5 ก.ย. 2019 เวลา 12:08 • สุขภาพ
ฟอสฟอรัส คือแร่ธาตุอีกหนึ่งตัวที่จำเป็นต่อระบบการทำงานของร่างกาย ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับระบบโครงร่างและกระดูกเป็นหลัก โดยมากกว่า 90% ของฟอสฟอรัสในร่างกายจะสะสมอยู่ในกระดูกและส่วนที่เหลือไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกาย
1
ฟอสฟอรัสนั้นได้มากจากการรับประทานอาหารเป็นหลัก โดยจะถูกดูดซึมบริเวณลำไส้เล็กส่วนกลางและส่วนน้อยถูกขับออก
😃 หน้าที่สำคัญนอกเหนือจากสะสมในกระดูกแล้วยังเป็นส่วนประกอบในกรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นส่วนประกอบใน DNA และ RNA ช่วยถ่ายทอดพลังงานโดยอยู่ในรูป ATP
ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงคือความผิดปกติของการมีสารประกอบฟอสเฟตในร่างกายสูงกว่าค่าปกติ โดยสาเหตุเกิดจาก
* การรับฟอสเฟตเข้ามามากเกิน
* การขับฟอสเฟตออกน้อยเกิน
* ความผิดปกติในการแลกเปลี่ยนสมดุลแร่ธาตุในร่างกาย
ซึ่งจริงๆแล้วภาวะนี้ไม่ได้แสดงอาการให้เห็น แต่มักจะรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนในคนที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง
อาการที่พบจากการมีฟอสเฟตในเลือดสูงคือ
- อ่อนเพลีย
- หายใจหอบ
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
- มีปัญหาการนอน
🕵🏽‍♀️การวินิจฉัยต้องอาศัยการตรวจพบฟอสเฟตในเลือดสูงและมักจะมีค่าความผิดปกติอื่นๆเกี่ยวข้องอีกตามสาเหตุของโรคต่างๆ โดยโรคที่มักพบว่ามีฟอสเฟตเกินคือ
👿 โรคไตวาย (พบได้บ่อยสุด) เนื่องจากร่างกายไม่สามรถขับฟอสเฟตส่วนเกินออกทางไตได้เนื่องจากไตทำงานได้แย่ลง ร่างกายก็จะแก้โดยการยับยั้งการสังเคราะห์ calcitriol ทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำตามมา (secondary hypocalcemia) และกระตุ้นให้ฮอร์โมนพาราไทรอยด์หลั่ง ระดับฟอสเฟตและ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์มักสัมพันธ์กับระยะของโรคไตเรื้อรัง เนื่องจากฮอร์โมนพาราไทรอยด์มีผลเพิ่มการขับฟอสเฟตของไตได้อย่างจำกัดในภาวะที่ไตทำงานบกพร่อง และการเพิ่มระดับแคลเซียมในเลือดจากการดึงแคลเซียมออกจากกระดูก ทำให้ได้ฟอสเฟตเข้ามาในกระแสเลือดร่วมด้วย
👿 โรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
👿 ภาวะเป็นพิษจากวิตามินดี
👿 Milk-alkali syndrome
👿 มะเร็ง
👿 ภาวะกล้ามเนื้อสลาย
21
การรักษา
👉🏼ต้องเริ่มจากการวินิจฉัยหาสาเหตุหลักที่ทำให้มีค่าฟอสเฟตสูงและรักษาที่ต้นเหตุ
👉🏼จำกัดปริมาณฟอสเฟตที่รับประทานในแต่ละวัน โดยเฉพาะที่ได้รับจากอาหาร #กลุ่มอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารแปรรูป ชีส นม น้ำอัดลม ถั่ว
👉🏼เพิ่มการกำจัดฟอสเฟตที่เกินออกจากร่างกาย โดยใช้ยา เช่น ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ยาจับฟอสเฟต (Phosphate-binder) ได้แก่ Calcium carbonate, Calcium acetate, Sevelamer, Lantanum, Aluminium hydroxide การเลือกยาขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ห้ามซื้อยารับประทานเอง
เอกสารอ้างอิง
1.Phosphorus (Phosphate) [internet]. http://www.nutrientsreview.com/minerals/phosphorus-phosphate.html. 2016.
2.Renal and extrarenal effects of fibroblast growth factor 23. Nature Reviews Nephrology. 15:109–120. 2019.
3.Hyperphosphatemia [internet]. https://emedicine.medscape.com/article/241185-overview#a2. 2018.
4.ความผิดปกติของสมดุลแร่ธาตุ และกระดูกในโรคไตเรื้อรัง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555; 27(4).
โฆษณา