29 พ.ย. 2019 เวลา 07:00 • ประวัติศาสตร์
"นายกโจว 6"
ในปี ค.ศ.1926 เจียงไคเชกได้นำกำลังทัพก๊กมินตั๋งรุกขึ้นทางภาคเหนือของประเทศจีนเพื่อปราบปราบขุนศึกและรวมประเทศตามเป้าหมายแต่เดิมที่ตั้งใจไว้
การรุกขึ้นเหนือเพื่อปราบปราบศัตรูเป็นไปได้ด้วยดี ในขณะนั้นภายในพรรคร่วมจึงเริ่มมีการแข่งขันกันระหว่างฝ่ายขวาของเจียงและฝ่ายซ้ายของคอมมิวนิสต์เพื่อเข้าควบคุมเมืองสำคัญต่างๆทางภาคใต้ เช่น นานกิง และ เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น
เซี่ยงไฮ้ในขณะนั้นกำลังถูกควบคุมโดยขุนศึก ชื่อ ซุนชวนฟาง (Sun Chuanfang) ซึ่งตอนนั้นได้ส่งกองทัพเพื่อเข้าต่อสู้กับทัพของเจียงไคเชกที่ภาคเหนือ ทำให้ซุนลดกำลังพลที่เมืองเซี่ยงไฮ้ลง
จึงเป็นโอกาสที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งตอนนั้นมีสำนักงานอยู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ได้พยายามเข้ายึดอำนาจปกครองในเมืองเซี่ยงไฮ้ถึงสามครั้ง
หลังจากพ้นจากหน้าที่ในสถาบันวัมเปา โจวเอินไหลก็กลับมาทำหน้าที่ในพรรคคอมมิวนิสต์และเขาได้ถูกส่งตัวไปยังเซี่ยงไฮ้เพื่อดูแลกิจกรรมของพรรคในเหตุการณ์เดียวกัน
1
โจวเอินไหลในช่วงเวลาที่ทำงานในสถาบันวัมเปา (1924)
โจวเอินไหลมีบทบาทสำคัญในการพยายามเข้ายึดอำนาจในครั้งที่ 2และ3 ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ โดยมีส่วนในการจัดการและออกคำสั่ง
การจลาจลครั้งที่ 3 ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1927 ภายใต้การปลุกระดมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้คนงานกว่า 600,000คน ได้ตัดสายไฟและสายโทรศัพท์และใช้กำลังเข้าต่อสู้ยึดที่ทำการไปรษณีย์ของเมือง, สำนักงานใหญ่ตำรวจ, และสถานีรถไฟ
การจลาจลครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ กองกำลังของซุนชวนฟางได้ถอนออกจากเมืองเซี่ยงไฮ้ในที่สุด
1
เมื่อเรื่องนี้ได้ถูกรายงานไปถึงเจียงไคเชก เขาจึงวางแผน สั่งสายของเขาในเมืองเซี่ยงไฮ้ชื่อว่า Big-eared Du ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลในเมืองเซี่ยงไฮ้ ให้วางแผนลอบสังหารผู้นำการจลาจลของคอมมิวนิสต์จีน
เจียงไคเชก (1926) ขณะรุกขึ้นเหนือเพื่อปราบปรามขุนศึก
หวังโซวฮว้า (Wang Shouhua) และโจวเอินไหล ซึ่งเป็นผู้นำในการก่อจลาจลจนประสบความสำเร็จในครั้งนั้น ได้ถูกชักชวนโดย ตู๋เยวเซิง (Du Yuesheng) หรือ มีฉายาว่า Big-eared Du ให้มารับประทานอาหารด้วยกัน ซึ่งคนทั้งสองก็ตอบรับคำเชิญ แต่หารู้ไม่ว่านี่คือกับดักที่เจียงไคเชกได้วางไว้
ตู๋เยวเซิง (Du Yuesheng)
เมื่อมาถึง หวังโซวฮว้า ถูกลอบสังหารโดยการรัดคอ แต่โจวเอินไหลรอดตายมาได้แต่ก็ถูกจับกุมโดยกลุ่มของ Big-eared Du
วันถัดมา 12 เมษายน ค.ศ.1927 กองกำลังของเจียงไคเชกก็ยกทัพเข้าเมืองเซี่ยงไฮ้และปราบปราบสมาชิกคอมมิวนิสต์จีนรวมถึงคนงานที่ก่อการกบฎในครั้งนั้นและยึดอำนาจเมืองเซี่ยงไฮ้คืนอย่างง่ายดาย เนื่องจากอาวุธและกำลังที่เหนือกว่าและตอนนั้นทางฝ่ายกลุ่มจลาจลก็ขาดผู้นำอีกด้วย
เจ้าหน้าที่ตำรวจก๊กมินตั๋งขณะจับกุมผู้ต้องหาก่อจลาจลที่เซี่ยงไฮ้ (1927)
เรื่องราวของโจวเอินไหลจะเป็นอย่างไรต่อไปโปรดติดตามได้ในตอนถัดไป สำหรับวันนี้ขอบคุณที่ติดตามครับ/\
References:
โฆษณา