17 ธ.ค. 2019 เวลา 04:36 • ประวัติศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์
"คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ"
The Time x Biography
ผม The Time ขอเล่า
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์
เมื่อปี พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมาองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ องค์การยูเนสโก ได้ประกาศบรรจุชื่อของ "ท่านปรีดี" เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำปี ค.ศ. 2000-2001
และเชื่อว่าเหล่าชาวธรรมศาสตร์นั้นรู้จัก และเคารพเชิดชูท่านเป็นอย่างมาก
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
เป็นผู้นำสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน
เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย ร่วมกับพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (ที่ได้กล่าวไปในบทที่แล้ว)
ให้เป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศง 2475
อีกทั้งท่านยังเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยถึง 3 สมัย และรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ อีกหลายสมัย
ท่านปรีดีเกิดในเรือนแพหน้าวัดพนมยงค์ อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บิดาชื่อ นายเสียง เป็นคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว
มารดาชื่อ นางจันทร์ สืบเชื้อสายมาจากพระนมในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ทางด้านการศึกษา ท่านจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดศาลาปูน
และเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ แต่ก็เรียนแค่ 6 เดือน ก็กลับไปช่วยที่บ้านทำนาเป็นเวลาหนึ่งปี
หลังจากนั้นก็กลับไปเรียนในโรงเรียนกฎหมาย ของกระทรวงยุติธรรม
ระหว่างศึกษาวิชากฎหมายอยู่ ท่านพบว่ากฎหมายหลายฉบับของเมืองไทยนั้นไม่เป็นธรรม เช่น
-กฎหมายสิทธิเสรีภาพนอกอาณาเขต ที่ให้สิทธิชาวต่างชาติเหนือชาวสยาม
-กฎหมายที่ปฏิบัติกับเจ้าและไพร่นั้นแตกต่างกัน
ท่านตั้งใจศึกษาในข้อกฎหมายแห่งความอยุติธรรมเหล่านั้น และตั้งปณิธานไว้ว่า "จะขอมีส่วนร่วมในการแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ เท่าที่มีอกาสจะทำได้ในชีวตนี้"
1
ในที่สุด พ.ศ. 2460 ท่านก็สอบไล่ ได้เป็นเนติบัณฑิต เมื่อท่านอายุได้เพียง 20 ปี
และยังได้ทุนจากกระทรวงยุติธรรม ให้ไปเรียนต่อด้านกฎหมาย ที่ประเทศฝรั่งเศส
มหาลัยก็อง (Univesite de Caen)
เข้าเรียนชั้นปริญญาตรีทางกฎหมาย ที่มหาลัยก็อง (Univesite de Caen)
อีกทั้งยังเข้าศึกษาในด้านนิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การเมือง จากมหาวิทยาลัยปารีส
นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ศึกษาต่อจนจบดุษฎีบัณฑิตด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยปารีส
ดร. ปรีดี เดินทางกลับจากฝรั่งเศษ เมื่อมีอายุได้ 26 ปี
และได้เข้ารับตำแหน่งผู้พิพากษากระทรวงยุติธรรม พร้อมได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงประดิษฐ์มนูญธรรม"
อีกทั้งท่านยังเป็นอาจารย์สอนกฎหมาย และเปิดโรงพิม์นิติสาส์น เพือเผยแพร่วานเขียนต่างๆ สู่สายตาของประชาชน
จนมาถึงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ท่านก็เข้าร่วมกับคณะราษฎร์ทำการยึดอำนาจได้สำเร็จ
ในฐานะผู้นำสายพลเรือนและยังเป็นผู็ร่างประกาศของคณะราษฎร์ด้วยตนเอง
คณะราษฎร์ ในปี พ.ศ. 2475
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือ ร.7 ที่ตอนนั้นเสด็จไปประทับที่วังไกลกังวล ทรงตัดสินใจยอมมอบพระราชอำนาจให้กับประชาชนชาวไทย
และลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติธรรมนูปกครองแผ่นดินสยาม
1
หลังจากยึดอำนาจได้ ก็จัดตั้งรัฐบาลนำโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาขึ้น
ด้านการผลงาน
ท่านได้เขียนกฎหมายให้ผู็หญิงมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งได้เหมือนผู้ชาย เป็นครั้งแรก
ท่านยังเสนอเค้าโครงร่างทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า "สมุดปกเหลือง" ในการพัฒนาประเทศ
ช่วยในเรื่องการประกันสังคม และ การกระจายทรัพย์สิน
อีกทั้งยังเสมอตั้งธนาคารชาติ และ สลากกินแบ่งรัฐบาล
1
แต่ความเห็นและการกระทำต่างๆของท่าน ถูกโจมตีอย่างรุนแรง จากกลุ่มอำนาจทั้งเก่าและใหม่ ที่ไม่เข้าใจในหลักเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริง
จนท่านถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นอันตรายต่อบ้านเมือง
ดร. ปรีดีจึงจำเป็นต้องลี้ภัยทางการเมืองไปที่ฝรั่งเศส ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476
ไม่นานหลังจากนั้นพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาก็เข้ายึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา แล้วเชิญท่านปรีดีกลับประเทศไทย และเข้าร่วมงานกับรัฐบาลของพันเอกพระยาพหลฯ
ส่วนเรื่องข้อกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ ก็ได้ทำการสอบสวนแล้วพบว่าท่านไม่มีความผิดแต่อย่างใด
ต่อมาท่านได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น
เพื่อให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทยได้ก้าวไกลขึ้น
เพราะในเวลานั้นมีเพียงแต่มหาวิทยาลัยเพียงสถาบันเดียวที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษา แล้วผลิตบัณฑิตได้เพียงจำนวนไม่ถึงร้อยคนต่อปี
ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
ท่านปรีดีได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
พร้อมกับจัดตั้งธนาคารชาติขึ้น และเปลี่ยนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ จากเงินปอนด์เป็นทองคำแท่ง เพราะท่านเห็นว่าต้องเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นแน่ ทำให้การใช้เงินปอนด์อาจเป็นปัญหาใหญ่ในไม่ช้า
1
และแล้วสงครามโลดครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นจริง ตามที่ท่านปรีดี คาดการณ์ไว้
โดยประเทศไทยนั้นประกาศเป็นกลาง
แต่เมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484
กำลังพลฝ่ายไทยเรานั้นไม่อาจสู้ได้ จึงจำใจต้องยอมเข้าร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น
ทำให้วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
1
ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอยู่ฝ่ายอักษะ (ด้วยความจำใจ)
ทางฝ่ายอังกฤษก็ตอบโต้โดย ประกาศสรครามกัยไทยเช่นกัน
แต่ถว่าสสหรัฐอเมริกาไม่ได้ประกาศ สงครามด้วย เพราะเห็นว่าไทยถูกญี่ปุ่นรุกราน
ทางญี่ปุ่นระแวงในตัวท่าน ดร.ปรีดี เป็นอย่างมาก และพยายามบีบให้ท่านออกจากอำนาจการเมืองทุกตำแหน่ง
ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 สภาผู้แทนราษฎร มีมติให้ ดร.ปรีดี ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และท่านก็ปฏิเสธที่จะลงนามในประกาศสงครามอีกด้วย
หลังจากญี่ปุ่นเข้าประเทศไทย ก็ได้เกิดขบวนการเสรีไทยขึ้น
โดย ท่าน ดร.ปรีดี เป็นหัวหน้าใหญ่ขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ใช้นามแฝงว่า "รูธ"
ส่วนหัวหน้าใหญ่ในต่างประเทศคือ ม.ร.ว. เสนีย์ ประโมช
1
ขบวนการเสรีไทยได้สร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยอย่างมหาศาล
หลังฝ่ายอักษะแพ้สงคราม แทนที่ประเทศอื่นจะเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น ท่าน ดร.ปรีดี ได้ขอร้องทางอเมริกาว่า ขบวนการเสรีไทยก็เป็นผู้ปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเอง เพื่อไม่ให้ประเทศที่ชนะสงครามเข้ามาหาผลประโยชน์กับประเทศที่แพ้สงคราม
2
ทางอังกฤษก็ส่งจดหมายมาให้ไทยออกแถลงการณ์ คือประกาศความเป็นโมฆะของการประกาศสงคราม ของรัฐบาลจอมพล ป.
ทำให้ไทยไม่ถูกปลดอาวุธเหมือนประเทศอื่น
2
ขบวนการเสรีไทย
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ดร. ปรีดีก็พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และถูกยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษอาวุโส มีหน้าที่ให้คำปรึกษาราชการแผ่นดิน
และแล้ววันที่ 24 มีนาคม พ.ศง 2489 ดร. ปรีดี พนมยงค์ ได้รับดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
หลังจากนั้นไม่นานวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต
ท่านจึงเสนอให้พระเจ้าน้องยาเธอ หรือก็คือ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชต่อ เป็นรัชกาลที่ 9
แต่ทว่าในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ดร. ปรีดีต้องลาออกจากตำแหน่งนายก เพราะถูกโจมตีว่า รัฐบาลพยายามปกปิดและไม่หาข้อเท็จจริงในเรื่องการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 8
และให้ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
เมื่อท่าน ดร. ปรีดี ไม่มีอำนาจใดๆเหลือแล้ว ทำให้ศัตรูทางการเมืองของท่าน เช่น กลุ่มทหารที่สูญเสียอำนาจและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ลงงานท่านทุกวิถีทาง รวมถึงกล่าวหาว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง"
จนนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดของท่าน ดร.ปรีดี
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เกิดการรัฐประหารขึ้น
ประกอบไปด้วย
พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ
พ.อ. กาจ กาจสงคราม
พ.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
พ.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์
พ.ท. ประภาส จารุเสถียร
และ ร.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
แล้วพยายามจับกุมตัวท่าน ดร. ปรีดีกับครอบครัว
แต่ท่านก็หนีได้ทัน โดยหนีไปที่ประเทศสิงคโปร์ หลังการนั้นสองปีก็ลี้ภัยต่อไปอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
ท่าน ดร. ปรีดีกับครอบครัว ลี้ภัยไปอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
ท่านปรีดีและครอบครัวใช้ชีวิตอยู่ที่จีนเป็นเวลากว่า 20 ปี
จนปี พ.ศ. 2513 ก็ย้ายไปอยู่ที่อองโตนี เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น "รัฐบุรุษอาวุโส ผู็อภิวัฒน์การปกครองของประเทศไทย หัวหน้าขบวนการเสรีไทย เป็นผู้มีคุณูปการแก่ชาติอย่างมากมาย"
แต่ในวาระสุดท้ายกลับกลายเป็นบุคคล ที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย
สุดท้ายท่านกลายเป็น "คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ"
เพราะการทำงานของท่านเพื่อประเทศชาติบ้านเมืองนั้นไปขัดขวางผลประโยชน์ของกลุ่มผู้มีอำนาจในสมัยนั้น พวกเขาจึงไม่ต้องการให้ท่านได้อยู่บนพื้นแผ่นดินไทย
1
ทั้งๆที่ท่านได้สร้างความเจริญให้กับเมืองไทย และเป็นรากฐานที่สำคัญมาจนถึงทุกวันนี้
อ้างอิงจาก "หนังสือ 100 ตนผู้ทรงอิทธิพลแห่งสยามประเทศ"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา