21 ก.ย. 2019 เวลา 03:16 • การศึกษา
ป่าอเมซอนต้องใช้เวลาฟื้นฟูอย่างน้อย 100 ปี
บทความเพื่อการอนุรักษ์ป่า : ไฟป่าอเมซอนกำลังเปลี่ยนแปลงป่าฝนเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และใช้เวลาฟื้นฟูนับ 100 ปี
บราซิล Amazon
การเผาไหม้ยังคงดำเนินอยู่ในป่าฝนอเมซอน
ทางการบราซิลยังคงพยายามต่อสู้กับควบคุมไฟป่า
นักวิจัยได้เริ่มออกมาเตือนว่า.. หากไฟไหม้ยังคงกระจายอย่างในลักษณะนี้ เปลวไฟอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภูมิภาค กระบวนการนี้จะเปลี่ยนแปลงป่าฝนเขตร้อนให้กลายเป็นดินแดนรกร้างแห้งแล้ง ทำลายต้นไม้เก่าแก่โบราณ และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ในอนาคตเพิ่มขึ้นอีก
การวิจัยที่ทำต่อเนื่อง ให้ภาพของสิ่งที่อาจเกิดขึ้นไว้น่ากลัวทีเดียว เมื่ออเมซอนถูกเผาไหม้ผลที่ตามมาจะมากมายมหาศาล ระบบนิเวศน์ของป่าที่มีวิวัฒนาการมานานหลายล้านปีโดย ไม่ได้เรียนรู้หรือปรับตัวเองให้รอดพ้นจากสภาพการถูกเผาไหม้อย่างรุนแรงจากไฟป่า
Ane Alencar นักภูมิศาสตร์จากสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมของอเมซอนในบราซิลกล่าว
โดยธรรมชาติของป่าเมื่อบางพื้นที่ถูกทำลาย เช่นในกรณีถูกเพลิงไหม้แต่ไม่ทั้งหมด ต้นไม้ที่เหลือโดยเฉพาะประเภทที่เติบโตเร็ว จะกลับมาแตกแขนงแผ่กิ่งก้านสาขาแทงยอดสู่เบื้องบน หรือปกคลุมหน้าดิน ต้นกล้าที่ยังมีชีวิตก็สร้างรูปแบบการเจริญเติบโต เพื่อกลับมาเป็นป่าสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งซึ่งอาจใช้ระยะเวลาระยะหนึ่ง
ภาพ pinterest
แต่สำหรับป่าอเมซอน ป่าอเมซอนเป็นประเภทของป่าไม้ขนาดใหญ่ เมื่อป่าไม้ขนาดใหญ่ถูกทำลายด้วยไฟป่ามันไม่สามารถฟื้นตัวได้ง่ายๆในระยะเวลาไม่กี่ปี พืชพรรณที่เขียวชะอุ่มดั่งเดิมจะถูกแทนที่ด้วยต้นไม้คลุมดินที่หนาแน่น
เปลวไฟทำลายลึกลงไปถึงเมล็ดพันธุ์ ซึ่งสังเกตว่าสัตว์จะหลีกหนีจากบริเวณนี้ ยกตัวอย่างเช่น นกและหากเดินเข้าไปใกล้ๆบริเวณที่ถูกไฟไหม้สังเกตว่ามันจะสว่างขึ้นรู้สึกแผ่นดินร้อนขึ้นและสัมผัสได้ถึงความแห้งแล้ง
การศึกษาเรื่องป่าที่ถูกไฟไหม้ใน 10 ประเทศแสดงให้เห็นว่า ต้นไม้ที่สูญเสียไปสามารถฟื้นตัวได้ 80% ภายในระยะเวลา 20 ปี และจะใช้เวลาฟื้นตัวสมบูรณ์ภายในระยะเวลา 50 ปีแต่ความอุดมสมบูรณ์ของสายพันธุ์ยังต้องใช้เวลามากกว่านั้น
เหตุผลเพราะ.. ผลของไฟสามารถอยู่ได้นาน
หลายปีหลังเกิดเพลิงไหม้ที่อเมซอน ต้นไม้ใหญ่บางต้นที่อาจมีอายุถึง 1,000 ปีและรอดชีวิตจากไฟไหม้จะเริ่มตายลง ด้วยหลายๆสาเหตุ รากและลำต้นที่ถูกทำลายเสียหาย จนมีความเสี่ยงที่จะติดเขื้อโรคและถูกปลวกทำลาย รวมถึงรากที่ไม่แข็งแรงอาจทำให้ต้นไม้เสียหายเมื่อเจอผลกระทบต่างๆเช่น จากลม พายุ หรือน้ำท่วม หรือการเติบโตในสภาพที่ขาดสารอาหารในดิน
นักวิจัยเตือนว่า
เราจะไม่ได้มีป่าฝนที่เทียบเท่าป่าฝน
วันนี้ไปนับร้อยปี
ภาพ @t.h.e.designhk อเมซอนคือปอดของโลก คือออกซิเจน 20%ของโลกใบนี้
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิลค้นพบว่าบริเวณป่าที่ถูกเผามีปริมาณคาร์บอนน้อยลง 25 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับป่าที่ไม่ได้เผาไหม้ แม้เวลาจะผ่านไป 31 ปีและมีต้นไม้งอกใหม่แล้วก็ตาม
“ระหว่างปี 2005 ถึง 2012 การตัดไม้ทำลายป่าและไฟป่าในบราซิลเคยลดน้อยลง และกลับมาเพิ่มขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมา
@amazonaid
แม้ปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยให้การดูแลรักษาป่าเป็นเรื่องง่าย รวมถึงสามารถคำนวณขนาดพื้นที่การมีอยู่หรือสูญเสียไปของป่าได้อย่างรวดเร็ว
แต่ไม่ว่าเทคโนโลยีใดๆก็ไม่สำคัญเท่าจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์และรักษาป่ารวมถึงนโยบายการจัดการป่าที่ชัดเจนของรัฐบาล
วันนี้เราเหลือพื้นที่ป่าบนโลกนี้เพียงแค่ 27 เปอร์เซ็นต์ ภาพ @the.earth.doctor
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
21.09.2019
โฆษณา