Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า
•
ติดตาม
22 ต.ค. 2019 เวลา 12:09 • ธุรกิจ
บุกตลาดเครื่องปรุงรสในจีน!
บทความนี้ แอดมินสรุปมาให้ เป็นข้อๆ อ่านจบ สั้นๆ ได้ใน 5 นาที โดยมาจากรายการวิทยุ "Global Asean" ที่จัดรายการโดย ผอ.อดุลย์ โชตินิสากรณ์ ในคลื่น FM 90.5
ตอนนี้เป็นเรื่อง “ตลาดเครื่องปรุงรสในจีน” โดยข้อมูลน่าสนใจมากๆ เป็นประโยชน์ทั้งนักธุรกิจทที่ต้องการขยายตลาดไปจีน และเพื่อนๆ ที่สนใจลงทุนหุ้นบริษัทในจีนกัน
เราไปดูประเด็นสำคัญกัน หากพร้อมแล้วไปติดตามกันเลย
1) ตลาดจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังซื้อสูง คนจีนนิยมเรื่องการรับประทาน อาหารไทยเป็นหนึ่งในใจชาวจีน
2) ซอสและเครื่องปรุงรส ครอบคลุมไปถึงซอสทุกประเภท รวมถึงของดอง โดยที่ได้รับความนิยมมากในจีนคือ ซอสถั่วเหลือง หรือ ซีอิ้ว มูลค่ายอดขายซอสและเครื่องปรุงรส ในจีน 2561 มีมูลค่าถึง 119,067 ล้านหยวน (กลมๆ ประมาณ 600,000 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 9% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหากย้อนไปดูปี 2547 มียอดขายไม่ถึง 50,000 ล้านหยวน
3) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ซอสปรุงและเครื่องปรุงรสเติบโตมาก คือ หนึ่ง ธุรกิจร้านอาหารจานด่วนในจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว, สอง การขยายตัวของร้านอาหารต่างชาติ, สาม คนจีนมีรายได้มากขึ้น, สี่ สภาพสังคมเมือง ผู้บริโภคชาวจีนชื่นชอบความสะดวกสบาย จึงไปทานอาหารนอกบ้านหรือสั่งอาหารมาทาน, และห้า ผู้บริโภคที่ประกอบอาหารที่บ้าน ต้องการความสะดวกสบาย จึงเลือกซื้อเครื่องปรุงสำเร็จรูปมาใช้
4) อีกเทรนด์ที่สำคัญ การตื่นตัวของผู้บริโภคในการใส่ใจเรื่องสุขภาพ คือ Gluten Free, ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ไม่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม (Non-GMO) ตัวอย่างเช่น แบรนด์ชินโฮ (ระดับ High-end) ออกซอสถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม
5) ในปี 2560 มีข่าวการจับกุม โรงงานผลิตซอสกว่า 50 โรงในแถบเทียนจิน พบว่าใช้วัตถุดิบที่ไม่เหมาะสมต่อการบริโภคของมนุษย์เช่น ใช้เกลืออุตสาหกรรมซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง หรือที่คลาสสิกคือ ติดฉลากปลอม เช่น แม็กกี้ โดยคนจีนให้ความตระหนัก
6) ผลการสำรวจของ HKTDC (หน่วยงานในฮ่องกง) สำรวจปัจจัยที่ผู้บริโภคชาวจีน ให้ความสำคัญลำดับหนึ่ง คือ รูปลักษณ์ (packaging)และรสชาติ รองลงมาคือปัจจัยที่เกี่ยวกับแบรนด์/คำบอกต่อ ส่วนปัจจัยอื่นๆ คือ วัตถุดิบและประโยชน์ต่อสุขภาพเช่น น้ำตาลต่ำ โซเดียมต่ำ เส้นใยสูง ถัดมาเรื่อง ราคา แหล่งผลิต คำแนะนำในการปรุงอาหาร
7) ช่วงปี 2559 ถึง 2561 จีนมียอดนำเข้า 148, 157, 175 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการนำเข้าต่อเนื่องเพิ่มขึ้นประมาณ 11% โดยมีการนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้มากที่สุด 14.8% รองลงมา คือ ไต้หวัน ไทย ญี่ปุ่น และสหรัฐ
8) ช่วงปี 2559 ถึง 2561 จีนนำเข้าซอสและเครื่องปรุงรสจากไทย 15, 18, 21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโต 16% นำเข้าที่ด้านเซี่ยงไฮ้, ฝูโจว, กวางโจว, และเซี่ยะเหมิน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในพิกัด 210390 คือ ซอสและเครื่องปรุงรสอื่นๆ ที่ไม่ใช่ซอสถั่วเหลือง มัสตาร์ด และซอสมะเขือเทศ โดยส่วนใหญ่น่าจะเป็นรูปแบบซอสปรุงรสสำเร็จรูป
9) จากการไปสัมภาษณ์ผู้นำเข้าชาวจีน พบว่า ความนิยมในซอส เกิดมาจากผู้บริโภคชาวจีนมาเที่ยวไทย แล้วติดใจ เลยซื้อซอสปรุงรสสำเร็จรูปเพื่อไปทำอาหารทางเองที่บ้าน ถือเป็นแนวโน้มที่น่าสนใจมากๆ โดยมีซอสที่นิยมได้แก่ น้ำจิ้มไก่ เครื่องแกงกะหรี่ ซอสพริกไทยดำ ซอสหอยนางรม เครื่องแกงโดยเฉพาะแกงเขียวหวาน น้ำจิ้มสุกี้ และน้ำพริกเผา
10) ผู้นำเข้าชาวจีน มีความเห็นเพิ่มเติม ว่าหากรัฐบาลไทยจัดการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง และสำนักงานส่งเสริมการค้าเมืองเซียะเหมิน พบว่ามีซอสไทยแต่แปะแบรนด์จีนมากขึ้น คือ จ้างโรงงานไทยผลิต เนื่องมาจาก หนึ่งซอสไทยแท้รสชาติจัดเกินไป, สองซอสและเครื่องปรุงรสไทยในจีนมีตัวแทนจำหน่ายไปเรียบร้อยแล้ว, และสามบางทีคนจีนไม่ได้เป็นผู้แทนจำหน่ายรายเดียว หากประชาสัมพันธ์มากคนอื่นก็ได้ประโยชน์ ก็เลยจ้างโรงงานไทยผลิตสินค้าประเภทนี้ แล้วจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วยตัวผู้นำเข้าเอง
หากบทความเป็นประโยชน์ ช่วย Like&Share ต่อนะครับ
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กดติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
สำหรับผู้นำเข้าส่งออก เชิญเข้าร่วมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ หาช่องทางนำเข้าส่งออก และข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก ได้ที่
http://bit.ly/2OYDbxL
16 บันทึก
64
13
23
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ข้อมูลเชิงลึกตลาดนำเข้าส่งออก
16
64
13
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย