3 ต.ค. 2019 เวลา 13:00
จากมนุษย์เงินเดือนสู่เจ้าของแอป Shopee ที่จ้างโรนัลโด้มาเต้นได้ - Ma Huateng (ผู้ก่อตั้ง Tencent)
หนึ่งในคนที่รวยที่สุดในจีน สลับกันขึ้นเป็นอันดับ 1 และ 2 กับ Jack Ma ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็คือเค้าคนนี้แหละครับ "Ma Huateng"
จากมนุษย์เงินเดือนธรรมดาๆคนนึง เค้าก้าวขึ้นมาอยู่จุดนี้ได้อย่างไร เราไปเซอร์เวย์กันดีกว่าครับ👇
⭐ Background
Ma Huateng หรือ Pony Ma เกิดในครอบครัวที่ฐานะกลางๆไม่รวยไม่จน
ในสมัยเรียน Ma Huateng ชอบในการใช้คอมพิวเตอร์เล่นเกม เขียนโปรแกรม จนกระทั่งได้เข้าไปเรียนในมหาลัยเซินเจิ้นในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ซึ่งหลังจากที่เขาเรียนจบแล้ว เขาได้มีโอกาสเข้าไปทำงานที่บริษัทที่ทำเกี่ยวกับการผลิตและจัดจำหน่ายระบบโทรคมนาคม
ซึ่งเงินเดือนเดือนแรกที่เขาได้รับคือ 1,100 หยวน หรือประมาณ 5,000 บาท
และในเวลาต่อมาเขาก็ได้มีโอกาสไปทำงานที่บริษัท Shenzhen Runxun Communications ในแผนกพัฒนาระบบบริการโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต
ซึ่งเค้าใช้เวลา 5 ปีในการทำงานกับบริษัทดังกล่าวเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์
Ma Huateng Fouder of Tencent
⭐ จุดเริ่มต้นของ Tencent
จากการทำงานประจำมา 5 ปีทำให้เค้าเห็นปัญหาของบริษัทลูกค้าเรื่องของระบบ Network ในองค์กร
ซึ่งส่วนมากบริษัทต่างๆจะใช้บริการเจ้าเดียวผูกขาดเนื่องจากระบบเน็ตเวิร์คมันเหมือนการสร้างเมืองที่ซับซ้อน คนมาแก้ไขและดูแลระบบควรเป็นคนเดิม เพราะคนมาใหม่จะงงมาก ทำใหม่เลยอาจง่ายกว่า
การที่โดนผูกขาดทำให้ลูกค้าที่ได้รับบริการไม่ดี หรือโดนเรียกเงินแพงเกิดความไม่พอใจ
Ma Huatengเห็นช่องทางการทำธุรกิจตรงนี้จึงรวมทีมกับเพื่อนอีก 4 คนร่วมกันก่อตั้ง Tencent ขึ้นมา
ทำบริการเกี่ยวกับ System Integration หรือบริการวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กรเป็นหลัก
⭐จุดเริ่มต้นความสำเร็จมาจากการลอกเลียนแบบ?
และปีแรกของการทำธุรกิจในฐานะ SME พออยู่ได้ ทีนี้ก็ถึงเวลาคิดก้าวต่อไปเพื่อให้บริษัทเติบโตมากยิ่งขึ้น
โดย Ma Huateng ได้แนวคิดบริษัท Startup มาจากแนวคิดของสหรัฐอเมริกา ซึ่งแนวคิดแรก Ma Huateng ได้เห็นโปรแกรมแชตแบบ instant messaging ตัวแรกของโลกก็คือ ICQ ที่ซึ่งได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมมากจาก Social
เขาก็ได้หยิบไอเดียนี้ นำมาทำโปรแกรมแชตของตัวเองโดยใช้ชื่อว่า OICQ หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า ก้อปปี้แทบทุกอย่างที่ ICQ มี เพียงแต่เปลี่ยนเป็นภาษาจีนก็เท่านั้นเอง
1
แต่ OCIQ ก็ประสบปัญหาเนื่องจากในสมัยนั้น การเล่นแชทเป็นอะไรที่ดูจะไกลตัวจากคนในยุคนั้นสักหน่อย ทำให้มีแต่คนมาสมัครลงทะเบียนทิ้งเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้มีความเคลื่อนไหวอะไร
Ma Huateng จึงใช้กลยุทธ์จำแลงกายขึ้นมาด้วยการสร้างแอคเค้าท์ปลอมขึ้นมาจำนวนหนึ่ง
แล้วใช้โปรไฟล์เป็นรูปหญิงสาวหน้าตาดี รวมไปถึงยังพิมพ์แชทแบบผู้หญิงน่ารักๆ เพื่อดึงดูดให้มีคนมาเล่นแอพเยอะขึ้น ซึ่ง Pony Ma คืออวาตารของหญิงสาวเหล่านั้นนั่นเอง😱
2
จากการตลาดนี้ทำให้แอป OICQ มีผู้ใช้มากกว่า 1 ล้าน user เลยทีเดียว
ICQ vs OICQ
⭐อุปสรรคและปัญหา
แม้ว่าจำนวนผู้ใช้งานจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ OICQ ของ Pony Ma นั้น กลับไม่มีโมเดลรายได้ที่ชัดเจน ว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไร
และนั่นมันก็คือปัญหาใหญ่ ที่เงินกำลังจะขาดมือ เนื่องจากยิ่งมีผู้ใช้งานเยอะ ก็ทำให้รายจ่ายเรื่องของเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นในทุก ๆเดือน แต่ในขณะที่เงินที่อยู่ในกระเป๋าเริ่มหร่อยหรอลงทุกที
2
Tencent จึงต้องยอมรับข้อเสนอการลงทุนที่เสียเปรียบมากๆจากนักลงทุนแอฟริกา นั่นทำให้มีเงินสดมาหล่อเลี้ยงบริษัท
แต่ก็ยังโดนบริษัทแม่ของ ICQ ฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์จนต้องเปลี่ยนชื่อเป็น QQ
ซึ่งมีรายได้หลักจากค่าโฆษณาและค่าซื้อของตกแต่ง Avatar(profile) จากการที่มีผู้ใช้งานถึง 100 ล้านชื่อ
QQ
⭐จุดเปลี่ยนที่ทำให้ Tencent สำเร็จเริ่มมีรายได้หลายร้อยล้าน
จากการทำการตลาด โฆษณาด้วยวิธีสร้างโปรไฟล์ปลอมขึ้นมาจนมี user เยอะมาก
Tencent จึงขยายไปสู่ธุรกิจ Virtual money คือการขายของตกแต่งโปรไฟล์ใน QQ ให้แตกต่างจากคนอื่น
คือขายของที่ใช้ได้ในแอป สามารถใช้โปรแกรมสร้างได้ไม่รู้จบ จนมีรายได้หลักเป็นสินค้าแบบนี้
ขยายไปสู่การทำธุรกิจเกมมิ่ง ซึ่งผลิตสินค้าในเกม(ซึ่งไม่สามารถเอาออกมาใช้จริงได้) ที่ทำให้ผู้เล่นเท่กว่าคนอื่น หรือเด่นกว่าคนอื่น☺️
เกมของบริษัทที่ Tencent หนุนหลังอยู่เช่น ROV, Fortnite, PUBG
⭐ขยายสู่ธุรกิจแชท (Wechat) จากช่องโหว่
และเมื่อ Pony Ma ทราบข่าวของการมาของโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ อย่าง Facebook พยายามที่จะเจาะเข้าสู่ตลาดจีน
แต่ด้วยข้อกฏหมายที่ยุ่งยากของประเทศจีนที่เป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ทำให้ระหว่าง Facebook กับประเทศจีน ไม่สามารถตกลงกันได้
Ma เห็นช่องโหว่นี้จึงเปิดตัว เหวยซิ่น (Weixin) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Wechat ขึ้นมาในประเทศจีน
และ Wechat ไม่ใช่เพียงแค่แอพเอาไว้สำหรับแชทแล้ว เพราะแอพนี้มันทำให้เกิดปรากฏการณ์ในจีนที่เรียกว่า Cashless หรือสังคมไร้เงินสด
เพราะเพียงแค่ผูกบัญชีธนาคารกับแอพ Wechat ก็สามารถใช้ทำธุรกรรมทางการเงินได้แทบทุกอย่างที่ผู้คนใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถสั่งจ่ายผ่านแอพได้แทบทั้งสิ้น เป็นการตอบสนองผู้คนจำนวนมาก
โดยการจุดพลุครั้งใหญ่ของ Wechat ที่ดึงผู้ฐานผู้ใช้มาได้มากคือ ในปี 2014 ช่วงวันตรุษจีนทาง Wechat ได้ทำแคมเปญดึงดูดให้ผู้คนหันมาส่งอั่งเปาในรูปแบบเงินดิจิตอล
โดยสามารถส่งอั่งเปาแบบดิจิตอล(โดยเอาเงินจริงแลกเป็นอั่งเปาดิจิตอล) แล้วส่งให้กับครอบครัว, ลูกหลาน ญาติ พี่น้อง ที่ทำให้แม้แต่อากง อาม่า ที่ดูจะไม่ค่อยสันทัดในเรื่องเทคโนโลยี ก็ยังสามารถใช้งานได้
สามารถโอนเงินได้สะดวกและ"ไม่มีค่าธรรมเนียม" จุดนี้แก้ปัญหาที่ผู้คนบ่นได้เป็นอย่างดี
⭐ สู่โมเดลไม่ต้องทำงานแต่กลับมีรายได้
Tencent ได้เข้าไปลงทุนในกิจการ IT อื่นๆอีกมากมาย โดยไม่ต้องทำงานเอง เพียงเป็นที่ปรึกษา และใช้ Branding สร้างความน่าเชื่อถือเท่านั้น
โดยมีสินค้าและบริการดังๆอย่าง JOOX, JD.com, Snapchat และ Shopee ด้วย‼
⭐ Key success ของ Ma Huateng และ Tencent
1
สร้าง Platform ที่จากปัญหาและตอบสนองการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน
ขยายฐานผู้ใช้งานออกไปโดยการจัดแคมเปญช่วงเทศกาลเช่น ฟรีค่าธรรมเนียม รวมถึงการสร้างกระแสให้ผลิตภัณฑ์ตัวเอง(เช่นสร้างแอคเคาท์ปลอม)
เมื่อมี Traffic เข้ามาในบริการของ Tencent เยอะ ก็จะมีช่องทางการหารายได้มากขึ้น เช่นขายไอเทมในเกม หรือในแอปที่ใช้ได้เฉพาะในแอปนั้นๆ และสามารถสร้างออกมาอีกเท่าไหร่ก็ได้
อย่างตัว Shopee เองก็มีลดแลกแจกแถมเยอะ ทำให้ปีแรกๆขาดทุนหนักมาก แต่หลังจากมีคนเข้ามาในแอปเยอะ ก็สามารถหารายได้จากการยิง Ads ได้อีกยาวๆ
⭐คำแนะนำของ Ma Huateng
โดยเขาได้เคยให้สัมภาษณ์โดยได้พูดประโยคแสนจะธรรมดาว่า “การที่จะมองเห็นอนาคตข้างหน้าได้ไกลได้นั้น คุณจะต้องขึ้นไปยืนบนไหล่ของยักษ์”
ซึ่งเขาได้ศึกษาเหล่าบรรดายักษ์ใหญ่จากทั่วโลกว่ามีประเทศใดที่ทำอะไร ทำยังไงถึงได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง
แล้วก็นำมาปรับใช้กับธุรกิจในประเทศจีนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ว่า มีแต่คนจีนเท่านั้น ที่สามารถทำธุรกิจในจีนได้ ซึ่งเป็นเรื่องจริง‼
คำพูดของ Pony Ma เกี่ยวกับการทำธุรกิจในจีน ไอเดียสามารถโดน Copy ได้ไวมาก เพราะฉะนั้นใครทำได้รวดเร็ว และทำให้ธุรกิจบูมได้ไวกว่าคือผู้ชนะ Cr. Azqoutes
นอกจาก Ma จะเป็นคนรวยแล้ว เค้ายังใจบุญด้วยมีการก่อตั้งองค์กรที่ช่วยเหลือคนพิการ ผู้ป่วย HIV
รวมถึงบริจาคเงินสนับสนุนการศึกษา เมื่อมีแล้วนำมาแบ่งปันได้เยอะ ได้ให้เยอะโดยที่ตัวเองก็ไม่เดือนร้อนชีวิตเค้าก็จะมีความสุขขึ้นไปอีก
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีมากสำหรับเรา "อยากสำเร็จก็ต้องเลียนแบบคนสำเร็จ"
แล้วเจอกันบทความหน้านะครับ ผมจะไปเซอร์เวย์คอนเทนต์ที่มีประโยชน์มาให้อ่านกันอีก - เชอแตม😁

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา