2 พ.ย. 2019 เวลา 05:00 • กีฬา
NBA 102 - ทำความรู้จักกับระบบสถิติของ NBA (ตอนที่ 5) - Stats หมวด Player (4)
ต่อจากตอนที่แล้ว บทความนี้จะพาคุณผู้อ่านไปดูรายละเอียดของค่าสถิติหมวดผู้เล่น แบบ "ส่วนบุคคล" กันต่อครับ
ระบบสถิติของ NBA (ตอนที่ 5)
ตอนที่แล้วจะเป็นในส่วนของประวัติผู้เล่นโดยสังเขป และสถิติทั่วไป
พอเลื่อนลงมาแล้วจะเริ่มเจอกับค่าสถิติในเชิงอื่นๆ มากขึ้น เริ่มจาก Advance Stats
ตัวอย่าง Stats ส่วนบุคคล 3
ค่าสถิติที่จะมาขยายความ จะขอยกมาเฉพาะค่าที่ยังไม่เคยอธิบายมาก่อนนะครับ
OFFRTG/DEFRTG/NETRTG - รายละเอียดของสามค่านี้เคยอธิบายไปแล้วในส่วนของ Power Rankings
เพียงแต่ส่วนนี้จะเป็นเฉพาะของผู้เล่นคนนั้น ไม่ใช่ของทั้งทีม
Assist Percentage (AST%) - อัตราส่วนโดยประมาณที่เพื่อนร่วมทีมจะทำคะแนนได้จากการ Assist ของผู้เล่นคนนั้น
เป็นค่าสถิติที่บอกว่า ในการขึ้นเกมบุกของทีม อัตราการจ่ายบอลของผู้เล่นคนนั้นจะสามารถกลายเป็น Assist เมื่อเพื่อนทำคะแนนได้ ในอัตรากี่ %
ตัวอย่าง เช่น ถ้ามี AST% = 50.0 หมายความว่า การจ่ายบอลของผู้เล่น A จะทำให้เพื่อนร่วมทีมมีโอกาสทำคะแนนได้ (และการจ่ายดังกล่าวจะเป็น Assist) 50% จากการจ่ายบอลทั้งหมดของผู้เล่น A
Assist to Turnover Ratio (AST/TO) - อัตราส่วนในการทำ Assist ต่อการเสีย TO 1 ครั้งของผู้เล่น
เป็นค่าสถิติที่บอกว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้เล่นจะทำ Assist ได้กี่ครั้ง ถ้าเทียบกับการเสีย Turnover 1 ครั้ง ซึ่งจะนำมาเทียบกันเป็นอัตราส่วน
ตัวอย่าง เช่น ถ้ามี AST/TO = 2.0 หมายความว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้เล่นจะทำ Assist ได้ 2 ครั้ง ต่อการเสีย Turnover 1 ครั้ง
Assist Ratio (AST Ratio) - อัตราส่วนโดยเฉลี่ยในการทำ Assist ของผู้เล่น ต่อการขึ้นเกมบุก 100 ครั้ง
เป็นค่าสถิติที่บอกว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ทุกการขึ้นเกมบุก 100 ครั้งของทีม ผู้เล่นคนนั้นจะสามารถทำ Assist ได้ในอัตรากี่ %
Offensive Rebounding Percentage (OREB%) - อัตราส่วนการสร้างโอกาสในการ Rebound ของผู้เล่นในขณะที่ทีมเป็นฝ่ายขึ้นเกมบุก
Defensive Rebounding Percentage (DREB%) - อัตราส่วนการสร้างโอกาสในการ Rebound ของผู้เล่นในขณะที่เป็นฝ่ายตั้งรับ
ขอเอาสองค่านี้มารวมไว้ด้วยกัน เพราะมีความคล้ายคลึงกัน แค่สลับฝั่งบุก/ฝั่งรับ
โดยปกติแล้ว การ Rebound จะเกิดขึ้นได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
-ลูกออกนอกสนาม (Out of Bounds) จะถือเป็น Rebound ของฝ่ายรับ
-ลูกกระแทกผู้เล่นฝ่ายรับและออกนอกสนามโดยที่ไม่สามารถเก็บลูกได้ จะถือเป็น Rebound ของฝ่ายบุก (ถือเป็น Team Rebound)
-ลูกกระแทกผู้เล่นฝ่ายบุกและออกนอกสนามโดยที่ไม่สามารถเก็บลูกได้ จะถือเป็น Rebound ของฝ่ายรับ (ถือเป็น Team Rebound)
-ผู้เล่นฝ่ายรับทำการรับลูกได้ ถือเป็น Rebound ของฝ่ายรับ
-ผู้เล่นฝ่ายขึ้นเกมบุกทำการรับลูกได้ ถือเป็น Rebound ของฝ่ายบุก
ค่าสถิติดังกล่าว จะเป็นค่าสถิติที่บอกว่า ผู้เล่นคนนั้นจะมีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสในการ Rebound ทั้งฝั่งที่ขึ้นเกมบุก และฝั่งตั้งรับ คิดเป็นอัตรากี่ % ของการสร้างโอกาสในการ Rebound ทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง เช่น ผู้เล่น A มี OREB% = 10.0 หมายความว่า เมื่อเกิดการ Rebound ผู้เล่น A จะมีโอกาส 10% ในการมีส่วนร่วมที่จะสร้างโอกาสในการ Rebound ของฝ่ายบุกได้สำเร็จ
หรือถ้าตีความอีกมุมหนึ่ง คือ ทุกการยิงพลาดของทีม 10 ครั้ง จะมี 1 ครั้ง ที่ Rebound เกมบุกได้สำเร็จ และทำการสร้างโอกาสในการขึ้นเกมบุกได้อย่างต่อเนื่อง
Rebounding Percentage (REB%) - อัตราส่วนโดยประมาณที่ผู้เล่นจะทำการ Rebound ได้
เป็นค่าสถิติที่บอกว่า เมื่อเกิดการ Rebound ขึ้น อัตราที่ผู้เล่นคนนั้นจะทำการ Rebound ได้ คิดเป็นกี่ % ของผู้เล่นทั้งทีม (ไม่นับ Team Rebound)
Turnover Ratio (TO Ratio) - อัตราส่วนโดยเฉลี่ยในการทำ Turnover ของผู้เล่น ต่อการขึ้นเกมบุก 100 ครั้ง
เป็นค่าสถิติที่บอกว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ทุกการขึ้นเกมบุก 100 ครั้งของทีม ผู้เล่นคนนั้นจะมีโอกาสในการทำ Turnover ในอัตรากี่ %
Effective Field Goal Percentage (EFG%) - อัตราส่วนของความแม่นยำในการยิงลูกที่สามารถทำคะแนนได้ในเชิงละเอียด
เป็นค่าสถิติที่ต่อยอดจาก FG% อีกทอดหนึ่ง กล่าวคือ FG% จะรวมทั้งการยิง 2 แต้มและการยิง 3 แต้มเข้าด้วยกัน โดยให้น้ำหนักที่เท่ากัน
ตัวอย่าง เช่น ทำการยิง 10 ลูก ลง 5 ลูก โดยเป็นการยิง 2 แต้มได้ 3 ลูก ยิง 3 แต้มได้ 2 ลูก ผู้เล่นจะมี FG% = 50
แต่ EFG% จะให้น้ำหนักไม่เท่ากัน โดยจะให้น้ำหนักในการยิง 3 แต้มมากกว่าการยิง 2 แต้ม เป็นจำนวน 1.5 เท่า หรือคิดตามคะแนนที่ควรจะได้อย่างแท้จริง ทำให้บางครั้ง ถ้าผู้เล่นยิงจากระยะ 3 แต้มได้มาก จะทำให้ EFG% สูงกว่า FG% ก็เป็นได้
ตัวอย่าง เช่น ทำการยิง 10 ลูก ลง 5 ลูก โดยเป็นการยิง 2 แต้มได้ 3 ลูก ยิง 3 แต้มได้ 2 ลูก ผู้เล่นจะมี EFG% = 60%
ค่าสถิติอื่นๆ อย่าง TS% / USG% / PIE ได้ทำการอธิบายไปแล้วในตอนก่อนหน้านี้ ส่วน PACE เคยอธิบายไปแล้วในส่วนของ Power Rankings เพียงแต่ส่วนนี้จะเป็นเฉพาะของผู้เล่นคนนั้น ไม่ใช่ของทั้งทีม
ส่วนต่อมาเป็นส่วนของ Miscellaneous Stats
ตัวอย่าง Stats ส่วนบุคคล 4
Points off Turnovers (PTS OFF TO) - จำนวนแต้มที่ผู้เล่นทำได้จากการ Turnover ของฝ่ายตรงข้ามโดยเฉลี่ยต่อเกม
เป็นค่าสถิติที่บอกว่า โดยเฉลี่ยแล้วใน 1 เกม ถ้ามีการ Turnover เกิดขึ้น ผู้เล่นคนนั้นจะทำแต้มจากโอกาสนั้นได้จำนวนกี่แต้ม
2ND PTS / FBPS / PITP ได้อธิบายไปแล้วในตอนก่อนหน้านี้
OPP PTS OFF TO / OPP 2ND PTS / OPP FBPS / OPP PITP - ค่าสถิติเหล่านี้จะมีความหมายเหมือนกัน แต่จะเป็นของฝ่ายตรงข้ามที่ทำได้ ในขณะที่ผู้เล่นคนนั้นอยู่ในสนาม
ตัวอย่าง เช่น ถ้าผู้เล่นมี OPP PTS OFF TO = 10.0 หมายความว่า โดยเฉลี่ยแล้ว 1 เกม ถ้าทีมเรามีการ Turnover เกิดขึ้น โดยที่มีผู้เล่นคนนี้อยู่ในสนาม ทีมจะเสีย 10 แต้มจากโอกาสลักษณะนี้
Blocks Against (ฺBLKA) -จำนวนครั้งที่ผู้เล่นทำการยิงลูกแล้วถูก Block โดยเฉลี่ยต่อเกม
เป็นค่าสถิติที่บอกว่า โดยเฉลี่ยแล้ว 1 เกม เมื่อผู้เล่นทำการยิงลูกเพื่อทำคะแนน จะมีโอกาสโดน Block ได้กี่ครั้ง
Personal Fouls Drawn (PFD) - จำนวนครั้งที่ผู้เล่นคนนั้นจะถูกทำ Foul โดยเฉลี่ยต่อเกม
เป็นค่าสถิติที่บอกว่า โดยเฉลี่ยแล้ว 1 เกม ผู้เล่นคนนั้นจะถูกฝ่ายตรงข้ามทำ Foul กี่ครั้ง
ค่าสถิติอื่นๆ อย่าง BLK / PF ได้อธิบายไปแล้วในตอนก่อนหน้านี้
ค่าสถิติในหมวดหลังจากนี้ จะเป็นการนำค่าสถิติต่างๆ ของผู้เล่นมาวัดเป็น % ในการประมาณโอกาสที่จะเกิดขึ้นจริงในสนาม จึงจะขอพูดแค่ในภาพรวมเท่านั้น
Scoring Stats
ตัวอย่าง Stats ส่วนบุคคล 5
จากการที่เพิ่ม % เข้ามา เป็นการประมาณการว่า ในการทำแต้มของผู้เล่นคนนั้น จะเกิดโอกาสในการทำแต้มแบบต่างๆ มากน้อยขนาดไหน รวมไปถึงการทำแต้มของฝ่ายตรงข้ามในขณะที่ผู้เล่นคนนั้นอยู่ในสนามด้วย
ค่าสถิติเกือบทั้งหมดจะอธิบายไว้แล้ว ยกเว้น UAST
Un-Assisted (UAST) - การทำแต้มหรือการเสียแต้มเมื่อไม่มีการ Assist เกิดขึ้น
ซึ่งจะตรงข้ามกับ Assisted (AST) ที่จะต้องมี Assist เกิดขึ้นก่อนเสมอ
Usage Stats
ตัวอย่าง Stats ส่วนบุคคล 6
หมวดนี้จะเป็นการขยายความว่า ถ้าผู้เล่นคนนั้นอยู่ในสนาม ทีมจะสร้างโอกาสต่างๆ ในการเล่นแบ่งเป็นกี่ %
ตัวอย่าง เช่น USG% หมายความว่าทีมจะมีโอกาสจบการขึ้นเกมบุกโดยใช้ผู้เล่นคนนั้นในอัตรากี่ % หรือ %FGM หมายความว่า ทีมจะมีโอกาสยิงลงและทำคะแนนได้เมื่อมีผู้เล่นคนนั้นอยู่ในสนามในอัตรากี่ % เป็นต้น
จบไปแล้วนะครับ สำหรับการอธิบายค่าสถิติในหมวดของ "ผู้เล่น"
ถึงแม้ว่าจริงๆ แล้วจะมีรายละเอียดยิบย่อยลงไปอีกบ้าง แต่คุณผู้อ่านสามารถนำค่าสถิติต่างๆ ที่ได้อธิบายไปในการอ้างอิงได้ครับ
ในส่วนของค่าสถิติในหมวด "ทีม" จะนำเสนอในตอนต่อไปครับ
ถ้าชอบบทความ รบกวนฝาก Share และกดติดตามด้วยนะครับ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ
BombWalkerz
ขอบคุณข้อมูลจาก
โฆษณา