20 ต.ค. 2019 เวลา 16:50
ปวดสะบัก
3
cr. https://www.spineuniverse.com/conditions/upper-back-pain
บ่อยครั้งที่ผมมักจะพบคนไข้ที่จะมาด้วยอาการปวดบริเวณสะบัก ซึ่งส่งผลให้รู้สึกไม่สบายตัวหรือบางคนนั้นอาจรบกวนการทำงานในชีวิตประจำวันกันเลยทีเดียว
วันนี้ ผมใคร่ขอจะนำพาผู้อ่านทุกท่านมาสืบหากันว่าเหตุใดจึงปวดสะบักเเล้วเรานั้นจะเเก้อาการปวดนี้กันอย่างไร ถ้าพร้อมเเล้ว มาลุยกันเลยครับ!!
บริเวณสะบักนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อกลายมัด เเต่จะมี 1 มัดที่จะมีอาการตึงบ่อยที่สุด นั่นคือ กล้ามเนื้อที่มีชื่อว่า ''Rhomboid muscle" ซึ่งจะเเบ่งย่อยเป็น Rhomboid minor (มัดเล็ก)เเละ Rhomboid major(มัดใหญ่)
ซึ่งมีตำเเหน่งอยู่ระหว่าง จุดเกาะต้นที่ตามเเนวกระดูกสันหลังเเละจุดเกาะปลายที่ขอบด้านในของกระดูกสะบัก โดย รอมบอยมัดเล็กจะอยู่เหนือต่อมัดใหญ่ ดังภาพ
cr. https://www.pinterest.com/pin/648870258789091614/
มีหน้าที่เดียวกันคือ ดึงเเละยกสะบักเข้าหาเเนวกลางของลำตัว โดยหลักๆก็คือ ช่วงพยุงสะพักนั่นเอง ดังภาพ
1
cr. https://lhyderdarlington.wordpress.com/2014/03/19/finding-my-scapular-plane-and-rhomboids/
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ปวดเนื่องจาก การที่เราอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม(poor posture) ซึ่งพบบ่อยในพนักงานออฟฟิต หรือคนที่มีอาชีพที่ต้องอยู่ท่าเดิมนานๆ
cr. https://triggerpointselfhelp.com/rhomboid-trigger-points-and-referred-pain-patterns/
เเนวทางรักษาด้วยตนเอง คือ
1.การยืด
2.การกด คลึง
3.การออกกำลัง
4.การปรับท่าทาง
1.การยืด
เเม้จะพบว่ามีอาการปวดที่กล้ามเนื้อเดียวเเต่กล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมกับรอมบอยก็มีอาการตึงร่วมด้วยได้ ดังนั้นจึงมีการยืดกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องรวมด้วยดังนี้
โดยเเต่ละท่า ยืดค้างไว้ 20 วินาที จำนวน 3 ครั้ง ต่อรอบ
ทำตอนเช้า เย็น หรือ บ่อยๆ
1.1ยืดกล้ามเนื้อหน้าอก (pectoralismajor muscle)
cr. https://m.wikihow.com/Stretch-Rhomboids
1.2ยืดกล้ามเนื้อคอเเละหลังส่วนบน
1.3ยืดกล้ามเนื้อคอด้านข้าง
1.4กล้ามเนื้อรอมบอยโดยตรง
2.การกดคลึง
โดยใช้ลูกบอลกลมๆ วางตรงตำเเหน่งดังภาพจากนั้นใช้เเรงจากตัวเราเองคลึงลูกบนกับกำเเพงหรือพื้น ในทิศทางขึ้นเเละลงดังภาพ
cr.https://www.muscle-joint-pain.com/trigger-points/trigger-point-self-treatment/rhomboids/
cr. https://www.klynergywellness.com/post/2018/07/03/treating-trigger-points
cr. https://www.purephysiotherapy.co.uk/blog/rhomboids-pain/
cr. https://www.tuneupfitness.com/blog/6712/
3.การออกกำลัง
เป็นส่วนสำคัญที่ป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากถ้ากล้ามเนื้อมีความเเข็งเเรงมากเพียงพอ โอกาสที่จะมีอาการบาดเจ็บซ้ำก็จะน้อยลงไปด้วย
3.1 สะบักชนกัน (scapular squeeze)
cr. http://pt-helper.blogspot.com/2016/07/how-do-i-improve-my-posture-in-this.html
ค้าง เป็นเวลา 10 วินาที จำนวน 10 ครั้ง
ทำ 3 รอบต่อวัน
3.2 ยกเเขนขึ้นในท่านอนคว่ำ(mid trap exercise)
cr. https://www.pinterest.com/pin/307722587036605451/
ค้าง เป็นเวลา 10 วินาที จำนวน 10 ครั้ง
ทำ 3 รอบต่อวัน
4.การปรับ ท่าทาง
cr. https://www.onnit.com/academy/pain-symptoms-and-bad-posture/
cr. https://www.optimalchiro.ie/2015/12/poor-posture-increases-risk-of-death-by-44/
ท่านั่งเเละท่ายืนมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดได้
เราจึงควรนั่งหรือยืนหลังตรงไม่ห่อไหล่(rounded shoulder)
ซึ่งมักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนักเกินไป โดยหลังจากทำงานหนึ่งชั่วโมงควรปรับท่าทางตนเองเสมอ ลุกไปยืนไปเดินหรือยืดกล้ามเนื้อ สม่ำเสมอ
ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์เเก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ
Ref.
#กายภาพบำบัด#Physiotherapist#Rehabilitation#Rhomboid muscle
โฆษณา