14 พ.ย. 2019 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
Modern China History 21
"จักรวรรดิญี่ปุ่นพ่ายแพ้"
หากลองย้อนไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อนๆคงเคยได้ยินหรือรู้จักเหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดสองลูกที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไข และแน่นอนว่าส่งผลถึงประเทศจีนทำให้ญี่ปุ่นถอนกำลังออกไปจากประเทศ
ภาพแสดงกลุ่มควันจากระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา
วันนี้จะขอเล่าถึงสาเหตุ(นอกเรื่องสักหน่อยคับ)ว่าทำไมญี่ปุ่นที่โดนทิ้งระเบิดใส่
ก็เพราะว่าในช่วงปี 1940 สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจในตอนนั้น ไม่พอใจที่ญี่ปุ่นรุกรานประเทศจีน จึงใช่มาตรการลดการซื้อขายสินค้ากับญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นขาดวัตถุดิบในการผลิตสินค้าในประเทศและการทำสงครามในตอนนั้น เช่น น้ำมัน ยางพารา เป็นต้น
ผู้นำทางทหารของญี่ปุ่นมองว่าสหรัฐดูหมิ่นศักดิ์ศรีกองทัพแห่งองค์มหาจักรพรรดิ ที่บีบให้ญี่ปุ่นเลิกการรุกรานประเทศจีน และแน่นอนญี่ปุ่นเปลี่ยนแผนใหม่ในเมื่อขาดทรัพยากรในการผลิตก็ต้องหาแหล่งใหม่ แหล่งใหม่ที่ว่านั่นคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีประเทศไทยบ้านเราอยู่ด้วยนั่นเอง จึงเกิดตำนานโกโบริในประเทศไทยขึ้นมา(ฮาฮา)
และในปี ค.ศ.1941 ญี่ปุ่นเริ่มเปิดสงครามกับสหรัฐอเมริกา โดยการส่งฝูงบินเข้าโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ประกาศสงครามกับประเทศญี่ปุ่น
กองบินญี่ปุ่นถล่มฐานทัพสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล
การสู้รบจึงเกิดขึ้นจนถึงปี 1945 สหรัฐอเมริกาตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่เมืองฮิโรชิมาในวันที่ 6 สิงหาคม และลูกที่สองที่เมืองนางาซากิในวันที่ 9 สิงหาคม เดือนเดียวกันนั้น หลังจากนั้นญี่ปุ่นจึงยอมแพ้สงครามอย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้นครับ
ภาพแสดงผู้รอดชีวิตในเมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น
กลับมาที่ภายในประเทศจีนหลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ความขัดแย้งระหว่างสองพรรค ก๊กมินตั๋งและคอมมิวนิสต์จีนก็เกิดขึ้นทันทีว่าใครจะมีสิทธิ์ริบอาวุธจากญี่ปุ่นและใครมีสิทธิ์ครอบครองดินแดนที่ญี่ปุ่นเคยยึดครองไว้ซึ่งล้วนแต่เป็นเมืองอุตสาหกรรมของประเทศจีน
สหรัฐอเมริกาในตอนนั้นได้ส่ง นายพลจอร์จ ซี มาร์แชล มาเป็นตัวกลางในการเจรจาให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันสร้างรัฐบาลร่วมที่แข่งแกร่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการปกครองประเทศ
การร่วมมือกันของทั้งสองพรรคต่อไปจากนี้จะเป็นไปได้นานแค่ไหนแล้วจะเกิดอะไรขึ้นอีก โปรดติดตามต่อไปนะครับ
สำหรับวันนี้ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะคร้าบ /\
4.ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ (History of Modern China), รศ.มาตยา อิงคนารถ, ภาควิชาประวัติศาสตร์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา