Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เศรษฐศาสตร์&การลงทุน
•
ติดตาม
3 พ.ย. 2019 เวลา 14:40 • การศึกษา
สรุปสภาวะ เงินฝืด และ เงินเฟ้อ
1
คำถาม
1) ถ้าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลไม่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเลยหรือออกแต่ไม่เพียงพอ (ยกตัวอย่างวิกฤติต้มยำกุ้ง) เงินจะเฟ้อหรือฝืด
ตอบ เงินจะฝืด เพราะเงินในระบบหดตัวอย่างรวดเร็วเพราะเกิดหนี้ศูนย์ > ข้าวของ สินค้า และ ราคาทรัพย์สินทุกชนิด(ยกเว้นทองคำเพราะมีสมบัติเหมือนเงินหรือสินค้าตามแต่สถานการณ์) จะถูกลงปริมาณเงินเท่าเดิมจะซื้อของได้มากขึ้น
ธนบัตรเก่าสมัยต้นรัชกาลที่๙ (ที่มาภาพจากของสะสมเพจ เศรษฐศาสตร์&การลงทุน)
2) ถ้าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลออกมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจอัดฉีดเงินเข้าระบบอุ้มหนี้เสีย เงินจะเฟ้อหรือฝืด
ตอบ ช่วงแรกๆเงินจะฝืดแต่เมื่อเวลาผ่านไปเงินจะเฟ้อ เพราะปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบจะยังไม่ลดลงมากเงินจะไม่ฝืดมาก > เมื่อหนี้เสียเริ่มดี สถานการณ์เริ่มคงที่เงินในระบบจะเพิ่มขึ้น > เกิดภาวะเงินเฟ้อ (ยกตัวอย่าง หลังวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์)
ภาวะเงินเฟ้อดี/เสีย ต่อใคร
ดี > 1) นักลงทุน 2)ผู้ถือครองทรัพย์สิน 3) ผู้มีหนี้สินที่ดอกเบี้ยต่ำเพื่อการลงทุน
เสีย > 1) พนักงานลูกจ้าง ราชการ ที่รับเงินเดือน 2) ผู้เกษียณอายุรับเงินบำนาญ 3) ผู้ถือครองเงินสด
ภาวะเงินฝืดดี/เสีย ต่อใคร
ดี> 1) พนักงานลูกจ้าง ราชการ ที่รับเงินเดือน 2)ผู้เกษียณอายุรับเงินบำนาญ 3)ผู้ถือครองเงินสด
เสีย > 1)นักลงทุน 2)ผู้ถือครองทรัพย์สิน 3)ผู้มีหนี้สิน (เพราะเงินทองหายาก จึงหามาจ่ายเจ้าหนี้ยาก)
เงินเฟ้อ สาเหตุ เกิดจากปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มมากขึ้นจาก
1)การขึ้นราคาของปัจจัยการผลิต ยกตัวอย่างน้ำมัน ค่าแรง
3
2)การเพิ่มขึ้นขึ้นราคาสินทรัพย์และผู้ขายสินทรัพย์ขายสินทรัพย์ได้สำเร็จ
3)การปล่อยกู้ที่มากขึ้น ทุกครั้งที่มีการปล่อยกู้ ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้น เช่นการออกพันธบัตรรัฐบาล
4)คนเก็บเงินนำเงินออกมาใช้ เพราะเงินที่ถูกเก็บไว้จะถูกปล่อยลงสู่การหมุนเวียนเศรษฐกิจในในข้อ5ที่กำลังจะกล่าว
5)การหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายมือของเงินในรอบๆที่มาก ในศัพท์วิชาการจึงเรียกเงินว่า currency ในภาษาชาวบ้านเรียกจับจ่ายใช้สอยคล่องมือ
6) การปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย เพราะจะทำให้เกิดการกู้เงินครั้งใหม่(สำคัญที่การกู้เงินตามที่บอก ทุกครั้งที่มีการปล่อยกู้ เงินขยายตัว) (แต่เงินบาทจะอ่อนค่า เพราะทุนไหลออก)
7) เงินทุนไหลเข้าประเทศที่แลกเป็นบาทแล้ว, กำไรจากบริษัทที่ลงทุนนอกราชอาณาจักรไหลเข้าประเทศที่แลกเป็นบาทแล้ว, กำไรจากการส่งออกที่แลกเป็นบาทแล้ว และเงินที่กล่าวมานี้ไหลเข้ากระจายสู่ระบบ (แต่เงินบาทจะแข็งค่า เพราะบาทหายาก)
ธนบัตรเก่าสมัยรัชกาลที่๘ (ที่มาภาพจากของสะสมเพจ เศรษฐศาสตร์&การลงทุน)
เงินฝืด สาเหตุ เกิดจากปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบลดลงจาก
1)การลดราคาของปัจจัยการผลิต ยกตัวอย่าง น้ำมันลด ค่าแรงลดเช่นบริษัทจ่าย 75%
2)การลดลงของราคาสินทรัพย์และผู้ขายสินทรัพย์ขายได้สำเร็จ เช่นราคาทองลดลง หุ้นราคาลดลง เศรษฐีล้มละลายขายที่ดินราคาขาดทุน(ราคาที่ดินราคาลดลง)
3)การผิดนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดหนี้ศูนย์เงินจะหายไปจากระบบแบบฮวบทันที
4)คนไม่ยอมใช้จ่ายเงินแต่จะเก็บออม ยิ่งต่างคนต่างเก็บออมเงินยิ่งฝืด โดยเฉพาะวัด มูลนิธิการกุศล เงินเก็บออมเยอะมากเยอะขึ้นเรื่อยๆไม่ค่อยนำออกมาใช้จ่าย (เพราะเงินที่ถูกเก็บไว้ไม่ได้เข้าไปอยู่ในระบบหมุนเวียนที่วิ่งๆอยู่ในระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะเงินที่เก็บนอกระบบการเงิน เช่นเงินในกระปุกออมสินเด็ก เงินในตู้เซฟเศรษฐี)
1
5)รอบการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของเงินลดลง ในภาษาชาวบ้านเรียก เศรษฐกิจฝืดเคือง คนอยากเก็บเงินสด
6) การปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย เพราะเงินในระบบจะหดจะหดตัวลงๆ ทุกครั้งที่ลูกหนี้ส่งดอกและต้น ตามระยะเวลาที่ปล่อยกู้ (แต่เงินบาทจะแข็งค่า เพราะทุนไหลเข้ามาซื้อพันธบัตรดอกเบี้ยสูง)
7) เงินทุนไหลออก เพราะเงินถูกสูบออกไหลออกนอกประเทศ (แต่เงินบาทจะอ่อนค่า เพราะบาทถูกขายเพื่อแลกเป็นดอลลาร์ นำออกนอกประเทศ บาทจะไปกองอยู่ที่ในกองทุนเงินตราระหว่างประเทศ ไม่กระจายสู่มือประชาชน)
นอกจากนี้เงินยังไหล เป็นชั้นๆ (เหมือนวรรณะในอินเดีย) คือเช่น ไหลดีในหมู่คนรวย (เงินเฟ้อ) เหือดแห้งในรากหญ้า (เงินฝืด) ดังนั้นเงินอาจจะทั้งเฟ้อและฝืดพร้อมกันได้ เพราะพฤกติกรรมการเปลี่ยนถ่ายทรัพย์สินกันในหมวดหมู่เดียวกัน เช่นคนรวยเข้าแต่ห้างซื้อแต่ของดีๆมีคุณภาพ
รากหญ้าก็ซื้อของแลกเปลี่ยนกันแต่ในหมู่รากหญ้า
อีกทั้งรากหญ้ายังถูกสูบเงินขึ้นไปข้างบน (ที่เคยพูดไปเมื่อสามสี่ปีก่อน เรื่องต้นไม้แห่งเงิน)
2
ภาวะข้าวยากหมากแพง คือราคาข้าวของแพงขึ้นๆ จริงๆแล้วคือภาวะเงินเฟ้อไม่ใช่ภาวะเงินฝืด เพราะของมันแพงขึ้นๆ คนมีเงินก็อยากจะรีบซื้อของจำเป็นนั้นมาเก็บกักตุ้น (อยากใช้เงินออกไป) และถ้าเก็บเงินไว้เงินจะยิ่งเสียมูลค่า(เงินเฟ้อ)ซื้อของชนิดเดิมปริมาณเท่าเดิมในราคาเดิมไม่ได้
1
เขียนโดย “เศรษฐศาสตร์&การลงทุน”
นพพร รุ่งอุทัย
31 ตุลาคม 2562
>> สนใจบทความคุณภาพรบกวนกดติดตามเพจ เพื่อกำลังใจในการเขียนบทความคุณภาพต่อไป ขอบคุณครับ
38 บันทึก
52
13
48
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐศาสตร์การเงิน
38
52
13
48
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย