Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอสมองประจำบ้าน
•
ติดตาม
14 พ.ย. 2019 เวลา 11:50 • ความคิดเห็น
จิตมีอิทธิพลต่อเซลล์ได้อย่างไร
( Resilience - วิทยาศาสตร์แห่งการผ่านวิกฤตภาค 2🙂)
เราทราบว่า ความสัมพันธ์ที่ดี (meaningful relationship) และ การเจริญสติ (mindfulness) ส่งผลดีต่อการฟื้นฟูสภาพ ช่วยดึงชีวิตกลับสู่สมดุล..ในบทความนี้จะกล่าวถึงกลไกผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ ตามทฤษฎี polyvagal ค่ะ
1
youtube.com
UK’s oldest person Grace Jones celebrates 112 years | ITV News
Grace Jones is celebrating a very special birthday this year as she is believed to be the oldest person in the UK. Born on 16 September 1906, life has change...
"ไฮไลท์ในชีวิตฉัน คือการที่มีโฮวาร์ด เป็นคู่ชีวิต"
"ฉันไม่เคยปล่อยให้ตัวเองตกในความกังวล"
คำตอบของ Grace Jones หญิงที่อายุยืนที่สุดในอังกฤษ ตอบนักข่าวถึงเคล็ดลับอายุยืน ในคราวฉลองวันเกิด 112 ปีของเธอ
หากท่านดูวีดีโอ สีหน้า น้ำเสียง ท่านจะสัมผัสอะไรบางอย่างที่ขอไว้เฉลยตอนท้ายค่ะ🙂
🌻 Polyvagal theory : พื้นฐานเรื่องกายจิตสัมพันธ์ ยามเผชิญวิกฤต (1)
WS.Porges นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน สังเกตสัตว์และมนุษย์และเสนอการตอบสนองต่อความรู้สึกไม่ปลอดภัย 3 ระดับ ตามวิวัฒนาการดังนี้
งู zombie แกล้งตาย https://www.mystateline.com
❤Freeze : คืออาการช็อค ชา สิ้นหวัง
เป็นการตอบสนองแบบดึกดำบรรพ์ (primitive) ที่สุด พบในสัตว์เลื้อยคลาน เช่นการแกล้งตาย (thanatosis), การจำศีล ในคนจะพบในภาวะรู้สึกมีวิกฤติคุกคามชีวิต
การทำงานของก้านสมอง ร่วมกับเส้นประสาท vagus ชั้นต้น ที่ควบคุมอวัยวะภายใน ทำงานมากขึ้น ส่งผลให้หัวใจเต้นช้า ลำไส้ปั่นป้วน
นกบินหนีเสือ https://images.app.goo.gl/Rdj7tjBTR7yGjwwC8
💛Fight or flight : การสู้เผชิญหน้า หรือวิ่งหนี ทั้งสองปฎิกิริยานี้ พบในสัตว์ปีก ในคนก็คืออารมณ์ โกรธ หรือ กลัว เวลารู้สึกไม่ปลอดภัยนั่นเอง
การทำงานของ amygdala ร่วมกับเส้นประสาท sympathetic ทำงานมากขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ปากคอแห้ง กล้ามเนื้อตึง
ฝูงลิง https://www.77jowo.com/contents/51947
💚Social engagement : การเข้าหาสังคม พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ชอบอยู่เป็นฝูง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย ภาวะนี้เกิดเมื่อ"เรารู้สึกปลอดภัย"
การทำงานของสมองส่วนหน้า VmPFC ร่วมกับเสันประสาท vagus ชั้นสูง ประสานกับเส้นประสาทอื่นๆ คุมส่วนในส่วนใบหน้า เช่นกล่องเสียงให้เสียงนุ่มนวล การแสดงสีหน้าที่เป็นมิตร
⭐ที่สำคัญ ช่วงนี้จิตใจและร่างกายได้รับการเยียวยาฟื้นฟู "Resilience"⭐
🍀แล้วอะไรเป็นผู้ตัดสิน ตีความสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เป็นระดับ แดง(วิกฤติ), เหลือง(ไม่ปลอดภัย) หรือ เขียว (ปลอดภัย) ให้ระบบประสาทอัตโนมัติ
สิ่งนี้ Purges เรียกว่า ประสาทการรับรู้ในระดับ"จิตใต้สำนึก" หรือ neuroception
ภาพจาก 2
🍀 ระบบประสาทอัตโนมัติ ส่งอิทธิพล ผ่านเม็ดเลือดแมคโครฟาก ทำให้เกิดการอักเสบ -> ส่งผลต่อไมโตคอนเดรีย ซึ่งทำหน้าที่เป็นเตาพลังงานของเซลล์ สร้างอนุมูลอิสระ ->มีผลต่อ DNA โดยเฉพาะความยาวของ Telomere อันเกี่ยวกับอายุยืนยาว
ดังภาพข้างล่าง
PFC = Prefrontal cortex สมองส่วนหน้า
SNS = Sympathetic ซิมพาเททิค
PNS = Parasympathetic พาราซิมพาเททืค
HRV = Heart Rate Varisbility ค่าแปรปรวนชีพจร แสดงสัดส่วนระหว่าง PNS / SNS
SNS ทำให้เกิดการอักเสบ สู้รบ
ในทางตรงข้าม PNS ทำให้เกิดการฟื้นฟู สร้างสรรค์
ภาพจาก 4
⭐โดยสรุป polyvagal theory ช่วยอธิยาย
1. ความเครียดระดับใต้จิตสำนึก-> อาการของโรค panic disorder, หัวใจสลาย
แม้เรา'คิดว่า'ตัวเองไม่เครียด แต่หาก neuroception รับรู้สถานการณ์ตึงเครียด ไม่ว่าจะ
ภายนอกร่างกาย เช่น สีหน้าคนรอบข้าง
ภายในร่างกาย เช่น การอดนอน ความกลัวลึกๆ
ร่างกายก็แสดงอาการ 'พานิค' เช่น ใจสั่น ปากแห้ง หรือถ้ารุนแรงมากอาจถึง ช็อคหมดสติ (4)
2.ความปลอดภัยในระดับจิตใต้สำนึก-> เยียวยาฟื้นฟูตนเอง ส่งเสริม resilience
ปัจจัยภายนอก คือความสัมพันธ์ที่มีความหมาย-กับ พ่อแม่ คู่ชีวิต เพื่อน หรือใครก็ตามทำให้รู้สึกปลอดภัย
ขณะที่ mindfulness เป็นการดึงความคิดจาก ความวิตกในอนาคตหรืออดีต มาปัจจุบัน...และเป็นการหยุดคิดเปรียบตนกับผู้อื่น จึง เป็นการสร้าง 'ความปลอดภัย' ด้วยตนเองค่ะ🌸
⭐ระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นสื่อกลางจิตสู่เซลล์ มีค่าหนึ่งที่เราวัดได้อย่างรูปธรรม (objective) คือ HRV ซึ่งจะกล่าวตอนต่อไปค่ะ⭐❤
Reference
1.
http://www.ensomatics.com/new-blog/2018/3/1/video-on-stephen-porges-polyvagal-theory
3.
https://www.frontiersin.org/articles/400273
4.
https://www.elitecme.com/resource-center/rehabilitation-therapy/neuroception-a-subconscious-system-for-detecting-threat-and-safety/
18 บันทึก
57
39
24
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
From Soul to Cell and Society
18
57
39
24
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย