Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
GMH Pilot Investor
•
ติดตาม
31 ส.ค. 2019 เวลา 07:12 • ธุรกิจ
ทำการบ้านหุ้น AMANAH หุ้นม้ามืดปี 2019 ?
ผู้พลึกโฉมจากธุรกิจเช่าซื้อ (Hire & Perchase) ธรรมดา กลายมาเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถเต็มตัว กำไรพุ่งกระฉูด
ท้าวความการเปลี่ยนครั้งสำคัญในช่วงที่ผ่านมา
อามานะห์ลีสซิ่ง มีธนาคารอิสลามเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 49% ตอนปี 2010 และได้เปลี่ยนแปลงจากธุรกิจเช่าซื้อ(Hire&Purchase)กลุ่มรถยนต์ใหม่ มาเป็นธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ Used Car หรือที่บริษัทเรียกว่า "ATM(Auto to Money)" เมื่อตอนปี 2015 ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หลังจากนั้นกำไรของบริษัทก็ดีขึ้นแบบกระฉูดวันกระฉูดคืน !!
สาเหตุที่ทำให้มันกระฉูด นั่นคือเดิม yield จากการปล่อยสินเชื่อในธุรกิจเช่าซื้อนั้นต่ำกว่า อยู่ที่ราวๆ 12% เมื่อเทียบกับ cost of fund (ต้นทุนของดอกเบี้ยที่บริษัทไปยืมเงินมาปล่อยกู้อีก) อยู่ที่ 4% ทำให้เหลือส่วนต่าง Yield Speard อยู่ที่ 6-8%
แต่พอมาทำธุรกิจใหม่สินเชื่อ auto to money ด้วยต้นทุนขอเงินที่กู้มา 4% เท่าเดิม... แต่นำมาหาผลตอบแทนได้ yield มากกว่าเดิมคือ 22% ทำให้ spread กลายมาเป็น 18% !!!
จากเอกสาร oppday AMANAH Q1 ปี 2018 เมื่อปรับมาทำธุรกิจใหม่ ทำให้เห็นผลชัดเจนว่าทำให้ผลตอบแทนถ่วงนน.เฉลี่ยของพอร์ตสินเชื่อได้ yield สูงขึ้น
พอนำไปหักค่าใช่จ่ายในการบริหาร (เงินเดือนพนักงงาน) ยิ่งทำให้เห็นชัดว่าเหลือเงินมากกว่าเดิมเห็นๆ !!! เลย
เมื่อค่อยๆ blend สัดส่วนนสินเชื่อจากธุรกิจ Auto to Money (ATM) ส่งผลให้ yield ของพอร์ตสินเชื่อโดยรวมของบริษัทดีขึ้นเรื่อย จนมาเห็นชัดมากๆในปี 2018 กำไรเติบโตอย่างก้าวกกระโดด
ค่อยๆเพิ่มสัดส่วนสินเชื่ออันใหม่เข้าไปเติมในพอร์ต ทำให้ yield รวมของพอร์ตดีขึ้นที่ละนิด จนในที่สุดสินเชื่อตัวใหม่มีสัดส่วน 88% ของพอร์ตไปแล้ว ส่วนสินเชื่อเก่าค่อยๆที่หมดสัญญาไปก็ไม่ทำอีกแล้ว จึงมีสัดส่วนลดลงไป
การบริหารในอดีต & สถานะการณ์ปัจจุบัน
การบริหารในอดีตที่ผ่านมา ต้องบอกว่าเหมือนคนหลับอยู่นาน เพิ่งมาตื่นเอาตอนนี้ การขยายกิจการเป็นไปอย่างเชื่องช้าและอนุรักษ์นิยมมาก
ทั้งๆที่ขนาดพอร์ตสินเชื่อมีขนาดเล็ก แต่กลับไม่สามารถบริหารให้ดีได้ มีหนี้เสียสูงถึง 7-8% (บริษัทใช้คำว่า NPF ย่อมาจาก Non Performing Finance ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับ NPL ที่เราคุ้นเคย)
ก็ไม่รู้ไปทำอะไรอยู่เหมือนกัน ^ ^''
แต่ก็ดูเหมือนกับว่าพวกเขาเริ่มมีการขยับตัวไปในทางที่ดีขึ้นในช่วงที่ผ่านๆมาcommitment การเติบโตตั้งแต่หลังปี 2015 พวกเขาตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อให้เติบโตขึ้น และมีเป้าค่อยๆลด NPF ได้ทีละนิดๆ
และพวกเขาก็ดูเหมือนทำได้ตามสัญญาเสียด้วยล่าสุด ผบห. ได้ให้คำมั่นว่าจะปล่อยสินเชื่อใหม่ 2,000 ล้าน พร้อมกับจะลด NPF ลงมาเหลือ 6% ให้ได้ ถึงขั้นสกรีนลงแขนเสื้อของพนักงานบริษัท จะได้ remind ถึง goal ประจำปีตลอดเวลา
เสื้อยืดพนักงงานประจำสาขาของ AMANAH ในปี 2019 แขนข้างนึงปัก NPFลดเหลือ 6% อีกข้างปักเป้าปล่อย New Loan 2000 million baht
ภาพลักษณ์ของสาขาที่นี่ ค่อยข้างจะเก่าโบราณสักนิดหน่อยแต่กระนั้นก็ดี ตัวเลขผลประกอบออกมาว่า ขนาดสาขาแบบนี้พวกเข้าก็ยังโตได้แฮะ
ภาพจากเอกสาร Opp Day ของ AMANAH
มีสิ่งแปลกอย่างนึงในการปล่อยสินเชื่อ auto to money ของที่นี่ คือ การให้ลูกค้าโอนเล่มทะเบียนรถจริงให้เสร็จก่อน ถึงจะได้รับเงิน ซึ่งปกติคู่แข่งมักจะใช้วิธี "โอนลอย" กัน ซึ่งจะทำให้ทำธุระกรรมเสร็จภายในไม่กี่นาที
แต่ AMANAH นั้นอาจจะต้องใช้เวลาเป็นวันๆ หรือ 2-3 วัน กว่าเรื่องโอนทะเบียนจะเสร็จสิ้น ลูกหนี้จึงจะสามารถรับเงินได้ แต่กระนั้นก็ถือว่ายังมีข้อดีอยู่บ้างตรงที่ มาตรฐานการตั้งสำรองบัญชีตาม IFRS9 แบบใหม่ จะถือว่ากรณีแบบนี้นั้นมีความเสี่ยงต่ำกว่าคู่แข่ง
กำไรที่ผ่านมาช่วง 2 ปีหลังก็ดีขึ้นจริงๆ ข้อมูลจาก BLISS
วิเคราะห์ภาพระยะยาว
โอกาสสำหรับ Amanah ก็คือ "ขนาด" ของตัวบริษัทที่มันเล็กมากนี่แหละ คือ แค่ขอส่วนแบ่งมาจาก MTC , SAWAD ได้ พวกเขาก็สามารถสร้างเกิดเติบโตได้อย่างมากแล้ว
ปัจจุบันขนาด market cap ของบริษัทถือว่าเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับ MTC , SAWAD ที่เป็นจ้าวใหญ่ธุรกิจนี้
ขนาดบริษัท AMANAH SAWAD MTC
Market Capt(ล้าน) 2,400 73,000 115,000
ขนาดพอร์ตสินเชื่อ(ล้าน) 3,000 40,000 54,000
จำนวนสาขา 46 3,000 3,900
กำไรบริษัททั้งปี '18 163 3,000 3,700
เห็นว่า AMANAH นั้นมีขนาดสินเชื่อที่เล็กกว่ามาก และมี PE ที่ถูกกว่าพอสมควร (เอา Market Cap / กำไรทั้งปี)
ข้อดีอีกอย่างนึงคือ มีท่อส่งน้ำเลี้ยงอย่าง iBANK (ธนาคารอิสลาม) คอย support เงินกู้ให้ คือ เอาจริงๆแล้ว iBANK ก็ถือหุ้น AMANAH อยู่เยอะ และก็ generate กำไรกลับไปให้บริษัทแม่อยู่แล้ว ทำให้ AMANAH มีกระสุนรอสำหรับปล่อยกู้อยู่เสมอ
DE ratio ของ AMANAH อยู่ที่ราวๆ 1.6 เท่าเอง
ก็ค่อนข้างต่ำกว่าผู้เล่นอื่นๆในตลาด ( 3.X เท่า ) คือ ยังสามารถ leverage ได้อีกมากพอสมควรเลย
Cost to income ratio ของบริษัทก็ค่อยๆลดลงอย่างมาก จาก 46% ใน Q3/18 มาเหลือ 41~42% ใน Q2/19 แปลว่ากำไรของบริษัทเริ่มได้ economy of scale มากขึ้นเรื่อยๆ
NPF ก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้น จากปี 2015 อยู่ที่ 11.8% --> 7.8% ใน Q3/18 --> 6.5% ใน Q2/19
สุดท้ายเรื่องการตั้งสำรองของบริษัทตอนนี้ก็เพียงพอ กับการรองรับ IFRS9 และยังมี potential ที่จะ reverse สำรองส่วนเกินกลับมาเป็นได้ด้วย
ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นเพียงภาพหยาบๆกว้างๆ ความตื้นลึกระดับ 1⭐ ของมาตรฐาน GMH เท่านั้น
ซึ่งความลึกระดับนี้เรายังซื้อไม่ได้ หากเราต้องการจะลงทุนจริงๆ ต้องลงมือศึกษาต่อด้วยตนเอง ในกรอบที่แคบลงมา
ขอบคุณที่ติดตาม GMH Blockdit
⭐ ทุกๆบทความที่ได้ดาว GMH จะนำรายได้ทั้งหมดมอบให้เด็กพิการและผู้ป่วยยากไร้
14 บันทึก
93
7
21
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
มาทำการบ้านหุ้นในประเทศกัน
14
93
7
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย