7 พ.ย. 2019 เวลา 13:01 • สุขภาพ
Azithromycin “ในเด็ก” กินง่าย..หายไว..แต่..
Azithromycin เป็นยาฆ่าเชื้อในกลุ่ม Macrolide ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็ก โดยเรามักจะเคยได้ยินกันในเทรดเนมคือ Zithromax สาเหตุที่ยาตัวนี้นิยมนำมาใช้เนื่องจากตัวยารับประทานง่ายคือวันละครั้งเดียวและระยะเวลาการรักษาสั้น (3-5 วัน) รวมถึงมีผลข้างเคียงน้อย ดังนั้นในจึงมีอัตราการใช้สูงทั้งในโรงพยาบาลและร้านขายยา
Azithromycin ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนที่ 50S ของ Ribosomes และยับยั้งการเกิด protein translocation ความแตกต่างของ Azithromycin กับ Macrolide ตัวอื่นเช่น Erythromycin คือ Azithromycin มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อแกรมบวกได้ต่ำ แต่สามารถยับยั้งเชื้อแกรมลบเช่น Haemophilus influenzae และ Moraxella catarrhalis ได้มากกว่า
แต่ในปัจจุบันปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก การติดเชื้อดื้อยาส่งผลเสียต่อระบบสาธารณสุขอย่างมาก ทั้งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายในการรักษา ซึ่ง Azithromycin นี้เองก็เป็นหนึ่งในตัวที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะในเด็ก
ปัญหาที่สำคัญของเชื้อดื้อยาเกิดจากการใช้ยา Azithromycin ที่พบบ่อยคือ Macrolide-resistant pneumococci ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการดื้อยานี้เกิดจาก
- การใช้ยาฆ่าเชื้อในโรคไม่ติดเชื้อ (nonbacterial infections) เช่น ไข้หวัดทั่วไปที่เกิดจากเชื้อไวรัส
- การใช้ยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อกว้างเกินไป
- การใช้ขนาดยาไม่เหมาะสม
- ระยะเวลาการใช้ยาสั้นเกินไป
ปัจจุบันแม้ว่า Azithromycin จะมีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น pharyngitis, otitis media, lower respiratory infection แต่คำแนะนำของหลักฐานส่วนใหญ่ก็ไม่ได้จัดให้ Azithromycin เป็น first-line therapy ของการรักษา เช่น การรักษาการติดเชื้อในหูชั้นกลาง แนะนำให้ใช้ยากลุ่ม Beta-lactam antibiotic พบว่ามีอัตราการหายที่สูงกว่า ดังนั้น the American Academy of Pediatrics จึงแนะนำให้ใช้ Azithromycin ในกรณีที่แพ้ยากลุ่ม penicillin เท่านั้น
นอกจากนี้ในการรักษา community-acquired pneumonia (CAP) ที่เกิดจาก atypical bacteria เมื่อใช้ Azithromycin ร่วมกับ Cephalosporin antibiotic นอกจากจะทำให้การดื้อยายิ่งเพิ่มสูงขึ้นแล้ว Azithromycin ระดับต่ำในกระแสเลือดก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการรักษาที่ล้มเหลวด้วย
โดยสรุปแล้ว Azithromycin นั้นไม่ควรใช้ในเด็กที่ติดเชื้อจำพวกคอหอยอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หรือโรคปอดอักเสบแบบ CAP ในเด็กนั้น ยกเว้นในกรณีจำเป็นที่ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลไป เช่น ใช้เป็น second-line ในการรักษาเคส life-threatening ในผู้ป่วย bacterial pharyngitis ที่แพ้ยากลุ่ม beta-lactam
เอกสารอ้างอิง
Ovetchkine P and Rieder MJ. Azithromycin use in paediatrics: A practical overview. Paediatr Child Health 2013; 18(6). 311-3.
โฆษณา