6 ม.ค. 2020 เวลา 00:19 • ธุรกิจ
เลือกไอเดียกิจการส่วนตัว (รายได้หลายช่องทาง EP18)
หลายคนอยากเริ่มต้น ทำกิจการส่วนตัวซะที แต่คิดไม่ออก ไม่รู้จะทำอะไรดี
ในทางตรงกันข้าม
กับผู้คนอีกกลุ่มหนึ่ง
หลายคนที่มีไอเดียมากมาย แต่ไม่รู้จะเลือกไอเดียไหนดี ตัดสินใจไม่ถูก
ไอเดียกิจการส่วนตัว
ผมจึงรวบรวมไอเดียธุรกิจต่างๆ แต่เมื่อได้ข้อมูลมาระดับหนึ่ง ก็ยังไม่แน่ใว่า เหมาะกับท่านผู้อ่านหรือเปล่า (อาจจะพาหลงทางไปเลย ก็เป็นได้)
อันที่จริงแล้ว ถ้าคุณเป็นคนกลุ่มแรก ที่ยังไม่มีไอเดียธุรกิจ
สามารถ Search จาก google พิมพ์คำว่า "ไอเดียธุรกิจ"
จะเจออาชีพ กิจการ ธุรกิจ โน้น นี่ นั้น อะไรๆ มากมาย เลือกไม่ถูก อันไหนดี
การคิดเยอะเกินไป ไม่ได้ลงมือทำเสียที ก็เป็นการเสียโอกาส
- เสียโอกาส ที่ปล่อยเวลาผ่านไป
- เสียโอกาส เมื่อเจอจังหวะดีๆ แต่เราดันไม่พร้อม เพราะได้แต่คิด
ในทางตรงกันข้าม
การคิดน้อยเกินไป แล้วโชดร้ายทำธุระกิจผิดพลาด เกิดความเสียหาย
อย่าไปเชื่อคำสอนที่ว่า การล้มบ่อยๆ จะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นไปอีก
ถ้าเราทำธุรกิจหรือทำงานชิ้นหนึ่ง แล้วเกิดความผิดพลาด จนทำให้
- เกิดภาระหนี้สินติดพัน
- เสียชื่อเสียง ขาดความน่าเชื่อถือ
มันส่งผลเสียในระยะยาวกับเรา การล้มหรือพลาดแบบนั้น มันกู้กลับมายาก
ดังนั้น การเลือกไอเดียธุรกิจ จึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ก่อนนำไอเดียนั้น
ศึกษาในรายละเอียดและวิเคราะห์ตามทฤษฎี ก่อนลงมือทำ (EP19 ต่อไป)
EP17 ก่อนนั้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นการทำกิจการแบบไม่เต็มตัว
1. ใช้เวลาว่าง นอกเวลางานประจำ เช่น กลางคืน หรือเสาร์อาทิตย์
2. ทำร่วมกับหุ้นส่วนที่ทำได้เต็มเวลา
3. เปลี่ยนงานอดิเรกให้เป็นรายได้
4. ออกแบบธุรกิจให้เป็นแบบ Prototype ลงทุนน้อยที่สุด รู้ผลเร็ว
5. ทำโดยไม่ใช้เงินลงทุน หรือใช้น้อยที่สุด
ส่วน EP18 นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นให้กิจการ/ธุรกิจประสบความสำเร็จ
1. Mega Trends
2. อย่าทำตามกระแส
3. Repeatable & Scalable
Option 1 ถ้าทำกิจการ/ธุรกิจครั้งแรก และมีงานประจำอยู่แล้ว
เลือกแบบ EP17 และถ้าได้ตาม EP18 ด้วย จะสุดยอดมากๆ
Option 2 ถ้าเป็นการทำกิจการ/ธุรกิจที่ 2 หรือต่อๆไป
เลือกแบบ EP18 นี้เลย
1. Mega Trends
ในยุค Digitization หรือ Disruptive Technology ทำให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี เข้ามาเปลี่ยนธุรกิจที่ขายสินค้าหรือให้บริการแบบเดิมๆต้องตายไป หรือหายไปจากตลาด หลงเหลือไว้ตามพิพิธภัณฑ์
เราจึงต้องมองหาธุรกิจที่จัดหา
สินค้าหรือบริการแบบใหม่ๆที่ไป Disrupt สินค้าหรือบริการแบบเก่าๆ
เช่น ขาย App เปลี่ยนชุดโดยใช้เทคโนโลยี AR: Augmented Reality ให้กับร้านขายเสื้อผ้า เพื่อให้ลูกค้าของเขาสามารถลองชุดต่างๆผ่านมือถือได้
หรือสินค้าหรือบริการแบบเก่าก็ได้ แต่ต้องไม่มีสินค้าหรือบริการแบบใหม่ มา Disrupt ได้ เช่น ผลิตอาหาร (ยังงัยผู้คนต้องกินอาหาร) หรือเป็นผู้ผลิตปัจจัยสี่ แต่ให้รู้จักใช้เทคโนโลยี
- เพิ่มช่องทางการขาย Advance Sale Channel
- เสริมแกร่งความสัมพันธ์กับลูกค้า Enhance Customer Relationship
2. อย่าทำตามกระแส
บางที เราวิ่งหาไอเดีย Mega Trends แล้วหลงทำตามกระแส ตรงนี้ต้องระวัง
การทำกิจการ/ธุรกิจตามกระแส คือ การเห็นกลุ่มผู้คนกลุ่มแรกๆทำธุรกิจแบบนี้แล้วประสบความสำเร็จ จึงมีกลุ่มผู้คนจำนวนมาก แห่ตามกันไปทำธุรกิจแบบเดียวนี้ จนเกิด Over Supply ส่งผลให้ผู้คนกลุ่มหลังๆ ขาดทุนยับ
ณ สภาพตลาดแบบนั้น เมื่อมีผู้ประกอบการจำนวนมาก จึงเกิดการแข่งขัน สู้รบกันอย่างรุนแรง เปรียบเสมือน ทะเลเลือด Red Ocean
ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมคนไทย บริโภคกาแฟสดมากขึ้น จึงมีผู้คนจำนวนมาก แห่กันไป เปิดร้านกาแฟ อันที่จริงจะมีผู้รอด แต่จากการแข่งขัน สู้รบ ย่อมเกิดความเสียหาย ทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ
ข้อเสียการทำธุรกิจตามกระแส
- มีการแข่งขันสูง และเราอาจเป็นผู้แพ้ (ขาดทุนยับ)
- มักจะมีขาใหญ่ (ทุนหนา มืออาชีพ) เข้ามาแข่งขันด้วย
- แม้วันนี้คุณจะเป็นผู้ชนะ แต่ไม่ได้การันตีว่า วันพรุ่งนี้คุณจะเป็นผู้ชนะต่อไป
3. Repeatable & Scalable
คำว่า Repeatable คือการซื้อซ้ำ หรือว่าจ้างซ้ำ ของลูกค้า
กิจการหรือธุรกิจใดๆ ที่พึ่งก่อตั้งขึ้นมา เมื่อเกิดการซื้อซ้ำ หรือว่าจ้างซ้ำ
ในเบื้องต้น ถือว่ากิจการหรือธุรกิจนั้นรอดแล้ว Business survived
แต่ว่า จะมีกำไรมาก มีกำไรน้อย หรือขาดทุน เป็นเรื่องที่ต้องจัดการต่อไป
ถ้าไอเดียธุรกิจนั้นเกิด Repeatable แล้ว แสดงว่าอยู่ในระดับ SME แล้ว
คือเป็นธุรกิจ ที่ต้องพยายามทำกำไร และรักษาความยั่งยืนต่อไป
Scalable บ่งบอกถึงความแตกต่างว่าธุรกิจนั้น เป็น SME หรือ Startup
ถ้าทำได้แค่ Repeatable เท่านั้น ก็เป็นได้แค่ SME
แต่ถ้าทำได้ทั้ง Repeatable & Scalable ด้วย แสดงว่าธุรกิจนั้นเป็น Startup
Scalable คือการขยายขนาดธุรกิจได้ โดยการเพิ่มฐานลูกค้า เช่น การเพิ่มช่องทางการขาย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น DoHome เคยเป็นร้านขายวัสดุก่อสร้างที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วเริ่มสร้างระบบสาขา และเปลี่ยนมาเป็นมหาชน
คำว่า Scalable ทำให้ธุรกิจ Startup กลายเป็น Unicorn ได้
Unicorn หมายถึง บริษัทเปิดใหม่ที่มีมูลค่าบริษัทเกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกิน 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งประเทศไทยยังไม่มี Unicorn เลย
หากสินค้าและบริการของธุรกิจเรา ไม่ได้จำกัดแค่ลูกค้าที่เป็นคนไทย แต่สามารถขายสินค้าและบริการนี้ได้ทั่วโลก โดยการเพิ่มช่องทางการขาย เช่น ผลิตช็อคโกแลต เป็นขนมสากลกินได้ทุกประเทศ ก็จะเกิดคำว่า Scalable
การคิดใหญ่ มองไกล ก็เป็นเรื่องดี
แต่ถ้าไม่เริ่มก้าวแรกสักที รอให้ครบทุกเงื่อนไข ก็จะเสียโอกาส หรือไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ของจริงเลย
ขอให้ท่านผู้อ่าน จงประสบความสำเร็จในสิ่งที่วางแผนไว้ สู้ๆ นะครับ
1
สนใจการสร้างรายได้ในแบบต่างๆ
โปรดติดตาม รายได้หลายช่องทาง EP ต่อไป
ได้ที่ Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา