27 ส.ค. 2019 เวลา 12:42 • การศึกษา
Zero fighter ปลุกตำนานนักรบแดนอาทิตย์อุทัย
เพราะอะไร ชะตากรรมของหนึ่งในเครื่องบินที่ดีที่สุดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2ต้องจบลง อะไรที่ทำให้การ"เป็นต่อ"ต้องกลายเป็น"รอง"
Mitsubishi A6M Zero-sen หรือ Zero fighter ที่หลายคนอาจจะรู้จักกันดี หนึ่งในฐานะนกเหล็กที่มีชื่อเสียงที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งนับได้ว่าเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้น
ซีโร่เซน ถูกออกแบบและสร้างขึ้นจากความต้องการของกองทัพเรือญี่ปุ่นในปี 1937 เพื่อมาทดแทนเครื่องบินรบในรุ่นก่อนหน้านั้นคือ A5M ที่ผลิตโดยบริษัทมิตซูบิชิ
ความต้องการเป็นที่หนึ่งเหนือน่านฟ้าในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้โจทย์ในการสร้างเครื่องบินรบรุ่นใหม่ ต้องดีกว่าในทุกๆด้าน
ความเร็วที่ต้องมีมากกว่า 310 Mph
และระดับความสูงที่ต้องมีมากถึงเกือบ 3,000 เมตร ภายในระยะเวลาเพียง 3 นาทีครึ่ง อีกทั้งต้องมีความคล่องแคล่วหลบหลีกได้ดี และพิสัยที่ดีกว่าเครื่องบินรบทุกรุ่นที่เคยมีมา
แม้โจทย์ความต้องการขอกองทัพเรือญี่ปุ่นจะดูเกินจริงไปมาก แต่การสร้างสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่จริง จนสำเร็จ ก็เกิดขึ้นได้จริง จากบริษัทเดียวที่ยินดียอมรับความท้าทายนี้ นั่นก็คือ บริษัทมิตซูบิชิ โดยมี Jiro Horikoshi นักประดิษฐ์หนุ่มเป็นผู้นำการออกแบบ
โฉมหน้าผู้นำทีมออกแบบ Jiro Horikoshi
และแล้ว ซีโร่เซ็นได้ถือกำเนิดขึ้น โดยทำการขึ้นบินครั้งแรกได้สำเร็จในวันที่ 1 เมษายน 1939
จนกระทั้งวันที่ 14 กันยายน ซีโร่เซ็นได้รับการยอมรับและมีชื่อที่เรียกว่า A6M1
และหลังจากทำการทดลองและพัฒนาประสิทธิภาพ ทำให้ A6M1 มีโมเดลที่สร้างขึ้นอีกจำนวนมากในเวลาต่อมา
ความโดดเด่นของ ซีโร่เซ็นที่ทำให้คู่ต่อสู้ต้องหวาดกลัว นั่นคือความคล่องตัว ทั้งการใช้เครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักเบา การลดทอนวัสดุที่ใช้ประกอบตัวเครื่อง ทำให้ซีโร่เซ็นมีความไวกว่าคู่ต่อสู้เหนือน่านฟ้าอย่างไม่เคยมีมาก่อน
มากกว่าความไว คือความฉวัดเฉวียน ที่ทำให้ ซีโร่เซน สามารถบินหลบหลีกศัตรูได้อย่างยอดเยี่ยม
และสำคัญที่สุด คือการบินได้อย่างต่อเนื่องของซีโร่เซน ที่ไปได้ไกลถึง 3,100 กิโลเมตร เท่ากับการบินบนฟ้า 12 ชั่วโมง 5 นาที โดยที่ไม่ต้องหยุดพักเลยทีเดียว
แล้วภารกิจแรกของซีโร่เซนก็ได้เริ่มขึ้นที่น่านฟ้าของประเทศจีน เมืองฉงชิ่ง เมื่อวันที่ 13 กันยายน ปี 1940
ซีโร่เซนจำนวนทั้งหมด 13 ลำ สามารถสังหารเครื่องบินจีน l-15 และ l-16 ตกไปจำนวน 27 ลำภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 นาที ซึ่งหากแลกกับความสูญเสียของซีโร่ ซึ่งมีเพียงแค่ 2 ลำเท่านั้น
ชื่อเสียงอันเลื่องลือของซีโร่เซน ยิ่งมีมากขึ้นไปอีก หลังจากผลงานที่ไม่เคยทำให้ผิดหวัง ทำให้ข่าวของซีโร่เซนนั้นมาถึงรัฐบาลอเมริกันอย่างรวดเร็ว แต่พวกเขาก็เลือกที่จะเพิกเฉย จนกระทั่งในที่สุด การโจมตีที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในเดือน ธันวาคม ปี 1941 ก็ได้เกิดขึ้น
หลังจากเหตุการณนี้จึงส่งผลให้ชาวอเมริกันที่พลาดการวางแผนรับมือกับซีโร่เซน ฮีโร่นกกระดาษในตำนาน ต้องกลับมามาวางแผนเพื่อรับมือกับอาวุธที่น่ากลัวนี้อีกนานนับปี
แม้จะรู้ถึงผลลัพธ์ของประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่การมองย้อนกลับไปเพื่อศึกษาถึงความน่าทึ่งของสิ่งประดิษฐ์ที่เคยเกิดขึ้นและเหตุผลของการแพ้-ชนะ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากจนแอร์ป้าอยากจะแชร์
เราเรียนรู้อะไรบ้างจากการการเดินนำหน้าศัตรูหลายก้าว จนสุดท้ายเหลือเพียงรอยเท้า ให้เราได้เรียนรู้
ซีโร่เซ็นที่มีข้อได้เปรียบเครื่องบินรบรุ่นอื่นอยู่มาก แต่เพราะข้อได้เปรียบจึงกลายเป็นจุดอ่อนที่คาดไม่ถึง
อเมริกาใช้วิธีใดในการกลับขึ้นมาก้าวตามทัน จนล้ำหน้าญี่ปุ่น ?
โปรดติดตามตอนต่อไป..
Have a safe flight✈
แปลและเรียบเรียงโดย
#แอร์ป้าห้าดาว
credit & reference
หนังสือ ขโมยความคิดญี่ปุ่น
โฆษณา