Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
FISHWAY
•
ติดตาม
7 ก.ย. 2019 เวลา 16:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ปลากัดป่า (Wild Betta)
สายพันธุ์และสปีชีร์ต่าง ๆ
ปลากัดป่าหรือปลากัดลูกทุ่งของไทย ณ ปัจจุบันนี้แม้ว่าจะได้รับความนิยมน้อยกว่าปลากัดสายสวยงามหรือปลากัดแฟนซี แต่ก็ยังมีกลุ่มคนเฉพาะที่นิยมเลี้ยงและเล่นปลากัดป่าอยู่อีกจำนวนมาก สาเหตุสำคัญก็เพราะปลากัดป่ามีความสวยงามและความคลาสสิคในตัวของมันเอง ซึ่งกลุ่มคนเลี้ยงปลากัดป่าจำนวนมากนี้เลี้ยงไว้เพื่อดูเล่นเช่นเดียวกันกับปลากัดสายสวยงามหรือสายแฟนซีเลย
ปลากัดป่าที่นิยมเลี้ยงมีทั้งหมด 5 ชนิด :
1. ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ
กระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ภาคกลางพบได้ทั่วไป ภาคใต้พบได้ตั้งแต่กรุงเทพฯลงไปจนถึงชุมพรและระนอง ภาคเหนือพบได้ตั้งแต่กรุงเทพฯขึ้นไปถึงเชียงราย ภาคตะวันออกพบได้ตั้งแต่กรุงเทพฯ ชลบุรี ระยองและตราด มักอาศัยอยู่ตามห้วยหนองคลองบึงที่มีน้ำนิ่งหรือน้ำไหลเอื่อย
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ คือ "แก้มจะมีสีแดง" บางครั้งจึงเรียกว่า "ปลากัดแก้มแดง" ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือสีดำแดง กระโดงจะมีทั้งสีแดงและสีดำบาง ๆ ส่วนชายน้ำมีสีแดงลายขีดสลับสีน้ำเงินแกมฟ้า
ชื่อวิทยศาสตร์ คือ "Betta Spenders Regans.,1910"
ชื่อสามัญทั่วไป คือ "Simese Fighting Fish"
2. ปลากัดป่าภาคอีสาน
กระจายพันธุ์อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและประเทศลาว มักอาศัยในที่ราบตามทุ่งนา ปลักควาย หนองน้ำ หรือบึงที่มีน้ำนิ่งหรือน้ำไหลเอื้อย ตลอดจนพบบนภูเขาที่มีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 800 เมตร
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน คือ "มีเกล็ดที่ใบหน้าเป็นเแผ่น ๆ คล้ายกับหน้าของงู" จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกอีกเรื่อง คือ "ปลากัดหน้างู" นอกจากนี้ในแถบบริเวณริมโขง จังหวัดบึงกาฬ ยังพบปลากัดป่าภาคอีสานอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มักเรียกกันว่า "ปลากัดกีต้าร์" ปลากัดชนิดนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว แตกต่างจากปลากัดป่าภาคอีสานทั่วไป คือ พื้นหางจะมีเส้นลายดำตามขวาง บางครั้งปลากัดชนิดนี้จะถูกเรียกว่า "ปลากัดหางลาย"
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ "Betta Smaragdina Ladiges.,1972"
ชื่อสามัญทั่วไป คือ "Emerald Betta, Blue Betta, Mekong Fighting Fish"
3. ปลากัดป่าภาคใต้
ปลากัดป่าสายพันธุ์นี้แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่สุราษฏร์ธานีลงไปจนสุดขอบชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย รวมถึงกระจายพันธุ์ในประเทศมาเลเซีย ตลอดจนอินโดนีเซียและเวียดนามด้วย ปลากัดป่าภาคใต้มักอาศัยตามทุ่งนาหรือหนองน้ำที่มีน้ำนิ่งหรือน้ำไหลเอื่อย
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ คือ "แก้มเป็นสีเขียว" บางครั้งจึงเรียกกันว่า "ปลากัดแก้มเขียว" หางเป็นวงโค้งสีแดงคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ "Betta Imbellis Ladiges.,1975"
ชื่อสามัญทั่วไป คือ "Peaceful Betta, Malay Fighting Fish"
4. ปลากัดป่ามหาชัย
กระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่แคบ ๆ ในเขตจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และในเขตบางขุนเทียนของกรุงเทพฯ แต่ปัจจุบันจะพบได้เฉพาะในจังหวัดสมุทรสาครและเขตติดต่อเท่านั้น ปลากัดป่ามหาชัยมักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดที่มีน้ำเค็มเข้ามาเจือปนเล็กน้อย มักอาศัยอยู่ตามป่า จากช่วงน้ำลดก็จะอาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังในป่า
ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย คือ "แก้มมีสีเขียวหรือฟ้าสองขีด" บางตัวอาจมีขีดแก้มเคลือบเขียวไปถึงคาง มีเกล็ดแวววาวสีเขียวเข้มหรือสีอ่อนเรียงตัวเหมือนเมล็ดข้าวโพด ทรงหางส่วนใหญ่เป็นรูปใบโพ
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ "Betta Mahachaiensis Kowasupat et al., 2012"
5. ปลากัดป่าตะวันออก
กระจายพันธุ์ในภาคตะวันออกของไทย ไม่ว่าจะเป็น ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ปราจีนบุรี และบางส่วนของชลบุรี นอกจากนี้ยังพบกระจายพันธุ์ในพื้นที่บางส่วนของกัมพูชา และตอนใต้ของประเทศเวียดนามด้วย ปลากัดป่าภาคตะวันออกมักอาศัยตามทุ่งนาหรือหนองน้ำที่มีน้ำนิ่งหรือน้ำไหลเอื่อย
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออกจะคล้ายคลึงกับปลากัดป่าภาคใต้ แต่แตกต่างกันที่ใบหน้าและลำตัวจะเป็นสีดำเข้ม มีเกล็ดแวววาวสีเขียวเด่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ "Betta Siamorientail Kowasupat et al., 2012"
ชื่อสามัญทั่วไป คือ "Kabinburi Betta, Black Imbellis"
ในทุกวันนี้ปลากัดป่าได้สูญหายไปจากหลากหลายพื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งสาเหตุสำคัญมากจากสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงอยู่ของปลากัดป่า ไม่ว่าจะเป็นด้านของการดำรงชีวิตและการขยายพันธุ์ของปลากัดป่า แต่ในอีกหลาย ๆ มุมของพื้นที่ในประเทศไทยก็ยังมีปลากัดป่าชุกชุมพอให้คนรักปลากัดไปช้อนมาเลี้ยงกันได้เลย โดยคนเลี้ยงปลากัดมักเรียกปลากัดป่าที่ช้อนมาได้ว่า "ลูกช้อน" ส่วนปลากัดป่าที่ถูกเพราะพันธุ์โดยมนุษย์จะเรียกกันว่า "ลูกเพาะ"
นอกจากหาปลากัดป่ามาเลี้ยงดูเล่นแล้ว กลุ่มคนรักปลากัดป่ายังได้มีการพัฒนาปลากัดป่าข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลากัดป่าทั้ง 5 สายพันธุ์ข้างต้น ตลอดจนการนำปลากัดป่าจากต่างประเทศหรือแม้แต่ปลากัดแฟนซีมาพัฒนาร่วมด้วย ปลากัดป่าที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์นี้มักเรียกกันว่า "ปลากัดป่าสายพัฒนา ,ปลากัดเอเลี่ยนและปลากัดไฮบริด(Hybrid)" ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นคือ "ปลากัดสายพันธุ์ลูกผสม" นั้นเอง
แหล่งอ้างอิง 1 :
www.thbetta.com
แหล่งอ้างอิง 2 :
www.aafsociety.com
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำออนไลน์
fishway
Facebook :
https://facebook.com/FishwayOfficial/
Instagram :
https://instagram.com/fishway.official/
Twitter :
https://twitter.com/fishwayofficial
True ID :
https://creators.trueid.net/@67003
Blockdit :
https://blockdit.com/fishway
Website : ...coming soon...
Youtube : ...coming soon...
Tiktok : ...coming soon...
Line VOOM : ...coming soon...
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
สัตว์น้ำ
สัตว์เลี้ยง
6 บันทึก
15
2
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สายพันธุ์สัตว์น้ำ
6
15
2
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย