16 ส.ค. 2019 เวลา 12:22 • สุขภาพ
ยาแก้แพ้ เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านสารจำพวก Histamine ซึ่งจะถูกหลั่งออกมาเมื่อร่างกายสัมผัสกับสิ่งที่แพ้ เช่น ฝุ่น ควัน มลพิษ เกสรดอกไม้หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น จาม น้ำมูกไหล อาการผื่นผิวหนัง อาการแพ้ที่ตา เช่น คันตา น้ำตาไหลมากขึ้น
ยาแก้แพ้แบ่งเป็นกลุ่มหลัก 2 กลุ่มคือ
❶ ยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วง เช่น Chlorpheniramine Brompheniramine Diphenhydramine Hydroxyzine หรืออาจจะรู้จักกันในยี่ห้อ Nasolin Benadryl Atarax เป็นต้น
❷ ยาแก้แพ้แบบที่ไม่ทำให้ง่วง ในกลุ่มนี้ก็แบ่งออกเป็นหลาย Generetion ได้แก่
Generation ①: Cetirizine Loratadine
Generation ②: Fexofenadine Desloratadine Levocetirizine
Generetion ③: Bilastine
ในแต่ละเจเนเรชั่นมีความแตกต่างกันที่ผลข้างเคียงซึ่งยาแก้แพ้กลุ่มที่ง่วงนั้นจะมีผลข้างเคียงมากที่สุด จึงควรใช้แค่ระยะเวลาสั้นที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น และควรระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้ในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
ผลข้างเคียงที่พบในยาแก้แพ้ (โดยเฉพาะกลุ่มง่วงนอน) ได้แก่
ปากแห้ง คอแห้ง มึนงง ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ใจสั่น หอบหืด ความดันในลูกตาสูงขึ้นต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยต้อหิน และอาการข้างเคียงเรื่องง่วงซึมซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่เมื่อใช้ในคนแก่ รับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ รับประทานร่วมกับยาตัวอื่นที่มีฤทธิ์ง่วงซึมเช่นเดียวกัน และต้องระวังอย่างยิ่งในผู้ที่ต้องขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดในการอาการแพ้คือพยายามสังเกตหาสิ่งที่แพ้และหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นๆ หรือหากจำเป็นต้องใช้ยาควรเริ่มจากยาขนาดต่ำก่อนค่อยเพิ่มยาจนได้ผลการรักษาที่พอใจ และเลือกใช้ยาที่มีผลข้างเคียงน้อย หรือเปลี่ยนกลุ่มยาแก้แพ้เมื่อร่างกายเริ่มชินหรือไม่ตอบสนองต่อยาแก้แพ้กลุ่มเดิม
https://mgronline.com/infographic/detail/9620000018264
เอกสารอ้างอิง
1.เตือนใช้ยาแก้แพ้มากอันตราย. สสส. 2554.
2.วรวุฒิ เจริญศิริ. ยาแก้แพ้. BangkokHealth.com. 2557.
3.Carol DerSarkissian. Allergy treatments. WebMd.com. 2019.
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก:
โฆษณา