26 ต.ค. 2019 เวลา 00:19 • สุขภาพ
ปลูกข้าวแบบจีน กรณีศึกษาที่ไทยต้องตามให้ทัน (ใจเกษตร EP2)
แปลงนาที่เมือง Suzhou ประเทศจีน
เรื่องเล่าทริปดูงานที่จีน ในบ่ายวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ณ เมือง Suzhou จากผู้ใช้ Facebook ที่ใช้ชื่อว่า Kalaya Joukhom
หลังอาหารกลางวัน ก็เดินทางไปดูการเพาะปลูกข้าว และเลี้ยงสัตว์ ที่ WuQiu Village in GuLi Town, Changshu สิ่งที่พบคือ ที่นี่เขาทำนาแปลงใหญ่ มีนายทุนเป็นผู้ลงทุนปลูกข้าว เรียกว่าเป็น วิสาหกิจชุมชน
3
"นายทุน"ทำการเช่าที่นาจากชาวนาแล้วก็จ้างชาวนาทำนา ดังนั้นชาวนาจะได้ผลตอบแทนสองอย่างคือ ค่าเช่านา กับค่าจ้างทำนา
การปลูกข้าวหรือพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ทั้งจากรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่นในหลายๆเรื่อง
1
เช่น รัฐบาลจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยทางการเกษตรให้ 85% ส่วนที่เหลือ 15% เกษตรกร หรือนายทุน (ในนามวิสาหกิจชุมชน) เป็นผู้จ่ายเอง
ตามที่สอบถาม ได้ความว่านายทุนต้องซื้อประกัน เพราะต้องลงทุนทำนาด้วยเงินจำนวนมาก การซื้อประกันภัย (เพิ่มต้นทุน แค่นิดเดียว) เพื่อแลกกับการรับประกันความเสี่ยงในการลงทุนทั้งหมด
นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น การทำถนนลาดยาง และระบบน้ำ ถึงแปลงนาหรือแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรทุกราย รัฐบาลมองว่า ถ้าการขนส่งสะดวกจะทำให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การลงทุนของนายทุนในที่นาแปลงใหญ่ จึงมีการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ทุกกระบวนการผลิต เริ่มตั้งแต่เพาะปลูก-จนถึงเก็บเกี่ยวเลยทีเดียว
1
เครื่องจักรทำนา ทันสมัยทุกขั้นตอน
รวมถึงการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มีการจัดทำเครื่องดักแมลง ส่วนแปลงนา มีการจัดคันนาแต่ละแปลงที่เป็นอย่างระเบียบ มีทำท่อส่งน้ำเป็นท่อคอนกรีต และคันนาแต่ละแปลงยังเป็นรางน้ำคอนกรีตด้วย
มีการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างแปลงปลูกข้าวที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีกับไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวในนาที่ปลูกสวยงามมาก ไม่มีวัชพืชให้เห็นแม้แต่ต้นเดียว ที่นี่มีการเลี้ยงสัตว์ในนาข้าวด้วย เช่น ปู กุ้ง ปลา และกบด้วย
1
ระบบประกันภัยทางการเกษตร บริษัทประกันภัยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย (Smart Farming) เข้ามาใช้ เช่น การนำระบบโดรนมาสำรวจวาดแปลงที่รับประกันภัย และสำรวจพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย
การจัดการโดยใช้ Smart Farming
คล้ายกับแบบของไทยเรียกว่า ประเมินความเสียหายตามแบบ กษ 01 และ 02 แต่เราใช้คนสำรวจ และบริษัทประกันฯนำระบบ AI เข้ามาใช้ด้วย
การประกันภัย มีทั้งการประกันผลผลิตที่ได้รับความเสียหาย ประกันรายได้ รวมถึงประกันเครื่องจักรทางการเกษตร (มีประมาณ 30 กว่าแบบ)
เกษตรกรสามารถเลือกซื้อประกันภัยกับบริษัทใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขของภาครัฐฯ จึงจะได้รับการสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัย 85% ตามที่กล่าว
ความเห็นส่วนตัวของใจเกษตร เป็นการทำงานร่วมกัน แบ่งปันผลประโยชน์ Win Win Win ชาวนา นายทุน และรัฐบาล
1. ชาวนามีรายได้ที่แน่นอนจาก ค่าเช่านา และค่าจ้างทำนา
- ที่ดินยังคงเป็นของชาวนา รักษาอาชีพเดิมได้ในบ้านของตัวเอง
- ชาวนาพัฒนาต่อยอดได้ เช่น มีเครื่องจักรให้เช่า มีบริการเสริมต่างๆ
1
2. นายทุน มีเงินลงทุน เข้าถึงเครื่องจักรฯ เทคโนโลยีหรือ Smart Farming ซึ่งจำเป็นสำหรับเกษตรสมัยใหม่ อีกทั้งเข้าถึงตลาดได้ดีกว่ารายย่อย มีรัฐบาลช่วย ต้องพร้อมทุกอย่างแบบนี้ จึงจะแข่งขันกับเกษตรกรทั่วโลกได้
ในอดีต นายทุน คือคนที่ทำนาบนหลังชาวนา แต่ในยุค Digitization
- ชาวนา หรือเกษตรกรรายย่อย สามารถพัฒนาเป็น เกษตรกรรายใหญ่ หรือเป็นนายทุนได้ หากสะสมทุนเพียงพอ มีความชำนาญในเทคโนโลยี และเข้าถึงตลาดจากการเรียนรู้จากนายทุนคนเดิม
3. รัฐบาลหลายประเทศ ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวนมากช่วยเหลือเกษตรกร เพราะเป็นอาชีพที่ต้องแข่งขันกับกลไกราคาตลาดโลก หากเรายังคงช่วยเหลือแบบให้เปล่า ประกันราคา หรือชดเชยต่อไร่
แต่ไม่เปลี่ยนวิธีการทำเกษตรให้ได้กำไร เราก็จะซ้ำวนอยู่กับ ประชานิยม
2
บริษัทประกันภัย เป็นทั้ง Auditor แทนรัฐบาล (ไม่มีใครขายประกันมั่วๆแบบไม่ตรวจสอบความเสี่ยง) ถ้าความเสียหาย เช่น ภัยธรรมชาติ ราคาตกต่ำ ฯลฯ รัฐบาลก็ไม่ต้องจ่ายชดเชยให้เกษตรกรแบบเต็มๆ
1
โปรดติดตาม ใจเกษตร ** ทุกวันเสาร์ **
ได้ที่ Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา