Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
17 ต.ค. 2019 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) กำแพงแห่งการแบ่งแยกเยอรมนี ตอนที่ 3
จุดเริ่ม “สงครามเย็น”
ภายหลังจากเยอรมนีตะวันออกทำการปิดทางเข้าออกเบอร์ลินตะวันตก โดยหวังจะให้ประชาชนในเบอร์ลินตะวันตกขาดเสบียง และสุดท้ายมหาอำนาจตะวันตกต้องยอมถอยไปเอง
9
แต่มหาอำนาจตะวันตกไม่ยอมแพ้ และได้ทำการตอบโต้ด้วยปฏิบัติการที่เรียกว่า “Berlin Airlift”
Berlin Airlift คือการที่มหาอำนาจตะวันตกให้การช่วยเหลือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเบอร์ลินตะวันตกด้วยการส่งเครื่องบินที่เต็มไปด้วยเสบียง และส่งให้เบอร์ลินตะวันตกทุกๆ นาทีตลอด 24 ชั่วโมง
4
เครื่องบินบางลำที่มาส่งเสบียงนั้นบินต่ำมากจนเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินและประชาชนบนพื้นดินสามารถโบกมือให้กันได้ และนักบินก็จะทำการโยนขนมหวาน ลูกกวาดให้เด็กๆ ชาวเบอร์ลินตะวันตกด้วยการผูกขนมกับผ้าเช็ดหน้าและโยนลงมาให้เด็กๆ
1
ปฏิบัติการ Berlin Airlift ได้ส่งเสบียงไปกว่า 8,000 ตันในแต่ละวัน
แต่ถึงอย่างนั้น ในระหว่างการปิดทางเข้าออก อาหาร น้ำมัน และไฟฟ้าในเบอร์ลินตะวันตกนั้นก็มีใช้อย่างจำกัดจำเขี่ย ประชาชนถูกจำกัดปริมาณในการใช้สิ่งจำเป็นต่างๆ เหล่านี้ ถึงแม้สหรัฐอเมริกาและชาติมหาอำนาจที่เหลือจะคอยช่วยส่งเสบียงให้ทุกวัน แต่ทรัพยากรก็ยังคงมีจำกัดและต้องใช้อย่างระมัดระวัง
2
ในเวลานั้นผลไม้และผักสดต่างเป็นสิ่งที่หายาก และสหภาพโซเวียตก็ใช้โอกาสที่ประชาชนกำลังอดอยาก เสนอว่าหากประชาชนจากเบอร์ลินตะวันตกคนไหนข้ามมาเบอร์ลินตะวันออก ก็จะได้รับอาหารและของใช้จำเป็นจากรัฐบาล
แต่ถึงอย่างนั้น ชาวเบอร์ลินตะวันตกต่างก็ปฏิเสธที่จะข้ามไป
ถึงแม้ปฏิบัติการ Berlin Airlift จะช่วยทำให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกมีอาหารและของใช้จำเป็นได้มากพอสมควร แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกอย่าง
อีกไม่นานจะถึงฤดูหนาว ความต้องการใช้ถ่านหินของประชาชนจะต้องเพิ่มขึ้นมาก แต่ว่าสนามบินจำนวนสองแห่งในเบอร์ลินตะวันตกไม่สามารถรองรับและจัดการกับปริมาณถ่านหินที่มากมายมหาศาลได้
สิงหาคม ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) ได้เริ่มมีการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ในเบอร์ลินตะวันตก นั่นคือ “ท่าอากาศยานเบอร์ลินเทเกิล (Berlin Tegel Airport)” โดยมีคนงานชาวเบอร์ลินตะวันตกราวๆ 19,000 คนเป็นผู้ก่อสร้าง และในบรรดาคนงาน กว่า 40% เป็นผู้หญิง
2
เหล่าคนงานนั้นมีทั้งศาสตราจารย์ พนักงานบริษัท นักวิทยาศาสตร์ และทุกคนก็กำลังทำงานแข่งกับเวลา
ท่าอากาศยานเบอร์ลินเทเกิลระหว่างการก่อสร้าง
ในที่สุด เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) ท่าอากาศยานเบอร์ลินเทเกิลก็ได้เปิดทำการและเริ่มทำการเปิดรับเครื่องบินขนส่งลำแรก
2
ในระหว่างปิดทางเข้าออกเบอร์ลินตะวันตก กองทัพโซเวียตทั้งในและนอกเบอร์ลินนั้นมีจำนวนมากกว่ากองทัพมหาอำนาจตะวันตกถึง 60 ต่อ 1 ทำให้เบอร์ลินตะวันตกกลัวจะถูกรุกราน
แต่นับเป็นโชคดีที่ไม่เคยมีการรุกราน สหภาพโซเวียตไม่อยากจะเสี่ยงทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะเมื่อสหภาพโซเวียตเห็นถึงแสนยานุภาพของระเบิดปรมาณูที่สหรัฐอเมริกาทิ้งใส่ญี่ปุ่นในคราวสงครามโลกครั้งที่ 2
5
12 พฤษภาคม ค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) ภายหลังทำการปิดทางเข้าออกเบอร์ลินตะวันตกเกือบหนึ่งปี สหภาพโซเวียตก็ได้ยุติการปิดทางเข้าออกเบอร์ลินตะวันตก และในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) “สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany)” หรือฝั่งเยอรมนีตะวันตกก็ได้ถือกำเนิดขึ้น ในขณะที่ “ประเทศเยอรมนีตะวันออก (German Democratic Republic)” ก็ได้กำเนิดอย่างเป็นทางการ
2
หนังสือพิมพ์ลงข่าวการยุติการปิดทางเข้าออกเบอร์ลินตะวันตก
ในเวลานี้ เยอรมนีถูกแบ่งแยกออกเป็นสองอย่างสมบูรณ์แล้ว คอมมิวนิสต์และประชาธิปไตยในเยอรมนีได้แยกออกจากกันอย่างสมบูรณ์
สงครามเย็นได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว
สงครามเย็นนั้นเป็นสงครามแบบใหม่ ไม่มีการสู้รบกันจริงๆ แต่เป็นสงครามทางความคิด สงครามระหว่างคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตย และไม่มีใครอยากก่อสงครามกับสหรัฐอเมริกา ไม่มีใครอยากเริ่มหากสหรัฐอเมริกามีระเบิดปรมาณูและนิวเคลียร์อยู่ในมือ
สิงหาคม ค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) สหภาพโซเวียตได้ทดลองระเบิดปรมาณูลูกแรก และก็เช่นเดียวกับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของสหรัฐอเมริกา การทดลองของโซเวียตนั้นเป็นความลับ
3
การทดลองระเบิดปรมาณูของสหภาพโซเวียตได้ทำการทดลองยังสถานที่ห่างไกลและการทดลองก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
3
การทดลองระเบิดปรมาณู RDS-1 ระเบิดปรมาณูลูกแรกของสหภาพโซเวียต
youtube.com
RDS-1 (Joe-1) Atomic Bomb
RDS-1 (Russian: РДС-1), also known as Izdeliye 501 (device 501) and First Lightning (Первая молния) was USSR’s first nuclear bomb. The United States named th...
นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันกันสะสมอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
เมื่อสหรัฐอเมริกาเห็นถึงความสำเร็จของระเบิดปรมาณูลูกแรกของสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาก็นั่งไม่ติด
ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน (Harry Truman) แห่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกคำสั่งให้พัฒนาระเบิดลูกใหม่ที่ใหญ่กว่าของสหภาพโซเวียต
1
นั่นคือ “ระเบิดไฮโดรเจน”
1
แฮร์รี ทรูแมน (Harry Truman)
ระเบิดไฮโดรเจนนั้นมีอานุภาพร้ายแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่สหรัฐอเมริกาทิ้งใส่ฮิโรชิม่าและนางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง 1,500 เท่า
2
ค.ศ.1952 (พ.ศ.2495) สหรัฐอเมริกาได้ทำการทดลองระเบิดไฮโดรเจนลูกแรกในมหาสมุทรแปซิฟิก นั่นคือระเบิด “Ivy Mike”
1
Ivy Mike
youtube.com
Ivy Mike Countdown and detonation
On October 31, 1952, the United States tested the first hydrogen device called Ivy Mike (for Megaton). Mike detonated with a yield over 10 megatons in this n...
สหภาพโซเวียตก็ไม่ยอมน้อยหน้า อีกสามปีต่อมา สหภาพโซเวียตก็ได้ทำการทดลองระเบิดไฮโดนเจนเป็นของตนเองสำเร็จ
2
ในเวลานี้ ทั้งสองฝั่งต่างสามารถทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามให้หายไปจากแผนที่โลกได้เลย ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นฝ่ายเปิดก่อนล่ะ?
ในช่วงสงครามเย็นนี้เอง ทางตะวันออกของกำแพงเบอร์ลินนั้นคือเหล่าประเทศที่อยู่ใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ซึ่งกินพื้นที่ตั้งแต่โปแลนด์ถึงบัลแกเรีย และเรียกว่า “กลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc)”
ประชาชนในประเทศเหล่านี้ส่วนมากไม่พอใจกับการถูกปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
ภายในปีค.ศ.1950 (พ.ศ.2493) ประชาชนในประเทศเหล่านี้กว่า 15 ล้านคนก็ได้อพยพไปทางตะวันตก ซึ่งประเทศซึ่งอยู่ใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตก็ได้ทำการป้องกันโดยการคุ้มกันเขตชายแดนอย่างหนาแน่นเข้มงวด
ระหว่างค.ศ.1949-1961 (พ.ศ.2492-2504) เกือบ 20% ของประชากรเยอรมนีตะวันออก หรือราวๆ สามล้านคน ได้หนีออกจากเยอรมนีตะวันออก
2
เหล่าผู้อพยพจากเยอรมนีตะวันออกส่วนมากเป็นคนหนุ่มสาวและกลุ่มคนที่มีการศึกษา มีความรู้ ความสามารถ เช่นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์
รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกเริ่มจะตระหนักว่าตนเองนั้นกำลังสูญเสียบุคลากรที่เป็นระดับมันสมองของประเทศ
บุคลากรคุณภาพเหล่านี้ต่างหนีออกจากเยอรมนีตะวันออกโดยการเข้าไปในเบอร์ลินตะวันตก
หากภาวะ “สมองไหล” อย่างนี้ยังคงดำเนินต่อไป เยอรมนีตะวันออกจะไม่มีทางประสบความสำเร็จและยิ่งใหญ่แน่
เยอรมนีตะวันออกจะทำอย่างไรต่อไป
1
ติดตามคำตอบในตอนหน้านะครับ
References:
https://www.history.com/topics/cold-war/berlin-airlift
https://www.britannica.com/event/Berlin-blockade
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Berlin_Tegel_Airport
https://www.history.com/this-day-in-history/federal-republic-of-germany-is-established
https://en.m.wikipedia.org/wiki/German_reunification
https://www.history.com/topics/cold-war/cold-war-history#section_2
https://www.britannica.com/event/Cold-War
https://www.ctbto.org/specials/testing-times/29-august-1949-first-soviet-nuclear-test
https://www.ctbto.org/specials/testing-times/1-november-1952-ivy-mike
https://www.worldatlas.com/articles/what-was-the-eastern-bloc.html
1
52 บันทึก
235
12
22
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) กำแพงแห่งการแบ่งแยกเยอรมนี
52
235
12
22
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย