2 พ.ย. 2019 เวลา 04:00 • ธุรกิจ
Learning Visual Diary #33 : วิธีหาคนทำงานแบบ Google (key takeaway from 'How Google Works')
สวัสดีครับทุกท่าน ครั้งที่แล้วเราคุยกันว่า Smart Creative คือใครและอะไร สำหรับตอนนี้เราจะคุยต่อเนื่องเรื่อง Smart Creative เป็นตอนที่สองนะครับ เราจะหา Smart Creativeได้อย่างไร จัดการยังไง แล้ววิธีการเหล่านี้ใช้กับบริบทของเราที่ไม่ได้ทำงานใน Google ยังไง ลองตามมาชมด้วยกันครับ
คือมันอย่างนี้ครับ...
Google เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับพนักงานมากๆ ซึ่ง Eric ได้ถ่ายทอดผ่านหนังสือ 'How Google Works' อย่างเต็มที่ ตอนนี้ผมจึงอยากจะเล่าให้ฟังถึง กระบวนการในการสรรหาของ Google ที่มีเอกลักษณ์และน่าจะสามารถนำไปปรับใช้ได้เหมือนกัน
Mindset ในการหาตัว Smart Creative
ก่อนจะเริ่มกระบวนการเราคงต้องพูดถึงวิธีคิดในการหา Googler ก่อน กฎง่ายๆของ Google มันช่างกำปั้นทุบดิน คือ จ้างคนที่เก่งที่สุดเท่านั้น กฎง่ายๆข้อนี้มาจากความเชื่อเรื่อง Herd Effect คือ เชื่อว่า คนเก่งที่สุดจะดึงดูดคนเก่งที่สุดเข้ามาเช่นกัน เหมือนว่าจะหา 'ฝูง' ของคนเก่ง ก็ต้องบอกคุณสมบัติของสมาชิกฝูงที่ชัดเจน ความชัดเจนของ 'จ่าฝูง' ก็เลยสำคัญมาก
อย่าลืมว่า คนเกรด A จะดึงคนเกรด A หรือ A+ แต่ถ้าคุณเผลอเอาคนเกรด B เข้ามา เขาจะหาคนเกรด B หรือ C มาให้คุณ ดังนั้น มันคุ้มที่จะเสียเวลาหาคนที่คุณคิดว่าใช่จริงๆครับ นอกจากจะได้คนเก่งยังลดต้นทุนหลายอย่างเลยละครับ
แล้วคนเก่งของ Google แปลว่าอะไร
นิยามของคนเก่งที่ผมว่าดีที่สุดอันหนึ่งคือ หาคนที่เก่งกว่าตัวเราเอง อาจจะไม่ได้เก่งกว่าทุกทางนะครับ เก่งกว่าบางด้านก็ใช้ได้ หลายด้านยิ่งดี และที่สำคัญคือ ตัวเราเองต้องพร้อมเรียนรู้ไปกับคนเหล่านั้น ที่พูดนี้ คือ แนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้เลยครับ แล้วคุณสมบัติที่ Google มองสำหรับ Googler คืออะไร มี 3 ประการครับ
(1) Passion ต้องหา passion ตัว Candidate ให้เจอ ถ้าเป็น passion ที่เกี่ยวกับงานยิ่งดี มันทำให้การทำงานของเขามีความสุข
(2) Intelligence ต้องฉลาดและมีไหวพริบ หนึ่งในคุณสมบัติสำคัญของ Smart Creative คือ ความรู้เชิงเทคนิคและธุรกิจ ดังนั้น การหาคนที่มีแววจึงสำคัญ จริงๆฉลาดในที่นี้ผมไม่คิดว่าจะหมายถึงคนเรียนเก่งนะ สำหรับผมน่าจะเรียกว่าคนที่มีกึ๋นดีกว่า (น้องๆจะเข้าใจคำนี้ใหมครับ)
(3) Willing to Learn ผมคิดว่าข้อนี้สำคัญที่สุด มันก็คือ Growth Mindset ที่เราชอบพูดกัน ที่ผมคิดว่าสำคัญ เพราะคนที่ยังไม่มี passion แต่มี willing to learn เขาจะหา passion ได้ซักวันจากการเรียนรู้ แต่ถ้ามี passion แต่ไม่มี willing to learn แล้ว passion ก็แค่ฝันๆครับ เหมือนกันกับ intelligence ถ้าไม่มี passion มันก็ static ยากที่จะพัฒนาต่อได้
เรื่อง Willing to Learn นี่สำคัญมากถึงมากที่สุดนะครับ โดยเฉพาะในโลกที่อะไรๆก็เปลี่ยนอย่างรวดเร็วแบบนี้ การเรียนรู้จะช่วยให้เราไม่ยึดติดกับความรู้หรือกรอบความคิดเดิม Google เองก็ให้น้ำหนักกับความเป็น Generalist มากขึ้นกว่า Specialist
กระบวนการสรรหาคนแบบ Google
การสรรหาบุคลากรถือเป็นงาน top priority ของ Google ทำให้ Google ให้ความสำคัญกับการสัมภาษณ์มากๆ เพราะเราเชื่อว่าการจะรู้จักคนคนหนึ่งจริงๆไม่สามารถทำได้จากการดู Resume เท่านั้น ลองมาพิจารณาวิธีการของ Google กัน
1. Hiring Committee เพราะการสัมภาษณ์สำคัญมากๆ ทำให้การหาคนที่ Google ไม่สามารถพึ่งความเห็นจากคนแค่คนเดียวได้ ที่ Google จะมีการตั้ง committee สำหรับการสัมภาษณ์โดยกรรมการจะมาจากหลากหลายส่วนและ skill เพื่อให้ได้ภาพที่ครบถ้วน และขจัดความลำเอียงออกไป นอกจากนี้ Google ยังมีการทำ Trusted Interviewer Program เพื่อให้ผู้สรรหามี skill ในการสัมภาษณ์อย่างดี
2. Interview Period ที่ Google มีกฎว่าจะใช้เวลาการสัมภาษณ์ไม่เกิน 30 นาทีต่อครั้ง ถ้าถูกใจแต่ไม่แน่ใจก็เรียกมาใหม่ และจำนวนครั้งก็ไม่ควรเกิน 4 ครั้ง
3. Interview Question การตั้งคำถามต้องท้าทายในการวัดไหวพริบ อาจจะเป็นคำถามที่คาดไม่ถึงเลย เพื่อหาความมีไหวพริบ ความไฝ่รู้ แล้วก็ passion ในตัวผู้สมัคร และต้องให้ใช้จินตนาการในการตอบ นอกจากนี้ ควรมีคำถามมาตรฐานเพื่อใช้วัดความต่างของผู้สมัครแต่ละคนด้วย คำถามที่คุณ Eric ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณติดอยู่ที่สนามบิน กับเจ้านายคุณ คุณจะสามารถสร้างบทสนทนาที่น่าสนใจได้ใหม เรื่องอะไร
มีตัวอย่างหนึ่งที่ผมอยากเล่าให้ฟัง ผมคิดว่าตัวอย่างที่สุดยอดและเป็นตำนานของการ recruit เลยละครับ
{first 10-digit prime found in consecutive digits of e}.com
นี่มันสมการอะไร แม้ผมจะชอบเลขแต่ก็อดมึนไม่ได้ครับ และอยู่ๆมันก็มีไอ้เจ้าสมการลึกลับนี้ขึ้นมาบน billboard ที่ Silicon Valley โดยที่ไม่มีใครรู้ว่ามันคืออะไร คำตอบคือมันคือ ชื่อ URL ของ Google ที่ใช้สำหรับรับสมัครงาน แต่มันไม่ใช่พิมพ์ยาวๆๆแล้ว.com แบบนี้นะครับ
e คือค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ที่เป็นฐานลอการิทึมธรรมชาติ (ช่างมันใหมครับ) มีค่าประมาณ 2.71828.... ไปเรื่อยๆ และในวงเล็บก็หมายถึง จำนวนเฉพาะ 10 ตัวแรกที่อยู่ในทศนิยมค่า e ถ้าท่านหาได้ค่านั้นจะเป็น URL เข้าไปที่ website รับสมัครงานของ Google นั่นเอง (ไปหาคำตอบเองนะครับ😁)... ใครคิดอแกแล้วเสียใจด้วย เพราะ URL นี้ปิดไปแล้วครับ 😭
หนึ่งในความทึ่งของแคมเปญนี้คือ ความแปลก ประมาณคืดได้ไงเนี้ย แต่มันซ่อนความเป็น Googleyness (แปลว่าความเป็น Google นั่นแหละ) อย่างมาก คนที่จะมานั่งแก้โจทย์นี้ต้องมีคุณสมบัติความขี้สงสัย (curiosity) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของความไฝ่รู้ที่สำคัญ นอกจากนี้ยังต้องฉลาด (ไม่ฉลาดคิดไม่ออกแน่ๆ จริงใหมครับ) นี่คือการคัดเลือก DNA ตั้งแต่ยังไม่เห็น Resume ด้วยซ้ำ
การจะบริหารจัดการเหล่า Smart Creative ไม่ใช่เรื่องง่ายเงินอาจจะไม่ทุกอย่างแต่ก็สำคัญ Google เองก็มีคติเรื่อง great pay for great people เช่นกัน นอกจากนี้การเปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นมีพื้นที่สร้างผลงานอย่างมีอิสระ เคารพความต่างทั้งความคิดและคุณลักษณะอื่นๆ ก็เป็นกุญแจที่สำคัญในการบริหาร Smart Creative เช่นกัน
2 ตอนคงเพียงพอสำหรับการพูดถึง Smart Creative ตอนต่อไปของ 'How Google Works' จะเป็นเรื่องอะไร น่าสนใจแน่นอนครับ โปรดติดตามนะครับ 😊 (ผมจะพยายามเอาให้จบใน 4 ตอนนะครับ)
Happy Learning
ขอบคุณครับ
ชัชฤทธิ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา