5 ธ.ค. 2019 เวลา 07:00 • ประวัติศาสตร์
"นายกโจว 11"
ในเดือน กรกฎาคม ค.ศ.1937 สงครามระหว่างจีนและญี่ปุ่นได้ประทุขึ้นครั้งแรกจากเหตุการณ์สะพานมาโคโปโลในประเทศจีน ในเหตุการณ์นั้นญี่ปุ่นอ้างว่ามีทหารของตนหายไปและคาดว่าจะเข้าไปหลบซ่อนในเมืองหว่านผิง จึงจะขอนำกำลังเข้าไปตรวจค้นในเมืองถ้าขัดขวางทางญี่ปุ่นจะยิงปืนใหญ่และนำกำลังเข้าโจมตี
แต่ทางฝั่งก๊กมินตั๋งปฎิเสธ ทางญี่ปุ่นจึงนำทัพเดินข้ามสะพานมาโคโปโลซื่งเป็นสะพานที่ใช้เพื่อเข้าโจมตีเมืองหว่านผิง เกิดการต่อสู้กันระหว่างทหารจีนก๊กมินตั๋งและญี่ปุ่นขึ้น
กองทัพก๊กมินตั๋งกำลังสู้รบกับจักรวรรดิญี่ปุ่นที่สะพานมาโคโปโล ประเทศจีน
สะพานมาโคโปโลที่กรุงปักกิ่งปัจจุบัน
สุดท้ายญี่ปุ่นด้วยกำลังที่น้อยกว่าฝั่งก๊กมินตั๋งจึงเจรจาขอสงบศึกชั่วคราว เหตุการณ์นี้บ้างก็ว่าญี่ปุ่นต้องการที่จะขยายอำนาจลงมายังทางภาคกลางของจีนหลังจากที่ยึดครองแผ่นดินบางส่วนทางภาคเหนือของจีนได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เหตุการณ์นี้เป็นชนวนทำให้เกิดการสู้รบระหว่างจีนและญี่ปุ่นในอีกหลายครั้งบนแผ่นดินจีน
1
บทบาทของโจวเอินไหลขณะที่เป็นผู้นำตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋ง ที่สำคัญคือ
การจัดแคมเปญรณรงค์ต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่นโดยร่วมมือกับปัญญาชนและศิลปินในสมัยนั้น เพื่อปลุกระดมมวลชนให้สนับสนุนการต่อต้านญี่ปุ่น ซึ่งประสบผลสำเร็จประชนชนออกมาร่วมกิจกรรมจำนวนมากและยังได้เงินสนับสนุนกว่าหนึ่งล้านหยวนจากแคมเปญนั้น
โจวเอินไหลในเครื่องแบบทหารก๊กมินตั๋ง ค.ศ.1937
โจวเอินไหลยังมีส่วนสำคัญในเหตุการณ์ ที่ญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองนานกิงซึ่งเป็นเมืองยุทธศาตร์ของก๊กมินตั๋งได้สำเร็จในวันที่ 13 เดือนธันวาคม ค.ศ.1937 ในครั้งนั้นเขาเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่เจียงไคเชกให้ถอยทัพไปยังเมืองอู่ฮั่น เพื่อเป็นฐานที่มั่นใหม่
ในอีกด้านหนึ่งสำหรับหน้าที่สมาชิกของคอมมิวนิสต์จีนเขาได้พยายามที่จะสร้างการรับรู้ในด้านดีของพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อประชาชน โดยโน้มน้าวรัฐบาลก๊กมินตั๋งให้สามารถตีพิมพ์หนังสือพิมพ์คอมมิวนิสต์จีนชื่อว่า Xinhua ribao ได้สำเร็จ เพื่อชักชวนให้ผู้คนให้ต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่นโดยมีภาพลักษณ์ที่ดีของพรรคคอมมิวนิสต์จีนสื่อสารลงไปด้วย
ตัวอย่างหนังสือพิมพ์พรรคคอมมิวนิสต์ Xinhua ribao (1946)
หรือแม้แต่นานาชาติ เขาได้ติดต่อร่วมงานกับนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ต่างชาติจำนวนมากเพื่อให้นำเสนอเรื่องราวของพรรคในแง่ที่ทำให้ผู้คนเห็นใจพรรค ทั้งนี้เพื่อต้องการแรงสนับสนุนจากต่างชาติที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยเช่นกัน
1
ทั้งหมดนี้ทำให้โครงข่ายสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทางด้านกลยุทธ์ทางการทหารโจวเอินไหลอยู่ในตำแหน่งที่มีอิทธิพลในการจัดสรรค์ผู้บัญชาการทหารที่มีความสามารถในการนำทัพและเขายังเสริมสร้างความร่วมมือกับกองทัพแดงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกด้วย
ในปีค.ศ. 1938 ญี่ปุ่นยังคงเร่งรุกเพื่อกำจัดกองทัพของเจียงไคเชกให้หมดไป เพราะญี่ปุ่นเชื่อว่าถ้ากำจัดเจียงได้ประเทศจีนจะตกเป็นของญี่ปุ่นในที่สุด
เมืองอู่ฮั่นต่อมาได้ถูกญี่ปุ่นเข้าโจมตีและยึดอำนาจได้สำเร็จ ทำให้โจวและเจียงไคเชกต้องนำกองทัพถอยไปยังภาคตะวันตกของจีนอีกครั้ง ครั้งนี้ไปที่เมืองฉงชิ่ง ในระหว่างทางต้องผ่านเมืองฉางซา
โจวเอินไหลเกือบที่จะต้องจบชีวิตลงจากเหตุการณ์เผาเมืองฉางซา เพื่อไม่ต้องการให้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองทรัพย์สินใดๆของประเทศจีนได้ จากคำสั่งการที่ผิดพลาดของผู้บัญชาการทหารทำให้ไม่มีการแจ้งเตือนประชาชนก่อนทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและผู้ไร้บ้านจำนวนมาก
ภาพขณะบ้านเรือนที่เมืองฉางซากำลังถูกเผา หลังจากเหตุการณ์นั้นทำให้เกิดผู้ไร้บ้านขึ้นจำนวนมาก
การรบกับญี่ปุ่นดำเนินไปภายใต้ความช่วยเหลือระหว่างสองพรรคโดยมีตัวกลางประสานประโยชน์อย่างโจวเอินไหล คอยดูแล
อย่างที่ทราบกันดีสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศจีนได้จบลงเมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ.1945
สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดที่ประเทศญี่ปุ่น (1945)
หลังจากนั้นไม่นานทั้งสองพรรคก็หันปากกระบอกปืนมาสู้รบกันอีกครั้งและท้ายที่สุดฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้ชนะได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949
บทบาทของโจวเอินไหลหลังจากเกิด New China ขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไรโปรดติดตามได้ในตอนถัดไปครับผม
สำหรับวันนี้ขอบคุณเช่นเคยที่ติดตามผลงานครับ/\
References:
1
โฆษณา