18 พ.ย. 2019 เวลา 13:24 • การศึกษา
สหประชาชาติเตือนนโยบายพลาสติกที่ล้าหลังในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มประเทศที่มีวิกฤติขยะพลาสติกในทะเลรุนแรงที่สุดในโลก ได้รับคำเตือนจากสหประชาชาติ มาดูรายละเอียดกันค่ะ
ประเภทเนื้อหา : ความรู้ทั่วไปเรื่องสิ่งแวดล้อม
บทความสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ขยะพลาสติกในอาเซียน
หน่วยงานประเมินนโยบายสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ หรือ UNEP ซึ่งดูแลเกี่ยวกับนโยบายขยะพลาสติกระบุว่า นโยบายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ และการบังคับใช้ที่อ่อนแอ กำลังทำให้ปัญหามลพิษพลาสติกในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แย่ลง
รายงานได้ให้คำแนะนำว่านโยบายของอาเซียนที่มีความกลมกลืนกันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่างๆในการแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติก
นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่าประเทศต่างๆจะได้รับประโยชน์จากการตั้งศูนย์กลางเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกันในภูมิภาคอาเซียนเพื่อการรีไซเคิลและติดตามการค้าขยะพลาสติก
Kakuko Nagatani-Yoshida ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคด้านสารเคมีและขยะของเอเชียกล่าวว่า "อาเซี่ยนเป็นแหล่งที่มาหลักและเป็นเหยื่อของพลาสติกซึ่งมีอยู่เต็มทะเลและคุกคามต่อการดำรงชีวิตและระบบนิเวศน์วิทยา
เขาย้ำด้วยประโยคสะเทือนใจว่า
"ถ้าเราต้องการแก้ปัญหาขยะทะเลทั่วโลกเราต้องแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้เป็นลำดับแรก"
มากกว่าครึ่งของมลพิษพลาสติกในมหาสมุทรของเรามีต้นกำเนิดมาจากห้าประเทศเท่านั้น
ขอย้ำประโยคนี่อีกครั้ง!!
มากกว่าครึ่งของมลพิษพลาสติกในมหาสมุทรของเรามีต้นกำเนิดมาจากห้าประเทศเท่านั้น
ชัดไหมค่ะ ว่าต้นตอขยะพลาสติก ครึ่งหนึ่งของโลกใบนี้ มาจาก 5 ประเทศ และ 4 ประเทศที่ว่าอยู่ในอาเซี่ยนนี่เองค่ะ
จากรายงานระบุว่า ประเทศจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนามและไทย ทิ้งขยะลงทะเลรวมกันคิดเป็นกว่า 60% ของขยะพลาสติกทั้งหมดที่ถูกปล่อยลงทะเลทั่วโลก
5 ประเทศที่สร้างขยะในทะเลสูงสุด มีความสามารถในการจัดการขยะจะเพียง 40% ขยะที่เหลือจะอยู่ในธรรมชาติและทะเล 📷 the_plasticfree_people
ซึ่งข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษในปี 2558 พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะพลาสติกและโฟมมากถึง 2.7 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 7,000 ตันต่อวัน แบ่งเป็นขยะพลาสติกร้อยละ 80 หรือ 5,300 ตันต่อวัน อละการย่อยสลายตามธรรมชาติแทบเป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่าง ขวดพลาสติก ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่า 450 ปี
2
ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 6 ในเรื่องของการปล่อยขยะพลาสติกลงในมหาสมุทร
และถูกระบุว่า เป็นประเทศที่มีวิกฤติการณ์ขยะทะเลรุนแรงที่สุดในโลก
*อันดับอาจมีการเปลี่ยนแปลง
คลิปยูทูป แพขยะยาว 10 กิโลเมตรในอ่าวไทย
เพราะฉะนั้น!! ประชากรอาเซี่ยนต้องตระหนักเรื่องขยะพลาสติกกันอย่างจริงจัง
และนับตั้งแต่นาทีนี้เป็นต้นไป เราอาจจะเห็นมาตรการที่เข้มข้นเพื่อสิ่งแวดล้อม จากเหล่าประเทศในอาเซียน รวมทั้งประเทศไทยของเราเอง
อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆกันนะคะ
ซึ่งมลพิษขยะพลาสติกนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไม่เพียงเฉพาะผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ขยะพลาสติกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพียงอย่างเดียวส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การประมงและการขนส่งคิดเป็นมูลค่าราว 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีเลยทีเดียว
เพิ่มเติม สาระด้านสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานสำคัญของสหประชาชาติ ที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมในทะเล ในอาเซียน ประกอบไปด้วย
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)
1. UNEP โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติซึ่งเป็นหน่วยงานหลักระดับโลก ที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อม
2. COBSEA
หน่วยงานประสานงานในทะเลแห่งเอเชียตะวันออก เป็นกลไกระหว่างรัฐบาลระดับภูมิภาค
เป็นหน่วยงานที่ตัดสินใจสำหรับแผนปฏิบัติการทะเลเอเชียตะวันออกโดยมีเก้าประเทศ ได้แก่ กัมพูชา
สาธารณรัฐประชาชนจีน
อินโดนีเซีย
สาธารณรัฐเกาหลี
มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์
ไทย
สิงคโปร์
เวียดนาม
เพื่อการปกป้องและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกอย่างยั่งยืน
3. SEA Circular
เป็นความคิดริเริ่มจาก UNEP และ COBSEA
เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้เกิดนโยบายในการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกจากทะเล
โครงการนี้ทำงานในหกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: กัมพูชา, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทยและเวียดนามตั้งแต่ปีพ. ศ. 2562-2566 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสวีเดน
Ref.
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
18.11.2019
โฆษณา