทายดูสิครับว่าเป็นประเทศอะไร??
แท๊แด๊ คำตอบคือประเทศไทยครับ เราขึ้นแท่นความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลกแซง รัสเซียที่เคยเป็นเบอร์1และอินเดียประเทศที่เรามองว่ามีการแบ่งชนชั้นวรรณะกันสูงในสังคม
เป็นความจริงที่ค่อนข้างจะเจ็บปวดเลยใช่มั้ยครับ
(ข้อมูลส่วนนี้จากเว็บ ข่าวสดนำมาจากCS Global Wealth Report 2018ที่เป็นคนจัดอันดับ)
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว (2016) คนไทย 1% มีทรัพย์สินรวม 58.0% ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ
มาปีนี้(2018) 1% มีเพิ่มเป็น 66.9% รวยขึ้นอื้อเลยครับ …แซงรัสเซียที่ลดจาก 78% เหลือแค่ 57.1% ตกไปเป็นที่ 2 ขณะที่ตุรกีมาแรงทั้งๆ ที่เศรษฐกิจห่วยแตกแต่คนรวยกลับเพิ่มสัดส่วนขึ้นได้เป็น 54.1% แซงอินเดียที่ตกไปเป็นที่ 4 จาก 58.4% เหลือแค่เพียง 51.5%
ลองมองเป็นรูปปิรามิดนะครับโดยคนที่รวยสุดในประเทศเป็นยอดปิรามิดและไล่รายได้ลองไปเรื่อยๆเป็นชั้นๆ(แค่ภาพเปรียบเทียบให้นึกออกนะครับ)
หมายความว่าสินทรัพในประเทศไม่ว่าจะเป็น บ้านที่ดิน เงิน หุ้น และสินทรัพย์ต่างๆ 66% เป็นของคนที่รวยที่สุดในประเทศในจำนวนแค่1%(7แสนคนโดยประมาณหากประชากรในประเทศมี70ล้านคน)
อยากเห็นความปวดตับมากกว่านี้มั้ยครับ ถ้ามองกลับกันคนที่จนที่สุดในประเทศ1%มีสินทรัพย์เท่ากับ ศูนย์ (ถ้ารวมหนี้สินคงติดลบกันเข้าไปอีก ) และถ้าหากเพิ่มจำนวนคนเข้าไปอีกหละ คน70%(คน49ล้านคนจาก70ล้านคน)ในประเทศนับจากล่างขึ้นไปบนมีสินทรัพย์รวมกันแค่5%
ซึ่งคนเกินจำนวนเกินครึ่งประเทศมาเยอะมากยังมีสินทรัพย์รวมกันไม่ได้เสี้ยวของคน1%กลุ่มบนเลย
ปัญหาที่ไทยเราเหลื่อมล้ำนั้นมีหลายปัจจัยมากตั้งแต่ คนไทยไม่ค่อยมีวินัยทางการเงิน ชอบกู้หนี้ยืมสิน รวมถึงคนกลุ่มบนก็กินไปเยอะมากๆ แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดเลย คือ คนเราชอบมองว่าถ้าเรามีกินมีใช้เราอยู่ได้แล้วทำไมต้องไปสนใจคนที่รวยมากๆด้วย เค้าจะรวยมากขึ้นเท่าไหร่ก็ปล่อยเค้าไป นี่คือความคิดที่ฝังรากลึกในประเทศมาช้านาน เราควรจะรู้สึกตัวเรื่องความเหลื่อมล้ำกันมากกว่านี้ได้แล้วคับ
ผมอยากฝากคำพูดสุดท้าย คือ ในระหว่างที่เราคนไทยเราต่างก็บอกว่าอยากให้เศรษฐกิจดีขึ้น ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น GDP โตขึ้นประชาชนก็จะอยู่ดีกินดีเอง
ผมว่าบางทีเราอาจจะต้องมองย้อนกลับมาก่อนว่า สิ่งที่ประเทศเราต้องการจริงๆอาจจะไม่ใช่ GDPที่มากขึ้นอย่างเดียว แต่เป็น ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำนี่แหละที่ควรแก้ไขก่อนสิ่งอื่นใด
ขอบคุณที่ติดตาม GMH Blockdit
###
ทุกๆบทความที่ได้ดาว GMH จะนำรายได้ทั้งหมดมอบให้เด็กพิการและผู้ป่วยยากไร้
###
บทความนี้เรียงเรียนขึ้นโดยสมาชิก GMH charity fund ที่ชื่อ ตีตี้ หากสนใจงานเขียนส่วนตัวของน้องตีตี้ สามารถติดตามได้ที่ blockdit : batch3 ได้ครับ
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา