29 ต.ค. 2019 เวลา 13:12 • สุขภาพ
เกิดอะไรขึ้นในสมอง ตอนปวดหัวไมเกรน ?
คำอธิบายเทียบกับการเกิดไฟป่า และ climate change
เมื่อพูดถึง ไมเกรน คุณคิดถึงอะไรบ้าง
ปวดตุบๆ จากเส้นเลือดขยาย..
ปวดแล้วเห็นแสงวูบวาบ
ปวดหัวข้างเดียว..
เหล่านี้มีส่วนถูก แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
ไมเกรนเป็นโรคที่กลไกยังไม่ชัดเจน
ในอดีตคิดว่าเกิดจากวิญญานร้าย
50 ปีก่อน คิดว่าเป็นจากเส้นเลือด
แต่ปัจจุบัน มองว่ามีความใกล้เคียงโรคลมชัก
แพทย์โบราณกำลังรักษาคนปวดหัวไมเกรนทำการ 'Trepanning' คือเจาะกระโหลก เพื่อให้วิญญานร้าย ออกมา ภาพจาก 1
หากเปรียบ คนที่เป็น โรคลมชัก
คือคนที่สมอง "ไวที่จะชักกว่าปกติ"
คนที่เป็น'ไมเกรน'
คือคนที่สมอง "ไวที่จะปวดกว่าปกติ"
นั่นเองค่ะ
การเข้าใจกลไกของไมเกรน
จะช่วยให้ท่านเข้าใจแนวทางรักษาและดูแลตนเองในที่นี้ข้าพเจ้าจึงขอลองอธิบายการเปรียบกับไฟไหม้ป่า
แบ่งเหตุการณ์เป็นสามตอน
1.ช่วงระอุก่อนติดไฟ
2.ขณะไฟไหม้ลุกลาม
3.หลังเพลิงสงบ
(ระวังไหม้บ่อยจน climate change)
🌻ช่วงระอุก่อนไฟติด
🧠 Hyperexcitability trigger
เริ่มจากมีสิ่งกระตุ้น อาจเป็น
ปัจจัยภายใน เช่น อารมณ์เครียดที่มีผลต่อสารเคมีในสมอง การอดนอน
ปัจจัยภายนอก เช่น อากาศร้อน ผงชูรส etc ที่ทำให้สมองอยู่ในภาวะไวกว่าปกติ
หากความไวกว่าปกตินี้ เกิดที่กลีบสมอง (มักเป็นส่วน visual และ sensory cotex) ก็จะเกิดคลื่นไฟฟ้าอ่อนๆ ลามไปทำให้เกิดอาการเห็นภาพซิกแซก หรือมีความรู้สึกชา เรียกว่า 'aura'
ลักษณะเช่นนี้ช่วยวินิจฉัยไมเกรนได้มั่นใจ
เรียกคนที่มีอาการแบบนี้ว่า 'classic migraine'
หากความไวกว่าปกตินี้ เริ่มที่ไฮโปทาลามัสและก้านสมอง ก็จะเกิดอาการอ่อนเพลีย เศร้า หงุดหงิด คลื่นไส้ เวียนศรีษะ
คนเป็นไมเกรนส่วนมาก (70-80%) มีอาการนำแบบนี้ จัดเป็น 'common migraine'
🌻 ช่วงไฟไหม้ลุกลาม
🧠 Meningitis
ไม่ว่าความไวจะเริ่มที่กลีบสมอง หรือ ก้านสมอง เมื่อถึงระดับ 'จุดติด'
จะเกิดการกระตุ้นส่งสัญญานผ่านเส้นประสาทคู่ที่ 5 ซึ่งเลี้ยงกระบอกตา ใบหน้า และลามไปทั่วเยื่อหุ้มสมอง
เส้นประสาทนี้หลั่งสารเคมี serotonin, CGRP ออกมาสั่งการให้เส้นเลือดที่อยู่ข้างๆ ขยายตัว
เส้นเลือดขยายตัวปล่อยให้เซลล์อักเสบออกมาเนื้อเยื่อรอบๆ เช่น ปวดรอบเบ้าตา เยื่อหุ้มสมองก็จะปวดร้าวระบมตุบๆมาก ไม่อยากขยับหัว ตาแพ้แสง แพ้เสียง
การปวดเริ่มต้นข้างเดียว ก็สามารถแผ่กระจายไปทั่วทั้งศรีษะได้
🌻ช่วงเพลิงสงบ
(แต่ต้องระวังไม่ให้ไหม้บ่อยจน climate change)
🧠 Post drome & Central sensitization
โดยธรรมชาติ ร่างกายจะพยายามสยบ 'ไฟ' ในสมองด้วยการพ่น 'น้ำ' ออกมาระงับ
ด้วยการหลั่งสารลดอักเสบ รวมถึงสารกดประสาทออกมาจำนวนมาก ทำให้หลังปวดหัว รุนแรงผ่านไป ตามมาด้วยความรู้สึกง่วงๆ มึนๆ
ปวดหัวไมเกรน แม้ไม่ทานยาแก้ปวด ก็หายเองได้ในเวลา 4-72 ชั่วโมง..แต่การปล่อยให้ไฟไหม้ รุนแรงบ่อยๆ จน climate change อาการร้อนแล้ง ก็จะก่อไฟไหม้ซ้ำแล้วซ้ำอีก
หลังจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีการส่งสัญญานเพื่อให้เกิดการ 'เตรียมพร้อมที่จะปวด" กล่าวคือ ยิ่งปวดหัวบ่อย ยิ่งปวดเก่ง ไวต่อสิ่งกระตุ้นปวดง่ายขึ้น
จนแม้สัมผัสเบาๆ ก็ยังรู้สึกปวด หรืออยู่เฉยๆ ก็ปวดขึ้นมา
ภาวะนี้เรียกว่า Central sensitization
เป็นการอธิบายว่าเหตุใด ไมเกรนยิ่งปวดรุนแรงถี่ยิ่งเสี่ยงต่อการ 'ดื้อยา' บรรเทาอาการ และมีแนวโน้มปวดถี่ขึ้นเรื่อยๆ
🧠 ท่านที่สนใจ แนะนำดูวีดีโอนี้ค่ะ
🌻คนที่มีไมเกรนไม่บ่อย ช่วงกำลัง "ไฟไหม้"
ก็สามารถใช้ยาลดอักเสบ เช่น Ibuprofen, Naproxen หรือแม้แต่ steroid
หรือหากไม่ดีขึ้น แสดงว่าตัวก่อไฟแรงเหลือเกิน
ก็ใช้ยาออกฤทธิกด serotonin อย่าง Triptan หรือ cafergot ได้
ขณะที่ ผู้มีอาการ รุนแรงถี่ๆ เกิน 4 ครั้งต่อเดือนขึ้นไป ควรได้ยาปรับ 'climate' เป็นยาที่ทานทุกวันเพื่อปรับสารเคมีในสมอง ลดความ hyperexcite ลง เช่น ยากันชัก, ยาต้านซึมเศร้า
มียาใหม่ที่คล้าย 'วัคซีน' สกัดเจ้า CGRP ตัวก่อไฟ ฉีดเดือนละครั้ง สนนราคาก็ หมื่นกว่าบาทต่อเข็มเอง 😅
การออกกำลังกาย การปรับอาหาร ถือเป็น การปรับ climate ด้วยตนเองที่ไม่มีผลข้างเคียง และยั่งยืนค่ะ 🙂

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา