Learning Visual Diary #32 : Smart Creative (key takeaway from 'How Google Works')
สวัสดีครับทุกท่าน หนึ่งในบริษัทแห่งนวัตกรรมที่ท่านนึกถึงบริษัทแรกๆเลยคือบริษัทอะไรครับ ผมเชื่อว่าหนึ่งในบริษัทคนจำนวนมากนึกถึงคือ Google ส่วนตัวผมเองคิดว่า Google มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนวิธีคิด ความเชื่อ การดำรงชีวิต ของพวกเราทุกคนอย่างมาก และวันนี้ผมมีหนังสือเล่มนึงในมือผมที่อยากจะมาเล่าให้ฟังครับ เรามานั่งคุยกันกับ 'How Google Works' คิดอย่างผู้นำ ทำอย่าง Google ครับ
หนังสือ How Google Works เขียนโดยคุณ Eric Schmidt และ Jonathan Rosenberg ความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ คือ คุณ Eric เป็น CEO ของ Google ในช่วงปี 2001-2011 ซึ่วเป็นช่วงเวลาที่ Google ข้ามจากความเป็น Startup สู่ Giant tech นอกจากนี้ Jonathan เองก็เป็นหัวหน้าทีมผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์เขย่าโลก อย่างเช่น Search, Ads, Gmail และ Android
แค่ฟังประวัติผู้เขียน ผมในฐานะสาวก Google ก็ไม่รีรอจะหยิบมาอ่านทันที และไม่ผิดหวัง สมเป็นหนังสือที่เหล่า Googler (พนักงาน Google)แนะนำ
สำหรับตอนแรกของ How Google Works series นี้ ผมอยากจะเริ่มจากการเล่าถึงศูนย์กลางของหนังสือนี้เล่มนี้ครับ นั่นคือ Smat Creative มันคืออะไร Smart Creative ไม่ใช่นวัตกรรม ไม่ใช่โปรแกรม แต่เป็นคนครับ!
หัวใจของ Google คือ Smart Creative แล้วมันคืออะไร
Google ให้นิยาม Smart Creative ขึ้นมาเอง โดยบอกว่า นี่แหละคือ คนทำงานสายพันธุ์ใหม่ที่ Google ต้องการ เพราะว่าองค์กรต้องการเร่งความเร็วในการพัฒนาและเพิ่มคุณภาพไปพร้อมกัน (จริงๆต้องถึงขั้นดีเยี่ยมเลยละ) ทางเดียวที่ Eric มองคือ ต้องดึงคนเก่งเข้ามาทำงานเยอะๆ
a. มีพื้นที่กระตุ้นความคิด เหมาะแก่การทำ deepwork ได้ดี ไม่จำเป็นต้องติดกับโต๊ะ
b. เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการ ทำงาน อยู่ และ กิน ด้วยกันได้เลย แม้ว่า Google จะเป็นเจ้าพ่อเทคโนโลยี แต่ที่ทำงานของ Google ก็น่าอยู่มาก เพราะต้องการให้พนักงานใช้เวลาในที่ทำงานและอยู่ร่วมกันได้มากที่สุด
c. พื้นที่ส่งเสริมให้มี interaction ต่อจากข้อที่แล้ว Google มีอาหารรสเลิศให้พนักงานทุกวัน เพราะต้องการให้พนักงานมีโอกาสทานข้าวด้วยกันและได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน มีกิจกรรมหลังเลิกงานที่สามารถทำร่วมกันได้ ทำให้ได้เห็นเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายในมุมที่ไม่ใช่งาน ช่วยให้คนเราสนิทกันได้มากเลยครับ
d. อุปกรณ์ต้องดี คอมพิวเตอร์ต้อง spec เยี่ยม เข้าถึง software ของบริษัทได้ เข้าถึง data ได้ นั่นคือ authority และ freedom ครับ ไม่ทำให้เรื่องไม่เป็นเรื่องมาขวางไอเดียหรือการทำงาน