Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิพากษ์ประวัติศาสตร์ CRITICAL HISTORY
•
ติดตาม
1 ธ.ค. 2019 เวลา 06:30 • ประวัติศาสตร์
นานาชาติในภาษาไทย – จีน
คำว่า จีน มีการตั้งสมมติฐานของที่มาอยู่หลายทฤษฎี แต่ทฤษฎีที่เชื่อกันมากที่สุดคือมีรากศัพท์มาจาก ฉิน (秦) ในสำเนียงจีนเก่า (Old Chinese) มีการวิเคราะห์ว่าออกเสียง [dz]i[n]
มีหลายคนเชื่อว่ามาจากการที่ฉินสื่อหวง (秦始皇) หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ผู้เป็นประมุขของรัฐฉิน สามารถรวมแผ่นดินจีนที่แตกเป็นเจ็ดรัฐให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ และสถาปนา “ฉิน” เป็นจักรวรรดิแห่งแรกของแผ่นดินจีนเมื่อ ๒๒๑ ปีก่อนคริสตกาล จึงทำให้ชื่อนี้กลายเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ
ฉินสื่อหวง (秦始皇) หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ภาพวาดจากจินตนาการ
อย่างไรก็ตาม คำว่า “จีน” (อ่านว่า จี-นะ) ปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรภาษาบาลี-สันสกฤตก่อนยุคสถาปนาจักรวรรดิฉินยาวนานมาก โดยเฉพาะในวรรณกรรมในอนุทวีปอินเดีย เช่น พระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถศาสตร์ คัมภีร์มนูศาสตร์ มหาภารตะ ฯลฯ
จึงนำมาสู่ข้อสันนิษฐานว่า “จีน” น่าจะมาจากชื่อรัฐฉินโบราณก่อนยุคฉินสื่อหวงสถาปนาจักรวรรดิมากกว่า เนื่องจากรัฐฉินเป็นรัฐโบราณทางตะวันตกที่ก่อตั้งตั้งแต่ประมาณ ๙๐๐ ปีก่อนคริสตกาล มีการทำสงครามกับอานารยชนทางตะวันตกหรือ ซีหรง (西戎) อยู่บ่อยครั้ง
นอกจากนี้น่าจะมีการติดต่อค้าขายสัญจรไปมากับดินแดนทางตะวันตกด้วย ทำให้ชื่อรัฐฉินกลายเป็นที่รู้จักในดินแดนเอเชียกลาง แล้วแพร่หลายเข้าไปในอินเดียในเวลาต่อมา
ใบหน้าตุ๊กตาดินเผาในสุสานฉินสื่อหวง
ซ้าย : เศียรปูนปั้นของกษัตริย์อาณาจักรแบคเตรียในเอเชียกลาง ขวา : ศีรษะทหารดินเผาในสุสานฉินสื่อหวง
ทั้งนี้ยังมีข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ด้วยว่ากองทัพทหารดินเผาในสมัยราชวงศ์ฉิน อาจได้รับอิทธิพลจากศิลปะกรีกซึ่งแผ่อิทธิพลมาครอบครองเอเชียกลางและอินเดียในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชด้วย
ในวัฒนธรรมตะวันตกมีการเรียกชื่อจีนมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ โดยเรียกว่า Thina หรือ Sina และปรากฏในวรรณกรรมเรื่องบันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน (Περίπλους της Ερυθράς Θαλάσσης, Períplous tis Erythrás Thalássis) ที่เขียนในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑ เรียกว่า Thin (θίν) ส่วนภาษาละตินเรียกว่า Sina ซึ่งเป็นที่มาของคำนำหน้า Sino- หรือ Sin- ในเวลาต่อมา
ส่วนคำว่า China ในภาษาอังกฤษ มีการวิเคราะห์ว่ามาจากคำว่าจีนในภาษาเปอร์เซียยุคกลาง ( Middle Persian) คือ จีนี (Chīnī چین) เพิ่งปรากฏหลักฐานการใช้งานครั้งแรกในบันทึกของ ดูอาร์เต บาร์บอซา (Duarte Barbosa) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเมื่อ ค.ศ. ๑๕๑๖ แล้วแผ่ขยายไปทั่วโลกโดยการแผลงเรียกแตกต่างกันไปในหลายประเทศ
สำหรับคำว่า "จีน" ในภาษาไทย เข้าใจว่ารับมาจากคำว่า จีน (चीन) ในภาษาบาลีสันสกฤตโดยตรง เพราะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการติดต่อกับอนุทวีปอินเดียตั้งแต่โบราณ
ภาพวาดพระราชวังต้องห้าม ศูนย์กลางการปกครองของจีนสมัยราชวงศ์หมิงและชิง ศิลปะสมัยราชวงศ์หมิง
บรรณานุกรม
- Axel Schuessler (2006). ABC Etymological Dictionary of Old Chinese. University of Hawai'i Press. p. 429. ISBN 978-0824829759.
- The American Heritage Dictionary of the English Language, 4th ed (AHD4). Boston and New York, Houghton-Mifflin, 2000, entries china, Qin, Sino-.
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Names_of_China
-
https://www.historicmysteries.com/how-were-the-terracotta-soldiers-made/
บันทึก
4
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นานาชาติในภาษาไทย
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย