25 ต.ค. 2019 เวลา 15:28 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ไหวมั้ย? ถ้าจะต้องบินรวดเดียว 20 ชั่วโมง 😅
เมื่อสายการบิน Qantas เริ่มทำการบินทดสอบเที่ยวบินทรหด 20 ชั่งโมงในสามเที่ยวบิน
บินกันจนฟ้าสางได้สองรอบ, Cr: spooh/iStock
Project Sunrise เป็นเที่ยวบินทดสอบในการทำการบินระยะทางไกลโดยใช้เวลาบินกว่า 20 ชั่วโมงโดยไม่มีการแวะพักแม้แต่ครั้งเดียว
ด้วยจุดประสงค์ในการศึกษาและเก็บข้อมูลสุขภาพและสภาพจิตใจของผู้โดยสารรวมถึงลูกเรือและนักบินหากต้องทำการบินต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ
กับระยะการบินกว่า 16,013 กิโลเมตร
ซึ่งเที่ยวบินทดสอบเที่ยวแรกทำการบินไปแล้วเมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการบินตรงออกจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย ไปยังนิวยอร์ค อเมริกา
ตารางการบินทั้ง 3 เที่ยวบิน
และยังมีอีก 2 เที่ยวบิน เป็นเที่ยวบิน นิวยอร์ค-ซิดนีย์ และ ซิดนีย์-ลอนดอน โดนตอนนี้ยังไม่มีกำหนดการบิน
ซึ่งในการบินทั้ง 3 เที่ยวบินนี้ทำการบินโดยใช้เครื่อง Boeing 787-9 Dreamliner
Boeing 787-9 Dreamliner. Cr: Qantas Airline
โดยปกติแล้วเครื่อง 787-9 นี้มี 289 ที่นั่ง แต่สำหรับเที่ยวบินทดสอบนี้มีผู้โดยสารรวมลูกเรือเพียง 50 คน ซึ่งทุกคนต้องใส่อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพร่างกายตลอดการเดินทาง
1
สำหรับนักบินจะถูกตรวจวัดคลื่นสมองตลอดการบินเพื่อตรวจวัดความตื่นตัว และสภาพช่วงการพัก
เครื่อง electroencephalogram (EEG) ที่ใช้ตรวจคลื่นสมอง
ส่วนลูกเรือก็จะได้รับการวัดค่าฮอร์โมน melatonin ซึ่งควบคุมการนอนหลับ ทั้งก่อนการบิน ระหว่างบิน และหลังจากลงจอด
ในส่วนผู้โดยสารก็จะมีกิจกรรมออกกำลังกาย ทำสมาธิระหว่างการบิน รวมถึงการทดลองปรับอุณหภูมิและแสงสว่างในห้องโดยสารเพื่อหา สภาพที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทางนาน ๆ
ทั้งนี้หากคุณสนใจอยากลองบินทรหด 20 ชั่วโมงนี้ ยังไม่สามารถซื้อตั๋วได้นะครับ เนื่องจากเป็นเที่ยวบินทดสอบโดยกลุ่มทดลองที่ทางสายการบินคัดเลือกมาเท่านั้น
แต่หากผลการทดลองเป็นไปด้วยดี ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพการบิน เราอาจจะได้มีโอกาสลองเที่่ยวบินมาราธอน 20 ชั่วโมงภายในปี 2022-2033 นี้ 😉
ปัจจุบันเจ้าของสถิติการบินรวดเดียวยาวนานสุดเป็นของเที่ยวบิน SQ22 จากสิงคโปร์ไปนิวยอร์ค ของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ โดยใช้เวลาทำการบิน 17 ชั่วโมง 15 นาที โดยเครื่อง Airbus A350
เส้นทางบินของ SQ22, Cr: flightradar24.com
จริง ๆ แล้ว SQ22 มีระยะการบินพอ ๆ กันที่เฉลี่ย 16,312 กิโลเมตร แต่ด้วยอาศัยการบินในกระแสลมกรด (Jet stream) จึงช่วยลดระยะเวลาการบินได้มากกว่า 3 ชั่วโมง
ภายในกระแสลมกรดนี้คือกระแสลมกรรโชกด้วยความเร็วกว่า 150-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
บางคนคงยังจำกันได้ว่าการบินไทยเราเคยมีเที่ยวบินตรง กรุงเทพฯ-นิวยอร์ค แต่สุดท้ายก็ต้องยกเลิกไป
คิดดูถ้าต้องนั่ง Economy class เกือบ 20 ชั่วโมง ตะคริว+เหน็บชาถามหาแน่นอน ดูหนังจบไปได้เป็น 10 เรื่อง 😆
ในเมื่อเครื่องบิน Hyper speed กว่าจะมาก็ปี 2030 ก่อนหน้านั้นเราคงต้องนั่งอึดกันไปก่อน ไม่ก็ต่อเครื่อง 2-3 รอบกันไป 😁

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา