Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เศรษฐศาสตร์&การลงทุน
•
ติดตาม
19 ม.ค. 2020 เวลา 10:12 • ความคิดเห็น
สรุปหลักการแข็งของค่าเงิน
ค่าเงินที่แข็งค่า เกิดจากความต้องการซื้อ และค่าเงินที่อ่อนค่าเกิดจากความต้องการขายค่าเงินนั้นๆ เพราะเงินก็คือสินค้าชนิดนึง ที่เมื่อความต้องการซื้อมากขึ้นเงินก็ขาดแคลนราคาก็พุ่งสูงขึ้นหรือแข็งค่าขึ้น เมื่อมีความต้องการขายมากขึ้นราคาก็ถูกลงหรืออ่อนค่าลง
ความต้องการซื้อและต้องการขายของเงิน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณเงินในระบบ โดย
เหรียญเก่า (ที่มาภาพจากของสะสมเพจ เศรษฐศาสตร์&การลงทุน)
1) ค่าเงินแข็งค่า เกิดจาก
1.1) ปริมาณเงินในระบบที่หมุนๆอยู่ มีน้อยหรือภาวะเงินฝืด (เงินที่หมุนในระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่เงินที่เก็บออม) เช่นเศรษฐกิจชรอตัว คนเก็บเงิน บริษัทเก็บเงินไม่ค่อยนำเงินมาใช้มาลงทุน หรือแม้แต่กระทั้งรัฐบาลผ่านร่างปีงบประมาณล่าช้าออกไป(เงินถูกดูดออกจากระบบผ่านการเก็บภาษี)
1.2) เงินทุนไหลเข้า ส่งผมให้มีความต้องการแลกเงินบาทมากเช่น บริษัทไปลงทุนต่างประเทศ ส่งกำไรกลับประเทศ หรือต่างชาตินำเงินต่างชาติมาแลกเงินบาท ช่วยๆกันแลก ความต้องการเงินบาทก็สูงขึ้น เงินบาทจึงแข็งค่าขึ้น
1.3) การปล่อยกู้น้อยลงหรือไม่มีการปล่อยกู้ ปริมาณเงินในระบบจะหดตัวลงๆตามระยะเวลาที่ลูกหนี้ส่งต้นและดอก (เงินฝืด)
1.4) ปริมาณเงินในระบบเราที่หมุนๆอยู่เท่าเดิม แต่!!ปริมาณเงินในระบบอื่นที่จะเทียบกับเรา เช่นเงินดอลลาร์สหรัฐมีปริมาณมากขึ้น(ปริมาณเงินที่มากขึ้นมีหลายสาเหตุที่หลักๆคือการปล่อยกู้ที่มากขึ้น หรือการทำ QE) ส่งผลให้เงินเรามีค่าขึ้นหรือแข็งค่าขึ้น
1.5) การเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้ เงินทุนไหลเข้าพันธบัตรในประเทศ และการเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายยังส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบลดลง(เงินฝืด)
2) เงินอ่อนค่า เกิดจากสาเหตุที่ตรงกันข้ามกันทุกประการกับเหตุผลข้างต้น
สรุปกล่าวอีกนัยคือ เงินก็คือสินค้าชนิดหนึ่ง ซึ่งถ้าเงินแข็งค่าขึ้น สินค้าอื่นๆหรือเงินอื่นๆ จะมีค่าลดลง
>ยกตัวอย่างนอกประเทศ เช่น ถ้าทองราคาขึ้น น้ำมันราคาขึ้น จะส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง
> ยกตัวอย่างอีกเช่น สมมุติทองราคาต่อดอลลาร์เท่าเดิม แต่เงินบาทแข็งค่าขึ้นๆ ทองที่ขายเป็นเงินบาทจะราคาถูกลง
ทั้งหมดนี่ คือสาเหตุของการแข็งค่า/อ่อนค่า และความสัมพันธ์ของค่าเงินทั้งหมด
ธนาบัตรประเทศออสเตรเลีย(ที่มาภาพเพจ เศรษฐศาสตร์&การลงทุน)
6 บันทึก
3
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐศาสตร์การเงิน
6
3
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย