16 ต.ค. 2019 เวลา 05:18 • ประวัติศาสตร์
กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) กำแพงแห่งการแบ่งแยกเยอรมนี ตอนที่ 2
ความขัดแย้งของสองขั้วอำนาจในเยอรมนี
ภายหลังสงคราม เยอรมนีกลายเป็นชาติที่เรียกได้ว่าเกือบจะล่มสลาย
เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วนและถูกควบคุมโดยมหาอำนาจสี่ชาติ
1.สหรัฐอเมริกา 2.สหราชอาณาจักร 3.ฝรั่งเศส 4.สหภาพโซเวียต
1
เยอรมนีตะวันออกไปอยู่กับสหภาพโซเวียต ส่วนเยอรมนีตะวันตกได้ตกไปอยู่กับอีกสามชาติที่เหลือ
ถึงแม้ว่าเบอร์ลินจะอยู่ในเยอรมนีตะวันออก และอยู่ไกลจากฝากตะวันตกกว่า 100 ไมล์ แต่เมืองนี้ก็ตกอยู่ในความสนใจของทั้งสี่ชาติ
เบอร์ลินในวันเก่า
ชาวเบอร์ลินตะวันตกกว่า 2.2 ล้านคนอยู่ข้างหนึ่ง ส่วนชาวเบอร์ลินตะวันออกอยู่อีกด้านโดยมีประตูบรันเดินบวร์คเป็นจุดกึ่งกลาง
1
ประตูบรันเดินบวร์ค (Brandenburg Gate)
ชาติมหาอำนาจทั้งสี่ตกลงกันว่าแต่ละประเทศที่ควบคุมจะมีอิสระ ชาวเบอร์ลินและทหารแต่ละชาติสามารถเดินทางไปทั่วเยอรมนีได้อย่างเสรี
ในระหว่างสงคราม สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสได้จับมือกับสหภาพโซเวียตต่อสู้กับนาซี แต่ภายหลังสงคราม สหภาพโซเวียตก็เริ่มจะขัดแย้งกับชาติมหาอำนาจที่เหลือ
5
แต่สองชาติที่เขม่นกันมากที่สุดและเข้ากันไม่ได้เลยคือสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา
สาเหตุก็มาจากสหภาพโซเวียตเป็นชาติคอมมิวนิสต์ ส่วนชาติมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเป็นชาติประชาธิปไตย
1
สหภาพโซเวียตปกครองด้วยระบอบเผด็จการ ผู้นำมีอำนาจแทบจะ 100% และการวิจารณ์ภาครัฐก็เป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ส่วนมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ เป็นขาติประชาธิปไตย การเลือกตั้งก็เป็นการเลือกตั้งเสรี ประชาชนสามารถเลือกผู้แทนเองได้ รวมทั้งสามารถวิพากษ์วิจารณ์ภาครัฐได้อย่างอิสระ
สองชาติที่เป็นพันธมิตรกันในยามสงคราม เวลานี้เปรียบเหมือนลิ้นกับฟัน สหภาพโซเวียตคือชาติในยุโรปตะวันออกที่เปลี่ยนไปใช้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์
ภายในปีค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) อาณาเขตของสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกาในเยอรมนีก็ได้รวมกันเป็นหนึ่ง ซึ่งต่อมาภายหลังคือเยอรมนีตะวันตก ซึ่งการรวมกันเป็นเยอรมนีตะวันตกของทั้งสามชาติก็ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่สหภาพโซเวียต
เยอรมนีตะวันตกใหญ่กว่าเยอรมนีตะวันออกกว่าเท่าตัว
ภาพแสดงอาณาเขตของแต่ละชาติในเยอรมนี
สหรัฐอเมริกาเริ่มสนับสนุนเงินทุนกว่าพันล้านดอลลาร์ ช่วยเหลือเยอรมนีตะวันตกในการฟื้นฟูประเทศ ซึ่งสหรัฐอเมริกามองว่าการที่จะให้เยอรมนีตะวันตกฟื้นตัวและยืนหยัดต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีตะวันออกเป็นเรื่องสำคัญ
แต่สหภาพโซเวียตไม่ต้องการให้สหรัฐอเมริกาทำเช่นนั้น สหภาพโซเวียตไม่ต้องการให้เยอรมนี ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนก็ตามได้รับความช่วยเหลือ เนื่องจากเยอรมนีเป็นชาติที่เริ่มสงคราม อีกทั้งต้องการจะผูกขาดอำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่ต้องการการแทรกแซงจากสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตจึงปิดเยอรมนีตะวันออก รวมทั้งชาติคอมมิวนิสต์อื่นๆ ในยุโรป ไม่อนุญาตให้รับเงินช่วยเหลือ
ความเกลียดชังระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเริ่มฝังรากลึกลงเรื่อยๆ
1
ในขณะที่เบอร์ลิน ชีวิตผู้คนเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สถานีรถไฟต่างๆ เริ่มเปิดใช้งาน ถนนและสะพานหลายๆ แห่งก็มีการซ่อมแซมและกลับมาใช้งานเช่นเดิม
แต่ดูเหมือนเบอร์ลินตะวันตกจะเจริญได้รวดเร็วกว่าเบอร์ลินตะวันออกมากเนื่องจากการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาและอีกสามชาติ
ความเจริญอย่างรวดเร็วของเบอร์ลินตะวันตกสร้างความไม่พอใจแก่สหภาพโซเวียตเป็นอย่างมาก และสหภาพโซเวียตก็เริ่มจะหมดความอดทน
โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ผู้นำสหภาพโซเวียตได้กล่าวว่าหากเยอรมนีจะแบ่งประเทศเป็นสอง เบอร์ลินก็จะไม่ใช่เมืองหลวงของเยอรมนีอีกต่อไป
3
ในเมื่อเบอร์ลินอยู่ในเยอรมนีตะวันออก เบอร์ลินก็ควรจะอยู่ในความควบคุมของสหภาพโซเวียต
2
โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin)
24 มิถุนายน ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) สหภาพโซเวียตได้ทำการปิดทางเข้าเบอร์ลินตะวันตกทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถยนต์ หรือเรือจะเข้าสู่เบอร์ลินตะวันตกไม่ได้
แผนการของโซเวียตคือปิดทุกทางเข้าของเบอร์ลินตะวันตก และไม่นาน เมื่อเสบียงในเบอร์ลินตะวันตกหมด ผู้คนหิวโหย มหาอำนาจตะวันตกทั้งสามชาติ ได้แก่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสก็ต้องถอยออกจากเมือง
แต่อย่าคิดว่าชาติทั้งสามจะยอมง่ายๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาไม่ยอมแพ้ง่ายๆ และมีวิธีการแก้เกมที่เหนือชั้นกว่าสหภาพโซเวียต
1
สหรัฐอเมริกาจะทำอย่างไร ติดตามต่อในตอนหน้านะครับ บทนี้อาจจะสั้นไปนิดนึง แต่ตอนหน้าที่จะมาพรุ่งนี้จะยาวกว่านี้แน่นอนครับ
ฝากติดตามด้วยนะครับ
โฆษณา