Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อมร ทองสุก
•
ติดตาม
14 พ.ย. 2019 เวลา 02:20 • สุขภาพ
ตำราฝังเข็ม (針灸學)
ภาคทฤษฎี
บทที่ 6 เส้นลมปราณ (經絡)
ทางหลวงแห่งชีวิต
ร่างกายของมนุษย์เป็นองค์รวมที่ไม่สามารถแยกขาดออกจากกันได้ สาเหตุเพราะอวัยวะภายในของร่างกายจะมีการเชื่อมโยงกันจนเกิดภาวะความสมดุล และสิ่งที่เชื่อมโยงอวัยวะเหล่านี้ก็คือเส้นลมปราณนั่นเอง
เส้นลมปราณ--ทางหลวงแห่งชีวิต
สมมุติว่าจังหวัดสุพรรณบุรีผลิตข้าว จังหวัดเชียงใหม่ผลิตผักผลไม้ หากจะให้ประชาชนของสองจังหวัดมีสารอาหารที่ครบถ้วน ทั้งสองจังหวัดก็จะต้องทำการแลกเปลี่ยนผลิตผลซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดทางหลวงในการลำเลียงแลกเปลี่ยนผลิตผลระหว่างสองจังหวัดขึ้น แต่หากวันใดได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบนทางหลวง ผลิตผลของสองจังหวัดก็จะไม่สามารถลำเลียงได้อย่างคล่องตัว เมื่อนั้น ความเสียหายย่อมต้องเกิดกับประชาชนของจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดเชียงใหม่เป็นแน่แท้
ความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดที่มีทางหลวงเชื่อมโยงกันเป็นฉันใด ความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะภายในที่มีเส้นลมปราณคอยเชื่อมโยงกัน ก็เป็นฉันนั้น
ตามหลักการทางการแพทย์แผนจีนนั้น ร่างกายของเราจะมีอวัยวะภายในหลัก ๆ อยู่สิบเอ็ดอวัยวะ (ห้าอวัยวะอินและหกอวัยวะหยาง) ทั้งสิบเอ็ดอวัยวะต่างมีหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพของร่างกายที่แตกต่างกันไป ไม่มีอวัยวะภายในใดที่สามารถทำหน้าที่ทุกอย่างได้ในอวัยวะเดียว
เช่น หัวใจมีหน้าที่ส่งโลหิตไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่หัวใจไม่มีทางทำหน้าที่ดูดซับสารอาหาร ขับคาร์บอนไดออกไซด์ หรือขับถ่ายของเสียได้อย่างแน่นอน ในเมื่อหัวใจมิอาจทำหน้าที่ทุกอย่างได้ภายในอวัยวะเดียว จึงจำเป็นต้องอาศัยการทำหน้าที่ของอวัยวะอื่น ๆ ในลักษณะพึ่งพากันและกัน โดยจะมีอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทำหน้าที่เด่นเกินไปไม่ได้ หรือจะทำหน้าที่อ่อนเกินไปก็ไม่ควร เช่นกระเพาะอาหาร หากกระเพาะอาหารทำหน้าที่ย่อยอาหารมากจนเกินไป ร่างกายจะเกิดความรู้สึกอยากทานอาหารอยู่ตลอดเวลา แต่หากอวัยวะอื่นไม่สามารถใช้พลังงานที่เกิดจากการทำหน้าที่ของกระเพาะได้ทัน ร่างกายโดยรวมก็จะต้องเกิดปัญหาอย่างแน่นอน
เมื่ออวัยวะทุกอวัยวะจะต้องทำหน้าที่ให้ผสานกันอย่างกลมกลืน แล้วอะไรที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงการทำงานของแต่ละอวัยวะล่ะ ? สิ่งนั้นก็คือทางหลวงของอวัยวะภายใน หรือก็คือเส้นลมปราณที่เชื่อมโยงอวัยวะทุกอวัยวะจนเกิดความสมดุลกันนั่นเอง
เส้นลมปราณเป็นสิ่งที่การแพทย์แผนจีนได้ค้นพบมาเนิ่นนานนับหลายพันปีแล้ว เส้นลมปราณจะไม่ใช่เส้นประสาท ไม่ใช่เส้นเอ็น ไม่ใช่เส้นโลหิต หากแต่คือเส้นทางหลวงที่ทำหน้าที่ส่งพลังเลือดลม พลังลมปราณ หรือกระทั่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ภายในร่างกาย
เส้นลมปราณสามารถแบ่งออกได้มากมายหลายชนิด มีลักษณะที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายอย่างละเอียดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่บรรพบุรุษเราก็ได้พยายามจัดระบบเส้นลมปราณจนเหลือเส้นลมปราณหลัก ๆ เพียง 14 เส้นเท่านั้นคือ เส้นปอด เส้นลำไส้ใหญ่ เส้นหัวใจ เส้นลำไส้เล็ก เส้นไต เส้นกระเพาะปัสสาวะ เส้นม้าม เส้นกระเพาะ เส้นเยื่อหุ้มหัวใจ เส้นซันเจียว เส้นตูม่าย และเส้นเยิ่นม่าย
บนเส้นลมปราณจะมีจุดที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคบางอย่างโดยเฉพาะ แพทย์จีนแต่โบราณได้ค้นพบคุณสมบัตินี้มานานแล้ว ดังนั้นจึงได้พัฒนาวิธีการกระตุ้นจุดที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคด้วยวิธีการฝังเข็มขึ้น จุดบนเส้นลมปราณต่าง ๆ เหล่านี้จึงถูกเรียกว่าจุดฝังเข็ม ซึ่งก็คือจุดที่แพทย์จีนใช้ในการฝังเข็มในปัจจุบันนี้นั่นเอง
4 บันทึก
3
6
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตำราฝังเข็ม (針灸學) ภาคทฤษฎี บทที่1-9
4
3
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย