Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สุขภาพดีไม่มีในขวด
•
ติดตาม
12 ก.ย. 2019 เวลา 12:34 • สุขภาพ
พลาสเตอร์ยาหรือ Bandage คืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการปิดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือป้องกันสิ่งสกปรกเข้าสู่แผล
1
โดยต้นกำเนิดของพลาสเตอร์เริ่มตั้งแต่ประมาณปี 1920 โดยบริษัท Johnson & Johnson จากการที่ภรรยาของพนักงานคนมีแผลไหม้จากการประกอบอาหาร เขาจึงออกไอเดียให้กับบริษัทในการคิดค้นสิ่งนี้ขึ้นมาและวางขายในชื่อ Band-Aid ซึ่งหลังจากออกตลาดก็ไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก ต่อมาจึงพัฒนาให้เป็นแบบปราศจากเชื้อขึ้นในปี 1939 และในปี 1951 ก็เริ่มมีการตกแต่งลายการ์ตูนลงบนพลาสเตอร์ เช่น มิกกี้เมาส์ เป็นต้น
ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พลาสเตอร์ก็ถูกส่งออกไปหลายทวีปเพื่อช่วยผู้คนนานาประเทศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพลาสเตอร์ก็กลายเป็นที่รู้จักและมีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก
โดยปกติแล้วพลาสเตอร์ที่เราใช้ทั่วไป ก็จะมีขนาดเล็ก ยืดหยุ่นได้ ด้านหนึ่งเหนียวใช้ติดกับผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล วิธีการเลือกใช้ ควรเลือกพลาสเตอร์ที่ดูสะอาดไม่มีสิ่งสกปรกหรือคราบกาวเหนียวเหนอะหนะ และไม่ใช้ซ้ำ
บางยี่ห้อก็มีส่วนประกอบของสารที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ก็จะช่วยให้แผลที่มีการติดเชื้อสมานได้ไวมากขึ้น
ในพลาสเตอร์ 1 ชิ้นมีส่วนประกอบหลัก 3 อย่างคือ
1.ด้านหลังพลาสเตอร์ที่มักจะทำจากผ้า กระดาษ หรือพลาสติก
2.ด้านกาว ส่วนใหญ่ทำมาจาก Latex, Acrylaye และ Epoxy
3.แผ่นดูดซับ เป็นพวกคอตตอน นอกจากนี้ยังมี พวก Hydrogel สำหรับแผลที่มีสารคัดหลั่งมากก็จะมีซึ่งก็จะมีราคาสูงขึ้นด้วย
หลายคนมีปัญหาเรื่องแพ้พลาสเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดจากสารประกอบจำพวก Latex ในพลาสเตอร์ที่ทำให้เกิดอาการคัน ผื่นแดง ภูมิแพ้ผิวหนัง (Allergic dermatitis) ได้ โดยมักจะเกิดขึ้น0ในช่วง 12-24 ชั่วโมงหลังจากแปะพลาสเตอร์และเกิดบนบริเวณที่แปะ
ดังนั้นหากมีอาการแพ้ควรรีบดึงออก ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หากเป็นมากอาจใช้ยาทาแก้แพ้ผื่นคัน และเปลี่ยนไปใช้พลาสเตอร์หรือผ้าก๊อซที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายมากกว่า (Hypoallergenic)
นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการนำพลาสเตอร์มาพัฒนาเป็นระบบนำส่งยาเข้าสู่ผิวหนัง (Transdermal patch) ซึ่งในแผ่นจะมีตัวยาบางชนิดใส่ลงไป และใช้วัสดุที่สามารถส่งผ่านยาเหล่านี้ลงไปที่ใต้ชั้นผิวหนังได้ เช่น Nicotine patch, Hormone patch
ดังนั้นจะเห็นว่าพลาสเตอร์ที่เราคุ้นเคยกันดีก็ยังมีประวัติที่น่าสนใจมายาวนาน แถมยังมีการพัฒนาที่ยังไม่สิ้นสุดอีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วก็อย่ามองข้ามของสำคัญชิ้นเล็กๆนี้ไปนะคะ
เอกสารอ้างอิง
Band-Aid.
https://en.wikipedia.org/wiki/Band-Aid
. 2019.
Sticking Plaster Allergy.
https://www.allergiesandhealth.com/skin/sticking-plaster-allergy
. 2016.
may
DID YOU KNOW YOU COULD BE ALLERGIC TO PLASTERS?.
https://goodnessmebox.com/blogs/news/did-you-know-you-could-be-allergic-to-plasters/
.
6 บันทึก
71
8
11
6
71
8
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย