4 ธ.ค. 2019 เวลา 06:00 • ประวัติศาสตร์
"นายกโจว 10"
หลังจากการก่อตั้งฐานที่มั่นใหม่ที่มณฑลส่านซี ได้สำเร็จไม่นาน ก็มีการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 7 โดยสาระในที่ประชุมคือการเปลี่ยนนโยบายต่อต้านเจียงไคเช็คและญี่ปุ่น เป็น การร่วมมือกับเจียงไคเชกเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นแทน
เพราะในขณะนั้นอิทธิพลของจักรวรรดิญี่ปุ่นกำลังคืบคลานเข้ามาในประเทศจีนมากขึ้นเรื่อยๆ จำต้องร่วมมือสามัคคีกันหาทางปกป้องประเทศเป็นอันดับแรกก่อนและเจียงไคเชกเองเป็นผู้ที่มีอำนาจสั่งการกองกำลังทหารจำนวนมากของประเทศที่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยพร้อมพอทีจะสู้รบกับญี่ปุ่นได้ในขณะนั้น
โจวเอินไหล (1936)
โจวเอินไหลเห็นด้วยที่จะดำเนินนโยบายดังกล่าว เขาจึงวางแผนการที่จะโน้มน้าวฝ่ายก๊กมินตั๋งให้ยุติสงครามการเมืองและหันมาร่วมมือกันต่อต้านญี่ปุ่น
โจวได้ติดต่อไปยังผู้บัญชาการกองทัพผู้มีอำนาจมากที่สุดในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของก๊กมินตั๋ง จางเสวเหลียง(Zhang Xueliang)ผู้ซึ่งมีอุดมการณ์ในการต่อต้านญี่ปุ่นอย่างจริงจัง
จางเสวเหลียง(Zhang Xueliang,ซ้าย)และ เจียงไคเชก(ขวา)
เมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ.1936 โจวและจางได้นัดพบเพื่อปรึกษาหารือกันในโบสถ์แห่งหนึ่ง การพูดคุยครั้งนี้จบลงด้วยดี จาง ตกลงที่จะร่วมมือกับโจวอย่างเป็นความลับในการวางแผนดำเนินการ เพื่อบรรลุความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในการต่อต้านญี่ปุ่น
เจียงไคเชกเองในตอนนั้นก็กำลังสั่งให้จางปราบปรามคอมมิวนิสต์จีนที่ส่านซีอยู่ แต่การดำเนินการของจางเป็นไปอย่างล่าช้า เจียงจึงจับพิรุธได้และบินมาส่านซีด้วยตนเองเพื่อทดสอบความจงรักภักรดีของจางและต้องการมาบัญชาการทัพเข้าปราบคอมมิวนิสต์ด้วยตัวของเขาเอง
1
โจวเอินไหลและจางเสวเหลียง เห็นว่าเป็นโอกาสสำคัญจึงได้วางแผนเข้าจับกุมตัวเจียงไคเช็กขณะอยู่ที่เมืองซีอาน มณฑลส่านซี
เจียงไคเชกขณะมาถึงที่เมืองซีอาน
หลังจากที่เจียงถูกจับกุมไว้ ก็ได้มีการหารือกันในพรรค เกี่ยวกับโชคชะตาของเจียงไคเชกที่ตอนนี้กำลังตกอยู่ในมือของฝ่ายคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งแตกออกเป็นสองฝ่าย
ฝ่ายหนึ่งอย่างเหมาเจ๋อตงและจูเต๋อ เห็นว่าเป็นโอกาสในการสังหารเจียง ขจัดเสี้ยนหนามทางการเมืองให้หมดไป อีกฝ่ายคือ โจวเอินไหล และจางเหวินเทียน ยังคงเป้าหมายเดิมคือต้องการต่อต้านญี่ปุ่นก่อนซึ่งจำเป็นต้องยืมมือเจียงไคเช็ก
การถกเถียงกันภายในพรรคได้จบลง เมื่อโจเซฟสตาลิน ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในรัสเซีย ได้ส่งคำกล่าวสนับสนุนให้พรรคปล่อยตัวเจียงไคเชกไปและร่วมมือกับเจียงเพราะเขาเป็นคนเดียวเท่านั้นที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศที่จะต่อต้านญี่ปุ่นได้
1
โจเซฟ สตาลิน
ดังนั้น โจวเอินไหลจึงได้บินไปยังซีอานมณฑลส่านซีในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.1936 เพื่อเข้าเจรจากับเจียงที่กำลังถูกจับตัวอยู่ที่นั่น
การพบกันครั้งนี้ระหว่างโจวเอินไหลและเจียงไคเชกนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ โจวเอินไหลได้ออกจากสถาบันทหารวัมเปาที่เขาเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของเจียง
โจวเอินไหล(ซ้าย) เจียงไคเชก(ขวา) ในสมัยทำงานร่วมกันที่สถาบันทหารวัมเปา
ได้มีการบันทึกการสนทนาในครั้งนั้นดังนี้ครับ
โจวเอินไหลเริ่มบทสนทนา: " เราไม่ได้พบกันตั้ง 10 ปี คุณดูแก่ลงไปแค่เล็กน้อยเท่านั้น"
เจียงไคเชก ผงกหน้าและพูดว่า: "เอินไหล คุณคือผู้ใต้บังคับบัญชาของผม คุณควรทำตามที่ผมพูด"
บทสนทนาดำเนินไป
1
สุดท้ายโจวกล่าวว่า:" ถ้าคุณยอมหยุดสงครามการเมืองและหันมาต่อต้านญี่ปุ่นแทน กองทัพแดงของเราก็เต็มใจที่จะรับคำสั่งของคุณ"
1
บทสนทนาจบลงด้วยการที่เจียงไคเชกยอมร่วมมือด้วยและยุติสงครามการเมืองลง (ชั่วคราว) เขายังได้เชิญโจวเอินไหลไปนานกิงเพื่อปรึกษาหารือวางแผนต่อต้านญี่ปุ่นต่อไป
ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1936 จางจึงปล่อยเจียงกลับไปสู่เมืองนานกิง และความร่วมมือในการต่อต้านญี่ปุ่นจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น
บทบาทของโจวเอินไหลในเหตุการณ์สู้รบกับจักรวรรดิญี่ปุ่นจะเป็นอย่างไรต่อไป โปรดติดตามได้ในตอนถัดไปครับ
สำหรับวันนี้ขอบคุณที่ติดตามครับ/\
References:
โฆษณา