3 ต.ค. 2019 เวลา 07:16 • ธุรกิจ
Beeree Note❤️We (ไม่) Work
🙏Wework กับ​ business model ที่​ "ไม่" work
ยิ่ง​ IPO​ ยิ่งพังพินาศ! 😂
จากธุรกิจ​สตาร์ทอัพ​ยูนิคอร์น​สุดปัง!
😭มูลค่า​ 47,000 ล้านเหรียญ​ ดาวดิ่งสู่​ธุรกิจล้มละลาย!? ภายใน​ 6 สัปดาห์😫
💙ธุรกิจ​ Wework​ เป็นธุรกิจ​ Co working space ที่มีเป้าหมายเป็นพื้นที่ให้เช่า​ทำงาน
เริ่มต้นในปี​ 2010 โดย​ Adam Nueman และ​ MiGuel Mckelvey เป็นหัวหอกในการจัดตั้งบริษัท​
หลังจากนั้น​ 9 ปี​ Wework​ โตอย่างก้าวกระโดด​ มีที่ตั้งกว่า​ 528 สาขา​ ใน​ 111 เมือง​ 29​ ประเทศ
โดย มี​ Coworking space ที่ใหญ่ที่สุดใน​แมนฮัตตัน
แล้ว​ Wework​ กลายเป็น​หุ้น​ IPO.เน่าเจ๊งได้อย่างไร?
เรามามองกลับมาที่ตัว​ Business model กัน.
❤️1. Business Model ของ​ Wework.เป็นอย่างไร?
เป็นธุรกิจ​ office space ให้เช่าระยะสั้น​ มี​membership system​ โดยช่วงแรกมีกลุ่มฐานลูกค้่าเป็น​กลุ่ม​startup กลุ่ม​freelance กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการเกิดใหม่​
ซึ่งมี​คู่แข่งที่ใกล้เคียงกันที่สุด​ คือ
บริษัท​ IWG ทำกำไรต่อปีได้เพียงเล็กน้อย
มูลค่าบริษัทต่ำกว่า​ Wework ถึง 10 เท่า​ คือ​ 3,700ล้านเหรียญเท่านั้น​ เมื่อเทียบกับ​ Wework​ ถูกให้มูลค่าถึง​ 47,000​ล้านเหรียญ​สหรัฐ!?
❤️2. ข้อแตกต่างของ​ Wework​ คืออะไร?
ข้อแตกต่างของ​ Wework​ ในช่วงแรก
หลักๆ​ คือ​ Branding recognition มีแบรนด์ที่โดดเด่น​ จดจำง่าย​ ถ่ายรูป​Instagram สวย​ พื้นที่โปร่งโล่งสบาย​ ตกแต่งแบบอินดัสเตรี​ยล
โดยช่วงที่เริ่มต่างมากขึ้นคือ
เดือนมกราคมในปี​2018​ CEO.Adam Neumann ได้เปลี่ยนชื่อ​ จาก​ Wework.เป็น​ "We Company" พร้อมกับเปลี่ยนเป้าหมายจากบริษัทofficeให้เช่า​ เป็น​ We- ecosystem คือ​นอกจากตัว​office แล้วยังมีๆทุกๆอย่างของ​lifestyle คือ​เลิกงานมี​ We Brandon gym ออกกำลังกาย​ มี​We​ grow elementary school ให้ส่งลูกเรียน​ มี​We love apartmentไว้ให้เข้าพัก​ กล่าวคือขายฝันจะกลายมาเป็น​ Real estate Company อย่างเต็มตัว
❤️3. สรุปแล้ว​ Wework​ เป็น​ real estate หรือ​ tech company กันแน่?
เมื่อ​ investor​ เห็นตัว​ main business model ของ​ Wework แล้ว​ ยังไม่ค่อยแน่ใจว่า​ เป็น​ True​ tech company อย่างไร?
ทำไม​ Wework​ จึงกล่าวอ้างว่าบริษัทตัวเองเป็น​ tech company ล่ะ?
ในเอกสาร​ S-1 ที่ส่งเพื่อ​ IPO​ หุ้น​ Wework​ ได้ระบุตัวเองอย่างชัดเจนว่า​เป็น​ธุรกิจ​ที่มีรากฐานเป็น​บริษัืทเทคโนโลยี​อย่างมาก​ (extensive technology infrastructure) เพื่อให้ได้​การประเมินมูลค่าสูงๆ​ เหมือน​tech companyอื่นๆ
แต่สิ่งที่ Wework มีคือส่วนของ​ Data ข้อมูลการใช้งานของลูกค้า​ เช่น​ ช่วงไหนทำงาน​ productive ที่สุด, space ที่ใช้ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม​ ซึ่งก็ยังไม่เห็นผลลัพธ์​ที่เป็นตัวเงินชัดเจน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า​ Wework​ เป็นธุรกิจอสังหา​ริม​ทรัพย์​ที่มีเทคโนโลยีมาใช้ร่วมค่ะ❤️
❤️4. รายได้​ Wework​ มาจากไหน? ทำไม​ Valuation การประเมินมูลค่าจึงสูงมาก?
จากตัวรายได้ของ​ Wework​ในปี​ 2018​ มีรายได้ถึง​ 1,800ล้านเหรียญ​ แต่รายจ่ายก็มีมากเช่นกัน​ ถึง​ 1,9​00ล้านเหรียญ​ หรือ​ 219,000 เหรียญ​ ต่อชั่วโมง
ถึงแม้จะขาดทุน​ และไม่มีแนวโน้มว่าจะหารายได้มาจากไหน​ Wework​ ร่วมมือกับนายทุนใหม่​ Masayoshi Son​ จาก​ Softbank โดยได้รับเงินสนับสนุนธุรกิจจาก​ Vision fund มูลค่ากว่า​ 10,000ล้านเหรียญ​ ซึ่งได้รับการประเมินมูลค่าธุรกิจ​นี้กว่า​ 47, 00ล้านบาท​ แต่เมื่อไฟล์​ IPO​ S-1 ออกมา​ ได้รับการสังคายนา​ประเมินมูลค่าใหม่​เหลือเพียง​ 10,000 ถึง​ 12,000ล้านเหรียญเท่านั้น​ 😭
😫สุดท้าย​ Wework จึงต้องมีการเลื่อนการ IPO​ ออกไปอย่างไม่มีกำหนด​และไล่ CEO Adam Neumann จากการบริหารที่เต็มไปด้วยข้อกังขามากมาย​ ทั้งพฤติกรรม​ที่ไม่เหมาะสม​ ใช้เงินซื้อเครื่องบินส่วนตัว​ ขายหุ้นส่วนของตัวเองปริมาณมากและตึกที่​ปล่อยเช่าดันเป็นของตัว​CEO​เองไปซะอีก🙏
งานนี้มีข้อกังขามากมาย
Softbank​ที่ลงทุนไปกว่าหมื่นล้านดอลล่าร์​จะแก้เกมยังไง!? ก็รอดูละกัน😫
#wework
#หมอลงทุน
#beeree
#adamneumann
#facebook

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา