7 ต.ค. 2019 เวลา 11:21 • ธุรกิจ
3 ข้อห้ามสำหรับการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหา
ไม่ว่าที่ไหนก็ต้องมีปัญหา
อะไรที่ว่าเป็นปัญหาต้องมีการ คิด วิเคราะห์ เพื่อหาวิธีการแก้ไขที่สาเหตุ
หากคุณเริ่มต้นการวิเคราะห์จาก KKD ถูกแปลและใช้อย่างลวกๆว่า เก๋า กึ๋น เดา
วิธีการแก้ไขที่ได้ก็จะเป็นแบบเดิมๆ เพิ่มเติมคือ “ ปัญหา ” กลับมาเหมือนเดิม
KKD คือ แนวความคิด พฤติกรรม หรือวิธีการที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยที่ไม่ใช้ความจริงหรือ Fact base มาร่วมวิเคราะห์ ประกอบไปด้วย Keiken , Kan , Dokyou
K = Keiken (ประสบการณ์ - เก๋า)
ผมการผ่านร้อน ผ่านหนาวมาก่อนคุณ ผมแน่ ตรูเจ๋ง ไม่ต้องวิเคราะห์อะไร เป็นอันนี้แน่นอน
K = Kan (สัญชาตญาณ - กึ๋น)
ความเชื่อมั่น ความสามารถ ความเก่งในตัวเอง ไม่มีผมคุณโรงงานคุณเจ๊งแน่เพราะไม่มีใครซ่อม
D = Dokyou (การคาดเดา – เดา)
การคาดเดาที่คิดเอาเอง “ ว่าจะ น่าจะ ควรจะ ” จากการใช้ประสบการณ์และสัญชาตญาณ
ซึ่งการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้ต้องสามารถหาสาเหตุรากเหง้าให้เจอ และทำการแก้ไข/ป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ
เพราะการแก้ปัญหาที่สาเหตุรากเหง้านั้น จะไม่ใช่แก้ที่อาการ เพราะการแก้ที่สาเหตุรากเหง้าจะสามารถป้องกันการเกิดซ้ำได้
ซึ่งแนวคิดพื้นฐานในการแก้ปัญหา ประกอบไปได้ด้วย 5 ข้อนี้
1. ต้องมีตัวอย่างของเสีย และของดีทุกครั้ง
2. ต้องไปหน้างานที่จริงทุกครั้ง
3. ต้องระบุปัญหาให้ชัดเจนที่สุด
4. ต้องเขียนด้วยลายมือ ห้ามใช้คอมพิวเตอร์
5. ต้องFact Based (ใช้ข้อเท็จจริง) เสมอ
สุดท้ายนี้ ผมไม่ว่าประสบการณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีค่า แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจผิดพลาด ควรตัดสินใจข้อมูลที่เป็นจริง หรือ Fact Base
อย่ามัวเผลอ ทำแต่ถูกต้อง จนไม่ได้ใส่ใจเรื่อง ทำถูกตัว !!!
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
โฆษณา