19 ต.ค. 2019 เวลา 02:09 • การศึกษา
ความลับของ "Silicon Valley" ( final part)
ทำไมผู้ก่อตั้งบริษัทเขย่าโลกในย่านนี้ส่วนใหญ่เป็นคนเอเชียเกือบทั้งสิ้น
แล้วทำไมประเทศในเอเชียหลายประเทศที่พยายามสร้าง Smart City และย่านแบบเดียวกับ Silicon Valley จึงไม่สามารถสร้างปรากฏการณ์ในระดับเดียวกันได้ ทั้งๆ ที่มีคนเก่งจำนวนมากเป็นวัตถุดิบ
Steve Jobs บนผนังในค่ายเรฟูจี จากซีเรีย ที่มาภาพ : www.macworld.co.uk
นอกจากนี้ หากมองจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว เมืองใหม่ๆ ในเอเชียก็มีตึกอาคารหรูทันสมัย มีอุปกรณ์อัตโนมัติที่ฉลาดกว่ากลุ่มอาคารออฟฟิศชั้นเดียวใน Silicon Valley มาก
เมืองในเอเชียยังมีโครงสร้างรถไฟความเร็วสูงที่สะอาดและทันสมัย ในขณะที่ Silicon Valley มีเพียงรถไฟ Caltran และรถไฟฟ้า BART จากยุคอวกาศสมัย 1970 ที่ยังคงสภาพและกลิ่นเหมือนยานพาหนะของ Jabba the Hutt ในหนัง Star Wars
นอกจากนี้แล้ว เมืองใหม่ๆ ในเอเชียยังมีอินเทอร์เน็ตความเร็วที่สูงกว่า และกองทุน startup ที่พร้อมจะสนับสนุนเต็มที่
startup ในเอเชียไม่ได้ขาดกองทุนสนับสนุนนะครับ
แล้วทำไมเราไม่เห็นบริษัทที่สามารถคิดนอกกรอบแบบ Hotmail, YouTube หรือ Yahoo! รวมทั้ง eBay หรือ Apple เกิดขึ้นในสิงคโปร์หรือจีนบ้าง ทั้งๆ ที่ผู้ก่อตั้งเหล่านี้ล้วนเป็นคนที่มาจากกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกกลาง อินเดีย และจีนทั้งนั้น
โฉมหน้าบรรดาเหล่าผู้ก่อตั้งบริษัทระดับโลก
พ่อของ Steve Jobs เป็นคนซีเรีย ที่มาเรียนมหาวิทยาลัยในอเมริกา และได้ฝากลูกชายเป็นลูกบุญธรรมไว้กับครอบครัวในย่าน Silicon Valley ในขณะที่ Jerry Yang ผู้ก่อตั้ง Yahoo! (และผู้หนุนให้เกิด Alibaba) ก็มาเรียนในโรงเรียนเทศบาลในย่านนี้
ส่วน Pierre Morad Omidyar ผู้ก่อตั้ง eBay เป็นคนอิหร่าน ที่มาเรียนและเติบโตในอเมริกาตั้งแต่มัธยม
1
Steve Chen ผู้ก่อตั้ง YouTube มาจากไต้หวัน และมาโตในโรงเรียนเทศบาลตั้งแต่ชั้นมัธยม 4
และที่ขาดไม่ได้คือ Sabeer Bhatia จากอินเดีย ผู้ก่อตั้ง Hotmail ซึ่งมาเข้าโรงเรียนในรัฐแคลิฟอร์เนียตั้งแต่ปริญญาตรี
ทำไมคนเก่งเหล่านี้จึงมาเติบโตและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ กันที่ Silicon Valley
ทำไมพวกเขาไม่ทำกันในบ้านเกิด ในเอเชีย?
โรงเรียนเทศบาลชั้นดี (ฟรี)
ชมรมหุ่ยนต์ในโรงเรียนในเมืองย่านBay Area ที่มาภาพ : Recode.net
สิ่งที่รัฐบาลในเอเชียมักจะมองข้ามไปคือ จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในการสร้าง Silicon Valley ให้เกิดขึ้นได้
และนั่นคือการมีโรงเรียนเทศบาล (Public Schools) ที่คุณภาพดีมากๆ เพื่อป้อนคนเก่งรุ่นใหม่เข้าสู่ระบบ
1
Steve Jobs และ Steve Wozniak ก็เคยเรียนฟรีในโรงเรียนเทศบาลในย่านนี้ โรงเรียนเทศบาลของพวกเขามีชื่อว่า Homestead High School และทั้งสองก็ได้มีโอกาสรับรู้แนวคิดใหม่ๆ ในยุคนั้นจากชมรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากชมรมฝึกอาชีพซ่อมรถยนต์ ในหลักสูตรเทคนิค ที่นักเรียนสามารถเลือกลงได้ และในปัจจุบันได้เพิ่มสาขา Biotech และหุ่นยนต์เข้าไปด้วย
1
Steve Jobs (ขวาสุด) ในชมรมอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียน Homestead
สมัยเมื่อ 40 ปีที่แล้ว คนที่ชอบเรียนด้านเทคนิค ก็อาจจะเรียนวิชาซ่อมรถ หรือวิชาเขียนแบบ หรือเข้าชมรมอิเล็กทรอนิกส์ ผนวกไปกับวิชาที่เน้นทฤษฎีทั่วไปอย่างฟิสิกส์หรือเคมีไปด้วย
แต่ในสมัยนี้ คนที่ชอบมาทางด้านนี้จะเข้าไปเรียนหุ่นยนต์และ 3D Printing ในห้องเรียนที่เคยเป็นห้องสอนซ่อมรถ จะถูกปรับให้เป็นห้องที่มีแขนหุ่นยนต์ที่สามารถพิมพ์งาน prototype ออกมาโดยตรงจากคอมพิวเตอร์
นอกจากโรงเรียนเทศบาลแล้ว มหาวิยาลัยรัฐในย่านนี้ก็เป็นส่วนสำคัญในการส่งคนเก่งเข้าสู่ระบบ
เราจะสามารถพบมหาวิทยาลัยเทคนิคระดับโลกจำนวนมากรายล้อมย่าน Silicon Valley ที่พร้อมจะร่วมมือวิจัยกับ startup ใหม่ๆ
1
จากการสำรวจของบริษัท HiringSolved เราจะเห็นว่า มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ที่ป้อนคนเข้าสู่บริษัทต่างๆ ใน Silicon Valley คือมหาวิทยาลัยสาธารณะของรัฐ นอกจากนี้แล้ว 7 จาก 10 มหาวิทยาลัยอันดับสูงสุดล้วนเป็นมหาวิทยาลัยรัฐทั้งสิ้น
1
10 รายชื่อ มหาวิทยาลัย ที่สามารถส่งนักศึกษาเข้าไปทำงานใน silicon valley ได้มากที่สุด
เก็บภาษีเข้าเมือง (ไม่เข้าส่วนกลาง)
ขอบเขตพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้ปกครองสามารถนำเด็กเข้าโรงเรียนเทศบาล Homestead High School และอีกหลายโรงเรียนในย่านนี้ได้
เมื่อโรงเรียนเทศบาลมีคุณภาพดีแล้ว ผู้ปกครองจะดิ้นรนมาทำงาน และเช่าบ้านในย่านนั้นเอง (อสังหาริมทรัพย์และที่ดินก็จะขึ้นตาม)
สมมติว่า เราอยากจะเอาลูกเข้าโรงเรียนเทศบาล Homestead High School ที่ Steve Jobs เคยเรียน เราก็จะต้องอาศัยอยู่ในย่านที่ทางโรงเรียนเทศบาลกำหนดไว้
การทำเช่นนี้นอกจากจะเป็นการลดปัญหาการจราจรแล้ว ยังเป็นการชักจูงให้คนเก่งต้องเข้ามาทำงานในย่านนี้ด้วย เพราะถ้าไม่อยู่ในย่าน ลูกก็ไม่ได้เข้าโรงเรียน (ถึงจะรวยก็ “ฝาก” ไม่ได้ เพราะโรงเรียนฟรีอยู่แล้ว)
เมืองหลายเมืองจึงแข่งกันปรับปรุงโรงเรียนเทศบาลให้ดี เพื่อเป็นจุดขายในการดึงคนเก่งเข้ามาทำงานในเมือง
ครอบครัวที่อยู่ในวัยทำงาน มักจะยอมมาอยู่ในย่านที่แพง (แต่โรงเรียนดีและฟรี) มากกว่าที่จะไปอยู่ในย่านถูก (แต่โรงเรียนไม่ดี) ทำให้ต้องจ่ายค่าโรงเรียนเอกชน ซึ่งแพงกว่าค่าเช่าและค่าผ่อนบ้านมาก
ในย่าน Silicon Valley และในรัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐจะเก็บภาษีบ้านและคอนโดฯ ทุกปี โดยจะหักในอัตราปีละประมาณ 1.1-1.6% (ขึ้นอยู่กับเมือง) และเงินนี้ไม่ได้เข้า “ส่วนกลาง” ของประเทศนะครับ แต่เข้าไปที่เมืองๆ นั้น เอาไว้ไปสร้างโรงเรียน สร้างห้องสมุดสาธารณะ และลานกีฬาต่างๆ
ดังนั้น ถ้าเมืองไหนสามารถดึงคนเก่งเข้ามาทำงานได้มาก เมืองนั้นก็จะสามารถสร้างฐานการเงินเพื่อสร้างโรงเรียนและสร้างคนเก่งรุ่นต่อไปได้เรื่อยๆ
1
เด็กนักเรียนที่จนหรือมีฐานะปานกลาง แต่มีแนวคิดใหม่ๆ ก็ยังสามารถเข้าถึงการศึกษาชั้นดีได้
โรงเรียนเทศบาลอเมริกันกับคะแนนสอบ PISA
คะแนนสอบ PISA ของอเมริกา โดย “เฉลี่ย” ต่ำกว่ามาตรฐาน และใกล้เคียงกับไทย (2016)
อาจารย์ Martin Carnoy ที่มหาวิทยาลัย Stanford เตือนว่า
“อย่าดูผลของคะแนนสอบอย่างผิวเผิน เพราะหลายประเทศที่มีคะแนนสอบเฉลี่ยต่ำกลับสามารถสร้างเศรษฐกิจเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ ในขณะที่ประเทศที่คะแนนสอบสูงกลับไม่สามารถทำได้”
สังเกตว่าโรงเรียนเทศบาลในสหรัฐอเมริกาโดยรวมแล้วจะมีคะแนนสอบเฉลี่ยต่ำกว่าประเทศสิงคโปร์ เกาหลี ฮ่องกง หรืออีกหลายประเทศมาก
นอกจากนี้แล้ว คะแนนสอบเฉลี่ยของโรงเรียนเทศบาลในสหรัฐฯ ยังอยู่ไม่ห่างจากอันดับของไทยมากนักด้วย!
1
ไทยอยู่ต่ำกว่าทุกหมวดครับ
แต่สิ่งที่โรงเรียนเทศบาลเหล่านี้ทำได้ คือการเปิดประตูให้คนเก่งจำนวนน้อยกว่า 1% กล้าที่จะคิดต่างและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา
และนี่คือสิ่งที่โรงเรียนในเกาหลี สิงคโปร์ หรือฮ่องกง ไม่สามารถทำได้ แม้ว่าคะแนน “เฉลี่ย” จากการสอบจะสูงกว่าก็ตาม
เสรีภาพทางความคิด
Jack Ma กับ Jerry Yang บนกำแพงเมืองจีน ภาษาอังกฤษและแหล่งข้อมูล
การเข้าถึงไอเดียใหม่ๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องใช้ภาษาที่คนส่วนใหญ่เขาใช้กันอยู่ การเรียนการสอนที่ใช้ภาษาที่เด็กสามารถไปค้นหาข้อมูลทั่วโลกเองได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นของความอยากรู้อยากเห็นและการวิจัย
2
Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba เคยเป็นครูสอนภาษาอังกฤษและเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก
1
แม้ว่าบริษัทอย่าง Alibaba จะประสบความสำเร็จอย่างมากในจีน แต่ Jack Ma เองก็ยอมรับว่าเขาได้อิทธิพลมาจากแนวคิดที่แปลกใหม่ของ Jerry Yang ผู้ก่อตั้ง Yahoo! ในขณะที่ทั้งสองกำลังเดินทัวร์กำแพงเมืองจีนกันอยู่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
อาจารย์ Lee Fleming ลองศึกษานวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ของคนจากต่างสาขา ปรากฏว่า การกระทำเช่นนี้เปิดโอกาสให้เกิดนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงระดับโลกได้ (Breakthrough) มากกว่าการเอาคนในสาขาเดียวกันมาคิดร่วมกัน
ภาษาอังกฤษ เป็นเสมือนตัวเชื่อมสาขาวิชาต่างๆ ทั่วโลกให้สามารถมาเจอกันได้ ไม่ต่างจากสมัย 2,000 กว่าปีที่แล้วในยุคที่ภาษาสันสกฤตเริ่มเป็นภาษากลางของโลกนักคิด และเป็นต้นแบบให้ภาษากรีก ภาษาละติน และภาษาอังกฤษในปัจจุบัน
เราไม่ควรจะยึดติดว่าภาษากลางของโลกเป็นภาษาไหน (เพราะมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา) แต่เราควรเน้นการสร้างโอกาสให้เด็กเข้าถึงข้อมูลใหม่ๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกมากกว่า และในยุคปัจจุบันข้อมูลเหล่านั้นยังอยู่ในภาษาอังกฤษ
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมเห็นชัดๆ เมื่อลองเข้าไปดูห้องเรียนในย่าน Silicon Valley คือการเชิญชวนให้เด็กตั้งคำถามกับผู้ใหญ่
มีภาพโปสเตอร์ของไอน์สไตน์แปะอยู่ในห้องเรียนหลายห้องที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เลย เนื่องจากโรงเรียนเทศบาลใน Silicon Valley ไม่มีการแบ่ง “สายวิทย์” หรือ “สายศิลป์” นักเรียนสามารถเลือกและผสมผสานวิชาที่อยากเรียนเอง
1
บนรูปนั้นเขียนพาดหัวว่า
" Even Einstein asked question "
“แม้แต่ไอน์สไตน์ ยังถามเลย”
เมื่อเดินไปนอกห้อง ก็จะเจอภาพวาดฝาผนัง เป็นรูป Nelson Mandela บนฝาผนังโรงยิม ซึ่งเขียนว่า
“การศึกษาคืออาวุธที่รุนแรงที่สุด ที่คุณจะเอาไว้เปลี่ยนแปลงโลก…”
การสร้างความกล้าในการตั้งคำถามกับทฤษฎีเก่าๆ หรือการตั้งคำถามกับผู้มีอิทธิพล เป็นกระบวนการคิดที่ถูกสอนมากว่า 50 ปีแล้วในโรงเรียนเทศบาลของย่าน Silicon Valley
สุดท้ายแล้วสิ่งที่ทำให้คนเอเชียสามารถย้ายมาสร้างนวัตกรรมที่แปลกใหม่ในย่าน Silicon Valley ได้ อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยี หรือตึกอาคารอัตโนมัติที่ดูทันสมัย หรือความเร็วของอินเทอร์เน็ตเลยก็ได้
มันอาจจะเป็นแค่เรื่องเล็กๆ ทางวัฒนธรรมที่ยอมรับการถกเถียงระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก — ระหว่างทฤษฎีเก่าและใหม่
1
〰️ บทความอ้างอิงจาก 〰️
🔻ฝากกดไลค์และติดตามเพจด้วยครับ🔻
👤 A MAN ...... By_สมถุย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา