9 ก.ย. 2019 เวลา 12:02 • สุขภาพ
5️⃣7️⃣ สมัยก่อน มีให้เห็นบ่อย🤔
👉สมัยนี้ หายไปไหนหมดนะ🤔
👉บางคนคงเคยเห็น⁉️
👉แต่ไม่รู้จัก ว่าคือต้นอะไร⁉️
👉ฉันชื่อ "คงคาเดือด"⁉️
ใบ / ดอก / ผลสด / ผลแห้ง (Photo By Flickr)
🌿 ชื่อ : #คงคาเดือด
🌿 ชื่อพื้นเมืองท้องถิ่น : ช้างเผือก (ลำปาง), สมุยกุย (นครราชสีมา), ตะไล (ราชบุรี), ตะไลคงคา (ชัยนาท), คงคาเลือด หมากเล็กหมากน้อย (ภาคกลาง)
🌿 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arfeuillea arborescens Pierre ex Radlk.
🌿 ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE (จัดอยู่ในวงศ์เงาะ)
🔸ต้น : คงคาเดือดจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ถึง 8-20 เมตร เลยทีเดียว ถือว่าต้นใหญ่เอาการ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ลำต้นมีขนาดเท่าต้นมะพร้าวหรือใหญ่กว่า เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือเป็นสีหม่นๆ และมีด่างเป็นดวงขาวๆ ทั่วไปตามลำต้น ส่วนกิ่งนั้นเป็นสีเขียว มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน อาจพบในพม่าด้วย ส่วนในไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคใต้ โดยพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และขึ้นประปรายตามป่าราบ ชอบเขาหินปูนที่ระดับความสูงจนถึง 600 เมตร
🔸ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ลักษณใบย่อย มีก้านใบประกอบและแกนกลางใบประกอบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมยาวหรือเว้าตื้น โคนใบมนเบี้ยวไม่เท่ากันหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบหรือบางใบมีรอยหยักห่างๆ หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบมีขนยาวใกล้เส้นกลางใบทั้งสองด้าน
🔸ดอก : เป็นแบบแยกเพศร่วมต้น ออกดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง โดยจะออกที่ปลายยอด ช่อกระจุกเรียวยาว ม้วนขดเล็กน้อย ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในช่อเดียวกัน มีกลีบเลี้ยงลักษณะเป็นรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ สีแดงอมเขียว กลีบดอกมีสีขาว มีขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ จานฐานดอกเป็นรูปคล้ายปาก
🔸ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี เป็นผลแบบแคปซูล บาง เกลี้ยง ปลายผลและขั้วผลแหลม มีปีก 3 ปีก ผลสดเป็นสีเขียว พอแห้งจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในมีเมล็ดสีดำ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่กลับมีขนขึ้นสีน้ำตาลปกคลุม ขั้วเมล็ดมีขนาดเล็ก ไม่มีเยื่อหุ้ม
ต้นคงคาเดือด ต้นใหญ่ทีเดียว (Photo By Flickr)
🌱สรรพคุณ🌱
🔵ส่วนของ "คงคาเดือด" ที่มักจะใช้ในการทำยาสมุนไพรหรือเข้าตำรับยานั้น จะใช้อยู่ 2 ส่วนคือ "เปลือกต้น" และ "เนื้อไม้" เปลือกต้นจะมีรสเย็นออกขมฝาด ส่วนเนื้อไม้มีรสเย็นขมฝาด และสรรพคุณมีดังนี้ คือ
🔹 ทำให้เจริญอาหาร
🔹 ยาดับพิษไข้ แก้ไข้ แก้ไอ
🔹 แก้พิษร้อนในกระหายน้ำ
🔹 แก้ซางตัวร้อน (โรคของเด็กเล็ก มีอาการสำคัญคือ ซึม เบื่ออาหาร มีเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า)
🔹 กินเป็นยาฆ่าพยาธิ
🔹 นำมาต้มเอาน้ำอาบ รักษาอาการคัน ช่วยแก้อาการคันแสบร้อนตามผิวหนัง
เนื้อไม้ / เปลือกไม้ (Photo By Flickr)
⭐️ เป็นยังไงบ้างครับ "ต้นคงคาเดือด" สรรพคุณเดือดสมชื่อเลยใช่ไหมครับ สมัยนี้ค่อนข้างจะหายากหน่อย แต่ตามต่างจังหวัดก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างครับ ❤️
👍🏻ถ้าชอบกด Like ใช่กด Share👍🏻
❤️เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ❤️
🙏🙏 Special Thanks 🙏🙏
• ข้อมูลบางส่วน : หนังสือสมุนไพรไทย
โดย ดร.นิจศิริ เรืองรังษี
และ ธวัชชัย มังคละคุปต์
• ข้อมูลบางส่วน : พจนานุกรมสมุนไพรไทย
โดย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม
• ข้อมูลบางส่วน : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
• ข้อมูลบางส่วน : Medthai
• รูปภาพบางส่วน : Flickr
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 แอด Newitec 🍃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา