ทุกทีมจะมี Salary Cap เท่ากันในการสร้างทีม ซึ่ง Salary Cap จะมีปริมาณเท่าไหร่ บางส่วนจะขึ้นกับรายได้รวมของทางลีก (ค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ ค่าสปอนเซอร์ และรายได้อื่นๆ) ซึ่งจะมีการประกาศก่อนที่ตลาด Free Agency จะเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม
กรณีของ NBA นั้น Salary Cap ในฤดูกาล 2019/20 จะมีทั้งสิ้น 109.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทางลีกจะมีมาตรการ Soft Cap ในการกำหนดเพดานเงินเดือนด้วย (ไม่เหมือน American Games อื่นๆ ที่ใช้มาตรการ Hard Cap คือห้ามเกินเด็ดขาด จะมีกรณียกเว้นอยู่แต่น้อยมาก)
ซึ่ง Luxury Tax ที่จะต้องจ่ายมีมูลค่ามหาศาลมากๆ ทำให้ทีมที่เจ้าของทีมไม่ได้มีเงินถุงเงินถัง ต้องระวังไม่ให้เกินเส้น Tax Line โดยเด็ดขาด
ดังนั้น เมื่อแต่ละทีมได้ทราบข้อมูลของ Salary Cap และตรวจสอบถึงปริมาณ Cap ที่ทีมตัวเองยังเหลืออยู่แล้ว แต่ละทีมก็จะต้องนำไปบริหารจัดการเพื่อหาผู้เล่นให้เข้ากับแนวทางในการบริหารทีมให้ได้มากที่สุด
โดยหลักแล้ว การเสริมผู้เล่นใน NBA สามารถแบ่งได้เป็น 3 แนวทาง
1. Draft หรือการคัดเลือกผู้เล่นหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยเล่นใน NBA เข้าสู่ทีม
การลงทะเบียน Draft ถือเป็นก้าวแรกของผู้เล่นทุกคนที่ต้องการเข้ามาใน NBA
ผู้เล่นทุกคนต้องลงทะเบียนเป็น Draft Player ก่อน ถึงจะมีสิทธิ์ในการเข้าสังกัดทีมใน NBA ได้ โดยจะถูก Draft หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องลงทะเบียนแล้วเท่านั้น
ทีม A ต้องการผู้เล่นทีม B โดยเสนอเป็นผู้เล่นให้ Trade
ทีม B ไม่ต้องการผู้เล่นในข้อเสนอ Trade ของทีม A และวิเคราะห์แล้ว ไม่มีผู้เล่นคนไหนในทีม A ที่ทีม B ต้องการเลย ทีม B เลยต้องการสิทธิ์ Draft ที่สมน้ำสมเนื้อ แต่ทีม A ไม่มีให้ จึงต้องทำการเจรจากับทีม C
ทีม C ต้องการผู้เล่นทีม A แถมมีสิทธิ์ Draft ที่ทีม B ต้องการ
จึงเกิดการตกลง Trade สามทาง แบ่งเป็น
ทีม A ได้ผู้เล่นทีม B เสียผู้เล่นให้ทีม C
ทีม B ได้สิทธิ์ Draft จากทีม C เสียผู้เล่นให้ทีม A