19 พ.ย. 2019 เวลา 12:30 • การศึกษา
“ค่าล่วงเวลามีวิธีคิดยังไง?”
บทความนี้จะต่อเนื่องจากบทความล่าสุดในซีรีส์กฎหมายแรงงาน เรื่องนายจ้างจะสามารถบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา (โอที) ได้หรือไม่?
แต่ถ้าใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความนั้นก็ไม่เป็นไรครับ เพราะสามารถอ่านบทความนี้ได้เข้าใจเหมือนกัน โดยบทความนี้จะพูดถึงวิธีการคำนวณค่าล่วงเวลา
pixabay
ค่าล่วงเวลานั้น กฎหมายได้กำหนดวิธีการคิดคำนวณไว้อย่างชัดเจน ไม่ใช่ว่าจะจ่ายเท่าไหร่ก็ได้ตามแต่ความพอใจของนายจ้าง
ซึ่งกฎหมายได้กำหนดวิธีการคำนวณค่าล่วงเวลาไว้อย่างนี้ครับ
1) ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติ
- ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
2) ค่าทำงานในวันหยุด (เช่นวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์)
2.1 กรณีลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (เช่น พนักงานเงินเดือนทั่วไป)
- ไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
2.2 กรณีลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (เช่น พนักงานที่รับค่าจ้างเป็นรายวัน)
- ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
3) ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
- ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
วิธีการคำนวณค่าล่วงเวลา สมมติว่าลูกจ้างเงินเดือน 30,000 บาทจะได้รับค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติชั่วโมงละเท่าไหร่?
3
ค่าจ้าง 30,000 ÷ 30 วัน = 1,000 บาทต่อวัน
หากทำงานวันละ 8 ชั่วโมง 1,000 ÷ 8 = 125 บาทต่อชั่วโมง
ค่าจ้างต่อชั่วโมง 125 x 1.5 = 187.5 บาท
สรุปว่า ลูกจ้างคนนี้จะได้ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติชั่วโมงละ 187.5 บาท
ถามต่อว่า หากนายจ้างจะให้ค่าล่วงเวลามากกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดได้หรือไม่?
กฎหมายแรงงานถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่นายจ้างจะต้องปฏิบัติต่อลูกจ้าง หากสิ่งไหนที่นายจ้างสามารถให้ลูกจ้าง “ได้ประโยชน์” มากว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็สามารถทำได้
แต่จะให้น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้
รู้หรือไม่?
ยังมีลูกจ้างบางประเภทที่กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างดังกล่าว “ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด”
ซึ่งผมจะนำเสนอในคราวต่อไปครับ
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา