Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
9 พ.ย. 2019 เวลา 04:14 • ประวัติศาสตร์
“พีระมิด (Pyramid) สิ่งมหัศจรรย์แห่งอียิปต์ตอนที่ 1
อียิปต์โบราณ
พีระมิดแห่งอียิปต์ นับเป็นสถานที่อัศจรรย์แห่งอียิปต์และดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยว นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์มากมาย
1
จนถึงปัจจุบัน ผู้คนก็ยังคงให้ความสนใจในความลี้ลับและอัศจรรย์ของพีระมิดแห่งอียิปต์ไม่เสื่อมคลาย
1
ซีรีย์ชุดนี้จะเป็นเรื่องราวของพีระมิดครับ
แต่ก่อนอื่น คงต้องเล่าเรื่องของประวัติศาสตร์อียิปต์กันก่อน
1
อียิปต์ นับเป็นดินแดนที่มั่งคั่งร่ำรวยในอดีต เนื่องจากอียิปต์นั้นตั้งอยู่ตลอดแนวแม่น้ำไนล์
ด้วยความที่อียิปต์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไนล์ ทุกปีที่มีน้ำท่วม น้ำก็จะท่วมให้ผืนดินอุดมสมบูรณ์
ในหลายๆ พื้นที่ การมีน้ำท่วมย่อมไม่ใช่เรื่องดี แต่ในอียิปต์ การที่น้ำท่วมทำให้ผืนดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งผืนดินที่อุดมสมบูรณ์นี้เรียกว่า “ดินแดนสีดำ (Kemet=Black Land)” ส่วนสองฝั่งของผืนดินนั้นเป็นทะเลทราย ซึ่งเรียกว่า “Deshret=Red Land” หรือ “ดินแดนสีแดง”
1
คนเกือบทั้งอียิปต์อาศัยในบริเวณดินแดนสีดำ และเลี้ยงชีพด้วยการปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ โดยแต่ละครอบครัวนั้นจะตุนเสบียงที่ปลูกไว้บริโภคตลอดปี
ส่วนทะเลทรายหรือ “ดินแดนสีแดง” นั้นทำหน้าที่ปกป้องไม่ให้ศัตรูภายนอกเข้ามาโจมตีได้ง่ายๆ และภูมิประเทศยังเป็นแอ่งน้ำ ทำให้ยิ่งโจมตียากเข้าไปอีก อียิปต์จึงปลอดภัยจากผู้รุกรานมาเป็นเวลานับร้อยปี
2
ส่วนเรื่องของการปกครองนั้น อียิปต์ก็มีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ โดยมีผู้ปกครองสูงสุดเรียกว่า “ฟาโรห์ (Pharaoh)”
อียิปต์ยามนั้นแบ่งออกเป็นสองชุมชน หนึ่งคือ “Upper Egypt” ซึ่งอยู่ทางใต้ แต่เหตุที่เรียกว่า Upper Egypt ก็เนื่องจากแม่น้ำไนล์ไหลจากทางใต้ขึ้นไปทางเหนือ Upper Egypt จึงอยู่ทางต้นน้ำ
1
อีกชุมชนหนึ่งคือ “Lower Egypt” อยู่ทางปลายน้ำ ใกล้กับบริเวณที่แม่น้ำแตกออกเป็นหลายสาย
ราว 3,100 ปีก่อนคริสตกาล ผู้ปกครอง Upper Egypt ชื่อ “นาร์เมอร์” ได้ยึดครอง Lower Egypt และรวมแผ่นดินเป็นหนึ่ง
2
นาร์เมอร์ได้ทำการสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ในจุดกึ่งกลางระหว่างดินแดนทั้งสอง เมืองแห่งนี้ชื่อว่า “เมมฟิส (Memphis)” และขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์
1
นาร์เมอร์ (Narmer)
ตามความเชื่อของอียิปต์โบราณ ฟาโรห์มีหน้าที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อียิปต์ ถึงแม้พระองค์จะสวรรคตไปแล้วก็ตาม ชาวอียิปต์โบราณจึงให้ความสำคัญแก่การเก็บรักษาพระบรมศพไม่ให้เน่าสลาย
สังคมอียิปต์ในเวลานั้นมีฟาโรห์อยู่จุดสูงสุด รองลงมาคือเชื้อพระวงศ์และขุนนาง รองลงมาอีกคือเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง นักปราชญ์ ช่างฝีมือ ศิลปิน ชาวนา จากนั้นก็คือทาส
1
นักปราชญ์นั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากพวกเขาจะได้เรียนการเขียนอักษรไฮเออโรกลีฟ (Hieroglyphs) ส่วนชาวนานั้นเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของอียิปต์ อีกทั้งยังเป็นแรงงานในการสร้างอียิปต์อีกด้วย
อักษรไฮเออโรกลีฟ (Hieroglyphs)
ประวัติศาสตร์ของอียิปต์นั้นแบ่งออกเป็นราชวงศ์ต่างๆ รวมทั้งหมด 31 ราชวงศ์ แบ่งออกเป็นสามช่วง คือ “อาณาจักรเก่า (Old Kingdom)” “อาณาจักรกลาง (Middle Kingdom)” และ “อาณาจักรใหม่ (New Kingdom)”
ตั้งแต่ราชวงศ์แรกนั้น ฟาโรห์ก็ทรงใส่พระทัยในการสร้างสถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์มาก
ในช่วงแรกๆ ฟาโรห์จะถูกฝังในเมืองอบีดอส (Abydos) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำไนล์
2
หลุมฝังพระบรมศพจะอยู่ในห้องใต้ดินที่ทำมาจากหิน แต่ในเวลาต่อมา การสร้างหลุมพระบรมศพก็ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งยังมีหลุมศพเล็กๆ รายล้อม
1
หลุมศพเล็กๆ เหล่านั้นอาจจะเป็นของเหล่าทาสรับใช้ที่ถูกฆ่า เพื่อให้วิญญาณตามไปรับใช้ฟาโรห์
หนึ่งในหลุมศพที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณเป็นของสตรีชื่อ “Merneith” ซึ่งเป็นมเหสีของฟาโรห์พระนามว่า “Djet”
Merneith
เมื่อฟาโรห์ Djet สวรรคต พระราชโอรสของพระองค์ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองแผ่นดิน
Merneith จึงต้องเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ในยุคต่อๆ มาต่างเชื่อกันว่า
Merneith คือฟาโรห์ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง Merneith จะเป็นฟาโรห์สตรีพระองค์แรกของโลกเลยทีเดียว
1
ฟาโรห์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ที่สามทรงมีพระนามว่า “โจเซอร์ (Djoser)”
ฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser)
ฟาโรห์โจเซอร์ได้ทรงแต่งตั้งผู้มีปัญญาให้ดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย หนึ่งในนั้นคือบัณฑิตชื่อ “อิมโฮเทป (Imhotep)”
2
อิมโฮเทป (Imhotep)
อิมโฮเทปได้ออกแบบสุสานแบบใหม่
นั่นคือพีระมิดแบบขั้นบันได
พีระมิดแบบขั้นบันไดตั้งอยู่ในเมือง “สักคารา (Saqqara)” และพีระมิดนี้ก็ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้
1
ค.ศ.1924 (พ.ศ.2467) นักโบราณคดีชาวอังกฤษชื่อ “ซีซิล เฟิร์ท (Cecil Firth)” ได้เข้าไปสำรวจในพีระมิดขั้นบันได
ซีซิล เฟิร์ท (Cecil Firth)
เฟิร์ทได้พบห้องที่ปิดสนิทและไม่มีประตู มีเพียงรูสองรูในระดับสายตาเท่านั้น
เมื่อเฟิร์ทมองเข้าไปในรูสองรูนั้น เขาก็พบกับรูปปั้นฟาโรห์โจเซอร์
ฟาโรห์ในยุคต่อๆ มาไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างพีระมิดนัก
“ฟาโรห์สเนฟรู (Sneferu)” ได้ทรงสร้าง “พีระมิดแดง (Red Pyramid)” ซึ่งเป็นพีระมิดแรกที่มีผนังเรียบ และได้ชื่อว่าพีระมิดแดงมาจากการที่มีแกนกลางทำมาจากหินทะเลทรายสีแดง
1
พีระมิดแดง (Red Pyramid)
พีระมิดแดงยังคงโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้ และนักวิทยาศาสตร์รวมถึงนักประวัติศาสตร์หลายคนต่างก็ยังเชื่อว่าห้องเก็บพระบรมศพของฟาโรห์สเนฟรูยังคงซุกซ่อนอยู่ภายใน รอที่จะถูกค้นพบ
เรื่องราวของพีระมิดแห่งอียิปต์จะเป็นอย่างไรต่อ ผมจะมาเล่าต่อในตอนหน้านะครับ
References:
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Ancient_Egypt
https://www.history.com/topics/ancient-history/ancient-egypt
https://www.britannica.com/place/ancient-Egypt
https://www.livescience.com/55578-egyptian-civilization.html
http://www.ancientpages.com/2018/03/20/merneith-mysterious-queen-in-the-land-of-the-pharaohs-could-be-earliest-attested-female-ruler/
https://www.ancient.eu/article/862/the-step-pyramid-of-djoser/
https://www.livescience.com/23050-step-pyramid-djoser.html
https://www.britannica.com/biography/Imhotep
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Red_Pyramid
1
106 บันทึก
298
27
40
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
“พีระมิด (Pyramid) สิ่งมหัศจรรย์แห่งอียิปต์
106
298
27
40
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย