9 ก.ย. 2019 เวลา 14:00 • ประวัติศาสตร์
รองเท้าริมแม่น้ำดานูบ ...
ริมแม่น้ำดานูบ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี
มีรองเท้าหล่อขึ้นจากโลหะ จำนวนหลายสิบคู่ตั้งวางเรียงรายอยู่
รองเท้าจำนวนมากเหล่านี้ มีชื่อที่รู้จักทั่วไปว่า The shoes on the Danube Bank
รองเท้าโลหะเหล่านี้ถูกนำมาวางเรียงรายกันยาวกว่า 400 เมตร
เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจถึงความผิดพลาดของมนุษย์ในอดีตและ
เพื่อระลึกถึงชาวยิวจำนวนมากที่เสียชีวิต ณ.ริมแม่น้ำดานูบแห่งนี้
1
รองเท้าโลหะ 60 คู่ ถูกนำมาวางเรียงรายกันยาวกว่า 400 เมตร
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลฟาสซิสต์ของฮังการีที่ชื่อ The Arrow Cross ได้เข้าร่วมกับกองทัพนาซีของเยอรมันทำสงครามกับฝ่ายพันธมิตร
The Arrow Cross ยังสนับสนุนนโยบายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของนาซีด้วย โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น The Arrow Cross ซึ่งเป็นรัฐบาล ได้ทำการส่งประชาชนของตัวเอง ... ประชาชนที่เรียกตัวเองว่าชาวฮังกาเรียน แต่มีเชื้อสายยิว ไปยังค่ายกักกักของนาซี
ประมาณกันว่า ชาวฮังการรีเชื้อสายยิวมากกว่า 400,000 คน
ถูกส่งเข้าค่ายกักกันของนาซี
โดยส่วนใหญ่ถูกส่งไปที่ค่ายกักกัน Auschwitz
และเกือบทั้งหมดถูกฆ่าตาย
แต่เมื่อสงครามใกล้จะจบลง ฝ่ายอักษะของนาซีเยอรมันกำลังจะแพ้สงคราม
การส่งชาวยิวไปสังหารในค่ายกักกันก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
การสังหารชาวฮังกาเรียนเชื้อสายยิวในประเทศจึงเริ่มต้นขึ้น
2
ท่ามกลางอากาศที่เย็นจัดของหน้าหนาวปีคศ. 1944
แต่ละวันชาวยิวจำนวนมาก ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ไม่เว้นเด็กและคนชรา
จะถูกต้อนให้มายืนเรียงหน้าแถวที่ริมแม่น้ำดานูบแห่งนี้
ช่วงเวลานั้นสงครามได้ดำเนินต่อเนื่องมาหลายปี เสื้อผ้า รองเท้าจึงหายากและมีราคาแพง พวกเขาจึงถูกบังคับให้ถอดเสื้อผ้าออก ถอดรองเท้า และยืนหันหน้าเข้าหาแม่น้ำ จากนั้นทหารชาวฮังการีก็จะยิงเพื่อนร่วมชาติชาวฮังการรีเชื้อสายยิวเข้าที่หลัง แล้วปล่อยให้ร่างที่เสียชีวิต (หรือเกือบเสียชีวิต) ลอยตกลงไปในน้ำที่เย็นจนเกือบเป็นน้ำแข็ง
4
ในบางครั้งเพื่อเป็นการประหยัดกระสุน ทหารจะผูกชาวฮังกาเรียนเชื้อสายยิว 2-3 คนเข้าด้วยกัน แล้วยิงไปที่คนเดียว โดยหวังให้ร่างไร้ชีวิตนั้น
ทำหน้าที่ถ่วงคนอื่นๆให้จมน้ำเสียชีวิตตามไปด้วย ในช่วงไม่กี่เดือน ประมาณกันว่ามีชาวยิงถูกสังหารไปหลายหมื่นคน
1
เมื่อฝ่ายอักษะแพ้สงครามแล้วสหภาพโซเวียตเข้ามายึดประเทศฮังการี
ทหารและประชาชนที่เคยเข้าร่วมกับนาซีจำนวนมาก ก็โดนรัฐบาลคอมมิวนิสต์จับขึ้นศาล จับขัง หรือโดนยิงทิ้งไปไม่น้อย
แต่ก็มีทหารและนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่สามารถเอาตัวรอดได้ด้วยการเปลี่ยนข้างจากนิยมนาซีไปเข้าร่วมกับคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ
หลังจากอยู่ภายใต้การปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์อยู่หลายปี
ในที่สุดประเทศฮังการีก็สามารถปลดแอกตัวเองออกจากสหภาพโซเวียต
และเปลี่ยนการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยได้สำเร็จ
มาถึงทุกวันนี้ ชาวฮังกาเรียนที่เป็นญาติหรือลูกหลานของทั้งฝ่ายที่ยิงและถูกยิง กลับมาอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันอย่างสงบสุขในฐานะประชาชนของประเทศฮังการี แต่ญาติใครทำอะไรกับใครไว้ เป็นอดีตที่เพิ่งผ่านไปไม่นาน ใครเป็นลูกหลานของคนที่สั่งยิง ยังพอจะไล่ตามกันเจอได้
1
คำถามที่น่าสนใจคือ
ญาติของชาวฮังการีที่ถูก The Arrow Cross สังหาร
ญาติของ The Arrow Cross ที่ถูกคอมมิวนิสต์สังหาร
รู้สึกอย่างไรกันบ้าง? คิดอย่างไรกันบ้าง? และใช้ชีวิตอยู่กันอย่างไร?
เมื่อรู้ทั้งรู้ว่า ลูกหลานของคนที่สังหารญาติตัวเองอย่างโหดร้าย ลูกหลานของคนที่ทำให้ครอบครัวตัวเองแตกสลาย โดนยึดบ้าน ยึดทรัพย์สมบัติ มีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย หรือแม้แต่คนที่ลงมือสังหารด้วยตัวเอง หลายคนยังมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุขโดยไม่เคยได้รับแม้แต่การลงโทษใดๆ
คำตอบที่ชาวฮังกาเรียนส่วนหนึ่งให้คำตอบกับตัวเองคือ
1
พวกเขาต้องเรียนรู้ที่จะ forgive and forget
4
พวกเขาต้องให้เรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเป็นบทเรียน
ให้อนุสรณ์สถานเช่น The shoes on the Danube Bank เป็นเครื่องเตือนใจ ไม่ให้ความผิดพลาดเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเกิดขึ้นซ้ำอีก
พวกเขาต้องมองไปข้างหน้าว่าพวกเขาจะสร้างอนาคตร่วมกันต่อไปได้อย่างไร และพยายามเรียนรู้ที่จะอยู่อาศัยร่วมกับคนที่แตกต่างจากตัวเองอย่างมีความสุข
2
ทุกวันนี้ภายในประเทศฮังการีเองยังมีปัญหาของการเหยียดเชื้อชาติหลงเหลืออยู่ไม่น้อย เพราะแม้ว่าจะมีความตั้งใจที่ดี แต่การทำจริงมักจะยากกว่าการพูด
1
อย่างไรก็ตาม การสร้างอนุสรณ์สถานหลายแห่ง รวมไปถึง รองเท้าริมแม่น้ำดานูบแห่งนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่รัฐบาลและประชาชนพยายามจะเตือนตัวเองและนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนถึงความผิดพลาดในอดีตของประเทศตัวเอง
1
ไม่มีประเทศไหนหรอกครับ ที่จะมีประวัติศาสตร์ขาวสะอาดไปเสียทุกเรื่อง
แต่รัฐบาลและประชาชนในประเทศสามารถเลือกได้ว่ากลบหรือปิดบังอดีตอันอัปยศนั้นและเสี่ยงที่จะทำผิดพลาดซ้ำสอง
3
หรือเลือกที่จะพูดถึง เรียนรู้ และช่วยกัน ไม่ให้ความผิดเช่นนั้น
เกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง ...
โฆษณา