12 ก.ย. 2019 เวลา 13:28 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เมรี่ แอนนิง (Mary Anning) – จากเด็กเก็บของเก่าขายสู่เจ้าแม่ตัวจริงแห่งโลกดึกดำบรรพ์
วงการวิทยาศาสตร์ในอดีตเป็นเรื่องของสุภาพบุรุษ วงการบรรพชีวินก็เช่นกัน มันคือผลงานที่เต็มไปด้วยศักดิ์ศรี แข่งขันอย่างเฉือนคม
หักหลังกันไปมาของผู้ทรงอิทธิพลเพื่อหาว่าใครจะค้นพบสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่สมบูรณ์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงแทบไม่มีที่ว่างสำหรับสุภาพสตรีเลยสักคืบนิ้วเดียว
ณ หาดทางใต้ของอังกฤษ คลื่นที่ซัดเข้าโขดหินซ้ำๆ เผยให้เห็นซากฟอสซิลจาก ‘มหายุคมีโซโซอิก’ ที่ซุกซ่อนชีวิตอันน่าทึ่ง
พวกมันคือสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ และไดโนเสาร์ที่เคยอยู่บนพิภพตั้งแต่ครั้งบรรพกาล
สาวน้อย ‘เมรี่ แอนนิ่ง’ หาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บฟอสซิลตามริมหาดขายให้คนร่ำรวย
ภาพ : Redbubble
ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างอันตรายเพราะเธอต้องปีนไปตามโขดหินแหลมคม ด้วยความชำนาญ เธอจึงมีสายตาแม่นยำ ที่มาจากการฝึกฝนและประสบการณ์นั้น
เธอสามารถแยกแยะฟอสซิลจากก้อนกรวดมากมายได้ จนสามารถเขียนบันทึกเป็นเรื่องราว ลงรายละเอียด และมีการจัดหมวดหมู่ฟอสซิล
แต่ความพยายามของเธอยังโดนดูถูกจากแวดวงนักวิทยาศาสตร์ใจแคบว่า “เป็นแค่เด็กผู้หญิงเก็บของเก่าขาย”
‘เมรี่ แอนนิ่ง’ ขุดพบสัตว์โบราณหลายสายพันธ์
ภาพ : thoughtco
และเป็นหนึ่งในน้อยคนบนโลกที่ขุดพบ ‘พลีซิโอซอร์’ (Plesiosaurs) สัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ที่อาศัยในมหาสมุทรที่สมบูรณ์แบบที่สุด
เธอเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งขณะอายุเพียง 47 ปี และได้รับการดุษฎีจากสมาคม Geological Society of London ที่ไม่เคยคัดเลือกสตรีเข้ามาเป็นสมาชิกเลยกว่า 72 ปี
ปัจจุบันงานวิจัยบรรพชีวินมีรากฐานมาจากการศึกษาด้วยประสบการณ์ของ ‘เมรี่ แอนนิ่ง’ และเธอก็ได้พิสูจน์ว่า ผู้หญิงเองควรจับพลั่ว ถกชายกระโปรงขึ้น และยอมให้มือเลอะบ้าง
แต่อย่าละเลยสายตาอันเฉียบคมในการมองสิ่งที่คนอื่นไม่เห็นค่า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา