29 ส.ค. 2019 เวลา 14:11 • ประวัติศาสตร์
Zero Fighter เครื่องบินรบ แห่งโศกนาฏกรรม
1
เมื่อหมดทางสู้ อาวุธที่เคยมีกลับถูกยิ่งดับราวกับใบไม้ร่วงจนไม่เหลือ เมื่อจวนตัว ก็เหลือแต่เพียงการ "แลกด้วยชีวิต"
ภาพหมู่นักบินคะมิกะเซะ สิบโท Yukio Araki ถ่ายพร้อมกับลูกสุนัขของเขา ก่อนปฏิบัติภารกิจพลีชีพ
แปลและเรียบเรียงโดย
แอร์ป้า⭐ห้าดาว
อ่านบทความย้อนหลังตอนที่ 1 และ 2 ได้ที่นี่👇
ในปี 1943 อเมริกา สามารถกลับมาเอาชนะญี่ปุ่นได้อีกครั้ง จากการศึกษาเครื่องบินซีโร่เซนที่ยึดได้ จนสามารถพัฒนาเครื่องบินลำใหม่ ที่เหนือกว่าในทุกๆด้าน
ญี่ปุ่น พยายามอย่างหนักที่จะพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องบิน แต่อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากภัยสงครามทำให้ยากเกินที่จะเป็นไปได้
มีการปรับปรุงอีกหลายสิบครั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับซีโร่เซน แต่ผลที่ได้คือความไม่สมบูรณ์ เพราะการเพิ่มความแข็งแรง ทำให้หัวใจสำคัญของซีโร่เซ็น ที่สามารถบินในระยะไกล ต้องถูกลดทอนลงไปด้วย
ปัญหาทางด้านบุคคลากร การสูญสิ้นนักบินฝีมือดี ทำให้แม้จะมีเครื่องบินที่ดี ก็ไม่อาจจะต่อกรกับคู่ต่อสู้ได้เลย
การฝึกนักบินเพื่อมาแทนที่ ต้องใช้เวลานานเกินไป กับสภาวะสงครามเช่นนี้
อีกทั้งโรงงานและสถาบันวิจัยต่างๆก็ถูกทิ้งระเบิดจนเสียหาย ทำให้การพัฒนาจึงเป็นได้อย่างยากลำบาก จำนวนเครื่องบินที่ไม่สามารถผลิตได้ทันเวลาก็เกิดขึ้น
ในขณะเดียวกันอเมริกาก็พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จำนวนเครื่องบินที่มีมากกว่า แข็งแรงกว่า ยิ่งทำให้ซีโร่เซ็นตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก
แล้วก็ถึงไพ่ใบสุดท้าย..
ในเดือน มิถุนายน ปี 1944 หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามครั้งใหญ่ที่หมู่เกาะมาเรียนา และสูญเสียเกาะไซปันไปในเดือน กรกฎาคม ปี 1944
วันที่ 20 ตุลาคม ปี 1944 กองกำลังพิเศษ คะมิกะเซะ ก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก จากการรวบรวมทหารที่รอดชีวิตในสงครามที่มาเรียนาทั้งหมด
กองกำลังพลีชีพ คะมิกะเซะ จึงเกิดขึ้น ด้วยภาระกิจสุดท้ายของพวกเขา
เครื่องบินซีโร่เซนที่เคยสง่างาม และศักดิ์สิทธิ บัดนี้ได้กลายเป็นเครื่องบินรบแห่งโศกนาฏกรรม ด้วยการบรรทุกระเบิดหนัก 500 กิโลกรัม บินเข้าน่านฟ้าอเมริกา จุดหมายเพื่อพุ่งโจมตีไปยังเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันของสหรัฐอเมริกา
แล้วพวกเขาก็ทำได้ดี เพราะการสังเวยชีพครั้งนี้ได้สร้างความสูญเสียมากมายให้แก่ฝ่ายตรงข้าม
เหล่าเยาวชนทหาร อายุเพียง 10 กว่าปี ที่สังเวยชีพ จากการถูกเลือก เพียงเพราะนายทหารที่อายุมากกว่า และประสบการณ์มากกว่า สามารถทำประโยชน์ได้มากในภาระกิจอื่น
การพลีชีพเพื่อชาติ อาจเป็นเกียรติสุดท้ายที่ยิ่งใหญ่สำหรับใครบางคน..
แต่ใครจะรู้ว่าสำหรับบางคน อาจเป็นช่วงเวลาที่ขมขื่นที่สุด การต้องจากครอบครัว และคนรัก
เพื่อการตายในหน้าที่ อาจจะไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา แต่มันเป็น"หนทางที่ถูกเลือก"
แต่ถึงอย่างไรการตายในหน้าที่ เพื่อปกป้องชาติที่พวกเขาเคารพรัก ก็ยังคงเป็นเสียงส่วนมากพอ ที่จะทำให้อาสาสมัครอีกหลายพันคนยินยอมพร้อมใจที่จะทำหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายสุดท้ายครั้งนี้ด้วย"ชีวิต"
ทหารญี่ปุ่นที่ถูกสอนวิธีการฆ่าตัวตายแทนที่จะถูกจับ
กองกำลังคะมิกะเซะ ที่ไม่ใช่ถูกสอนเพียงเพื่อการเป็นนักบิน แต่มากกว่านั้นคือการตัดสินให้ฆ่าตัวตายด้วยปืนของพวกเขาเอง การดึงไกด้วยปลายเท้า และเล็งไปที่จุดหนึ่งใต้คาง เพื่อกระสุนนัดเดียวจะทำให้เขาเสียชีวิตได้ในทันที
หากตัดสินใจที่จะหลบหนี แม้แต่การพยายาม ก็จะไม่เป็นผล เพราะการถูกฝึกให้ยิงจากด้านหลัง โดยเพื่อนทหารคนอื่น ที่พร้อมจะมอบความตายให้แก่คนๆนั้นมากกว่าความอับอายของการหลบหนี เพราะสิ่งนี้คือสิ่งที่ร้ายแรงยิ่งกว่า
การเสียสละเพื่อชาติ คือเกียรติยศสูงสุดแก่วงศ์ตระกูล แต่การรบจนตัวตายของญี่ปุ่นในขณะนั้นทำให้ต้องสูญเสียบุคคลากรจำนวนมากจนขาดแคลน นี่คงเป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้นักบินพลีชีพคะมิกะเซะส่วนมาก เป็นนักบินใหม่ ที่ไม่มีทักษะในการบินมากนัก เพราะภาระกิจเดียวและภาระสุดท้ายของพวกเขา คงไม่จำเป็นจะต้องบินให้ดี หรือลงจอดได้อย่างสมบูรณ์...
ในขณะที่นักบินอเมริกา สามารถรักษาชีวิตกลับไปเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่นักบินรุ่นใหม่ๆ
แม้ว่าจะมีข้อสนับสนุนอีกมากมาย ที่ทำให้กลุ่มพลีชีพคะมิกะเซะเกิดขึ้น แต่คงที่จะอดคิดไม่ได้ว่า การพลีชีพเพื่อชาติเช่นนี้ แท้จริงแล้วจะก่อประโยชน์ได้มากมายจริงๆหรือ
หากเทียบกับการสูญเสียทางร่างกาย อาจตอบว่าได้ว่า....ไม่เลย
แต่ทางจิตวิญญาณแล้ว..มันอาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่พวกเขาเลือกแล้ว แม้จะไม่ได้ถูกเลือกก็ตาม
คะมิกะเซะ ความหมายแปลว่า พระเจ้าแห่งลม หรือลมสวรรค์ ที่จะพัดพาพวกเขาไปพบกันอีก ที่ศาลเจ้ายาสุกุนิ ตามความเชื่อของพวกเขา
การตายเพียงแค่ร่างกาย แค่การเปลี่ยนสถานะ
แล้วไม่นานก็จะได้พบกัน...
สดุดีความกล้าหาญของกองกำลังจู่โจมพิเศษ คะมิกะเซะ
Have a safe flight✈
#แอร์ป้า⭐ห้าดาว
Credit & Reference
โฆษณา