14 ก.ย. 2019 เวลา 15:01 • สุขภาพ
5️⃣8️⃣ ดอกไม้สีเหลือง มีกลิ่นหอม😍
🌼คนเหนืออาจจะคุ้นตากันดี😍
🌼บ้างก็นำมาถวายพระ😍
🌼 #คำมอกหลวง ⁉️
☝🏻ไม่ได้หายไปไหนนะครับ ช่วงนี้งานยุ่งมาก😂
คำมอกหลวง / (Photo by Google)
🌿 ชื่อ : คำมอกหลวง
🌿 ชื่อพื้นเมืองท้องถิ่น : แสลงหอมไก๋ หอมไก๋ (ลำปาง), ไข่เน่า (นครพนม), ผ่าด้าม ยางมอกใหญ่ (นครราชสีมา), คำมอกช้าง (ภาคเหนือ), ไม้มะไขมอก (คนเมือง), ซือเก่าพรึ (ม้ง), เบล่เด่อปุดย (ปะหล่อง)
🌿 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia sootepensis Hutch.
🌿 ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE (จัดอยู่ในวงศ์เข็ม)
🔹ต้น : คำมอกหลวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยที่ดอยสุเทพ สามารถพบได้ตั้งแต่พม่า ไทย และลาว ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลัดใบในช่วงสั้นๆ ก่อนออกดอก ความสูงของต้นประมาณ 7-15 เมตร เลยทีเดียว ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมและโปร่ง เรือนยอดโปร่ง ลำต้นมักคดงอ แตกกิ่งน้อย (บ้างว่าแตกกิ่งก้านแผ่กว้าง) กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีขน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีครีมอ่อนหรือสีเทาถึงสีเทาเข้ม แตกเป็นสะเก็ด หลุดออกมาเป็นแผ่นบางๆ และมียางเหนียวสีเหลืองข้นเป็นก้อนที่ปลายยอด เจริญเติบโตได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดแบบเต็มวัน สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าผสมผลัดใบ และป่าเต็งรัง
🔹ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก โดยออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปขอบขนานแกมไข่กลับ หรือเป็นรูปไข่กลีบ ปลายใบแหลมหรือมนมีหางสั้นๆ โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ โดยใบอ่อนจะเป็นสีชมพูอ่อนถึงสีแดง มีขนสีเงิน ส่วนใบแก่หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีขนละเอียด แผ่นใบหนาแข็งและกรอบ
🔹ดอก : ออกดอกเดี่ยว โดยจะออกดอกที่ปลายยอดหรือตามซอกใบ ดอกเป็นสีเหลืองเข้ม มี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแคบ ปลายแยกเป็น 5 พูและแผ่ออก บิดเป็นเกลียว กลีบดอกจะเป็นสีขาวนวลเมื่อแรกบาน แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสดภายหลัง ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน เกสรเพศเมียมี 1 ก้าน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอด และปลายแยกเป็น 2 แฉก ปลายเป็นพูเล็กๆ ด้านหนึ่งแยกลึก ส่วนด้านนอกมีขนละเอียดเหนียวๆ
🔹ผล : ผลเป็นผลสดมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี รูปไข่ รูปกระสวยแกมรูปไข่กลับ หรือเป็นรูปขอบขนาน ผลมีติ่งที่ปลายและสันตื้นๆ ประมาณ 5-6 สัน ผลเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ที่ผิวมีปุ่มหูดกับช่องอากาศ ภายในผลมีเนื้อและเมล็ดจำนวนมาก
🌱สรรพคุณ🌱
🔸แก่น : ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวานได้ ใช้ผสมกับแก่นมะพอก นำมาต้มรวมกันให้หญิงอยู่ไฟใช้อาบและสระผม
🔸เนื้อไม้ : ใช้เข้าตำรับยาต้มกับน้ำเป็นยาดื่มแก้บิดและถ่ายเป็นมูกเลือด
🔸เมล็ด : นำมาต้มเคี่ยวกับน้ำใช้ผสมเป็นยาฆ่าเหา
➕ประโยชน์อื่น➕
➖ ต้นคำมอกหลวงเป็นไม้ทนแล้ง เหมาะที่จะปลูกเพื่อให้ร่มเงาได้ อีกทั้งยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี เพราะดอกมีสีสันสวยงามและมีกลิ่นหอมมากยาวนาน โดยจะออกดอกพร้อมกันทั้งต้น ดอกจะบานได้ถึง 2-3 วัน แม้ดอกร่วงแล้วแต่ก็ยังส่งกลิ่นหอม
➖ คนเมืองใช้ดอกสำหรับถวายพระ
➖ สมัยก่อนจะนิยมใช้ผลนำไปสระผม
➖ ชาวม้งนำเนื้อในเมล็ดแก่รับประทานได้
➖ ยางเหนียวจากยอดสามารถนำมาขยี้จนเป็นก้อนๆ แล้วนำไปใส่ในร่องระหว่างโคนมีดกับด้าม จะช่วยทำให้มีดแน่นติดกับด้ามมีดมากขึ้น
➖ เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างและงานแกะสลักได้
👍🏻ถ้าชอบกด Like ใช่กด Share👍🏻
❤️เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ❤️
🙏🙏 Special Thanks 🙏🙏
• ข้อมูลบางส่วน : หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1 ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์
• ข้อมูลบางส่วน : หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ)
• ข้อมูลบางส่วน : medthai
• รูปภาพบางส่วน : Google
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 แอด Newitec 🍃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา