11 พ.ย. 2019 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
“พีระมิด (Pyramid) สิ่งมหัศจรรย์แห่งอียิปต์ตอนที่ 2”
พีระมิดทั้งสามแห่งกิซา
“คูฟู (Khufu)” คือฟาโรห์พระองค์ถัดจากฟาโรห์สเนฟรู
พระองค์เป็นผู้สร้างพีระมิดแห่งแรกในบรรดา “พีระมิดทั้งสามแห่งกิซา (Great Pyramids of Giza)” ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์
พีระมิดทั้งสามนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่สี่ และตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงกิซา นอกกรุงไคโรในปัจจุบัน
1
ฟาโรห์คูฟู (Khufu)
พีระมิดทั้งสามแห่งกิซา (Great Pyramids of Giza)
พีระมิดนี้เป็นที่ตื่นตาตื่นใจและถูกปกคลุมด้วยหินปูนขาว และส่วนบนสุดนั้นจะมีหินที่มีลักษณะเหมือนกับพีระมิด เรียกว่า “Pyramidion” ซึ่งจะหุ้มด้วยทองคำ
1
Pyramidion
แกนกลางของพีระมิดนั้นทำมาจากแกรไนต์และหินทราย รวมทั้งหินปูนขาว ซึ่งหินปูนขาวนั้น ต่อมาก็ถูกกระเทาะออกเพื่อนำไปใช้สร้างตึกอื่นๆ
พีระมิดนั้นไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างหลายแห่งซึ่งรวมทั้งอาราม และจะมีการนำอาหารและเครื่องดื่มมาถวายให้พระบรมศพของฟาโรห์ โดยชาวอียิปต์นั้นเชื่อว่าพระประสงค์ของฟาโรห์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้พระองค์จะสวรรคตไปแล้ว แต่ชาวอียิปต์ก็ยังคงต้องสนองพระประสงค์
ได้มีการสร้างพีระมิดเล็กๆ อีกเป็นจำนวนมากสำหรับเชื้อพระวงศ์และขุนนางระดับสูง
พีระมิดแห่งคูฟู (Cheops) มีความสูง 481 ฟุต และสูงที่สุดในบรรดาพีระมิด
1
ฟาโรห์คูฟูได้รับสั่งให้พระราชนัดดาคือ “เฮมิวนู (Hemiunu)” เป็นผู้สร้างพีระมิด
แกรไนต์สำหรับสร้างพีระมิดนั้นจำเป็นต้องขนส่งมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ และการขนส่งก็มีทางเดียว คือขนมาทางแม่น้ำไนล์
แต่อียิปต์ไม่มีต้นไม้มากพอจะสร้างเรือได้ ฟาโรห์คูฟูจึงส่งคนไปยังเมืองบิบลอส ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของประเทศเลบานอนในปัจจุบัน
2
ชาวอียิปต์ได้สั่งซื้อต้นไม้เพื่อนำมาสร้างเรือ และขนส่งแกรไนต์
1
“ฟาโรห์เมนเคอเร (Menkaure)” เจ้าของพีระมิดแห่งที่สามในบรรดาพีระมิดสามแห่งนั้น ได้ชื่อว่าเป็นฟาโรห์ที่ทรงมีเมตตาที่สุดพระองค์หนึ่ง
สาเหตุที่พระองค์ได้รับการยกย่องเช่นนั้น อาจจะเป็นเพราะว่าพระองค์ไม่ได้บังคับให้คนงานทำงานหนักเพื่อก่อสร้างพีระมิด รวมทั้งพระองค์ยังมีสติปัญญาที่ชาญฉลาด
ฟาโรห์เมนเคอเร (Menkaure)
สำหรับผู้ปกปักที่ราบสูงกิซานั้น คือรูปปั้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีตัวเป็นสิงโตและหัวเป็นคน
นั่นคือ “สฟิงซ์ (Sphinx)”
สฟิงซ์ (Sphinx)
ในตรงกลาง ระหว่างอุ้งเท้าของสฟิงซ์นั้นคือแผ่นจารึกที่เรียกว่า “Stela”
Stela นั้นได้จารึกว่าขณะที่ฟาโรห์ได้ออกล่าสัตว์และเผลอบรรทม พระเจ้าได้เข้ามาในพระสุบินและสั่งให้ฟาโรห์จัดการปัดกวาดทรายที่ปกคลุมสฟิงซ์ และภายในเวลาต่อมา ได้มีการสร้างสฟิงซ์มาอีกเรื่อยๆ
1
ในช่วงราชวงศ์ที่สี่นี้เอง เป็นช่วงเวลาที่พีระมิดรุ่งเรืองที่สุด ต่อจากนั้น พีระมิดจะมีขนาดเล็กลง
ในช่วงราชวงศ์ที่ห้าและราชวงศ์ที่หก น้ำท่าเริ่มไม่อุดมสมบูรณ์ พืชผลปลูกไม่ได้ผลดี และแรงงานก็มีไม่มากนัก
ด้วยสภาพเช่นนี้ ทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงในเวลาต่อมา
ตลอดเวลากว่าร้อยปีต่อมา อียิปต์ก็ต้องพบเจอกับช่วงเวลาที่ดีและแย่ รวมถึงผู้รุกรานจากชนชาติอื่นๆ อีกด้วย
แต่พีระมิดก็ยังคงดำเนินต่อมาเรื่อยๆ
คำถามที่สำคัญคือ ชาวอียิปต์สร้างพีระมิดที่ใหญ่โตมโหฬารนี้ได้อย่างไร?
พีระมิดของฟาโรห์คูฟูพระองค์เดียวก็ต้องใช้หินกว่า 2.3 ล้านก้อน
หินหนึ่งก้อนหนักประมาณ 2.5 ตัน ซึ่งหนักเท่ากับรถบรรทุกคันเล็กๆ ในขณะที่บางก้อนหนักกว่า 80 ตันเลยทีเดียว
ปัจจุบัน ต่อให้เป็นรถบรรทุกสิบแปดล้อก็ยังไม่สามารถขนหินหนักขนาดนั้นได้ แต่ชาวอียิปต์โบราณต้องเคลื่อนย้ายหินเหล่านี้ด้วยแรงงานมนุษย์
คำถามคือ พวกเขาทำได้อย่างไร?
เรามาคุยกันถึงเรื่องคำตอบในตอนต่อไปกันดีกว่าครับ
โฆษณา