18 ธ.ค. 2019 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
"เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย"
Time x Biography
ผม The Time ขอเล่า
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป."
เป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดของไทย คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในกำลังหลักของคณะราษฎร์ ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ท่านยังมีอีกสมญานามว่า "จอมพลกระดูกเหล็ก"
เพราะเป็นนายกฯ คนเดียวของประเทศที่ถูกลอบสังหารถึงสามครั้ง แต่ก็รอดมาได้ทุกครั้ง
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ชื่อเดิมว่า แปลก ขีตตะสังคะ
เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440
บิดาชื่อ นายขีด ขีตตะสังคะ
มารดาชื่อ นางสำอาง ขีตตะสังคะ
สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด พันธุ์กระวี
เหตุที่ท่านชื่อ "แปลก" เพราะมีหูทั้งสองข้างอยู่ในตำแหน่งที่ตํ่ากว่า ประหลาดกว่าคนทั่วไป ภายหลังท่านไม่ชอบให้ใครเรียกเขาด้วยชื้อนี้ จึงเปลี่ยมมาใช้คำย่อว่า ป. แทน
จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2459 ด้วยอายุเพียง 19 ปี พร้อมได้รับยศร้อยตรี และเข้าประจำการที่กองพลที่ 7 จังหวัดพิษณุโลก
จากนั้นได้เข้าเรียนในโรงเรียนเสนาธิการและได้ไปเรียนต่อด้านการทหารจากประเทศฝรั่งเศส
หลังจบการศึกษาก็กลับมารับราชการต่อ ถึงได้ยศพันตรี มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามว่า "หลวงพืบูลสงคราม"
หลวงพืบูลสงคราม หรือก็คือ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ระหว่างเรียนอยู่ที่ฝรั่งเศส ท่านก็ได้พบกับเหล่านักศึกษาไทยที่มีความคิดเห็นตรงกัน ว่าถึงเวลาที่ไทยควรเปลี่ยนมาปกครองประชาธิปไตยได้แล้ว
หนึ่งในนักศึกษาที่ท่านป. เจอคือ "ท่านปรีดี พนมยงค์"
ทำให้ท่านเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะราษฎร์
หลังจากการปฏิวัติจอมพล ป. ก็เข้าได้เข้าร่วมรัฐบาล ทั้งของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาและพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
จนตัวเองได้เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและมหาดไทย
กับกระทรวงศึกษาธิการ (ระยะหนึ่ง)
ในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป. ประเทศได้มีการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่
เพราะท่านมีแนวคิดหัวรุนแรงในเรื่อชาตินิยม
ด้วยคำขวัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ"
ทำให้คนไทยต้องปรับตัวกันกันฏกลาหล
สิ่งที่ท่านเปลี่ยน ล้วนส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน อันได้แก่
-ให้ราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง
-เลิกสวมเสื้อราชปะแตน
-ให้นุ่งกางเกงขายาวแทน
-ยกเลิกบรรดาศักดิ์และยชข้าราชการพลเรือน
-เปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" มาเป็น "ไทย"
-เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยเริ่มเปลี่ยนในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ พ.ศ. 2483 มีเพียง 9 เดือน
ทางด้านสังคม
-สั่งห้ามประชาชนเลิกกินหมาก
-ให้ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน และเปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงแทน
-ให้สวมหมวกสวมรองเท้า
-ใช้คำแทนชื่อเป็นมาตรฐาน เช่น ฉัน ท่าน เรา
-เริ่มใช้คำว่า "สวัสดี"
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมครั้งใหญ่ของไทย
ในปี พ.ศ. 2483 เกิดสงครามอินโดจีน
จอมพล ป. ปลุกระดมคนไทย เรียกร้องให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ลาวและเขมร
ทำให้เกิดสงครามระหว่างไทยและฝรั่งเศส แต่ก็สู้ได้แค่เพียง 22 วัน ญี่ปุ่นก็เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย และให้ลงนาม "อนุสัญญาสันติภาพโตเกียว" ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
1
โดยประเทศไทย จะได้ดินแดนทางฝั่งขวาแม่นํ้าโขงที่เสียไปในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 และดินแดนบางส่วนของเขมรตือ เมืองพระตะบอง และเมืองเสียมราฐ
ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 และบุกทั่วเอเชีย
ทางด้านกำลังของไทย ไม่อาจต้านแสนยานุภาพของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้
จึงยอมลงนามใน "กติกาสัญญาพันธไมตรีไทย-ญี่ปุ่น" เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และในปีถัดมาทำให้ไทยต้องประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 และเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ
กติกาสัญญาพันธไมตรีไทย-ญี่ปุ่น
โดยญี่ปุ่นได้โอนดินแดนที่ยึดมาจากอังกฤษให้ไทยดูแล ได้แก่ ไทรบุรี กลันตะน ตรังกานู ปะลิสในมลายู เชียงตุง และเมืองพานในรัฐฉานของพม่า ในปี พ.ศ. 2486
ก่อนที่สงครามโลกครั้ง 2 จะยุติลง รัฐบาลจอมพล ป. แพ้คะแนนเสียงในสภา ทำให้ต้องลาออก และให้นายควง อภัยวงศ์ขึ้นมาเป็นนายกฯแทน
และเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร นายควง อภันวงศ์ก็ลาออก และให้นายทวี บุณยเกตุขึ้นเป็นนายกต่อ แต่ก็อยู่ในตำแหน่งแค่เพียง 17 วัน
เพราะนายทวีต้องการส่งตำแหน่งนี้ให้กับ ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าขบวนการเสรีไทยที่จะเดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา และมาเจรจาข้อต่อรองในเรื่องของสงครามโลกครั้งที่ 2
ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2478 ท่าน ดร.ปรีดี ที่ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ประกาศว่าการประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกานั้นเป็นโมฆะ
ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าขบวนการเสรีไทยในต่างประเทศ
หลังจากนั้นม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช ยอมคืนดินแดงทั้งหมดที่ได้จากญี่ปุนให้กลับประเทศเดิม และตั้งคณะกรรมาธิการมาพิจารณาอาชญากรสงครามเอง ไม่ให้ต่างชาติเข้ามายุ้งหรือแซกแทรง
ท่านจอมพล ป. ถูกตักสินว่าเป็นอาชญากรสงคราม แต่ไม่ถูกประหารชีวิต แค่ติดคุกระยะหนึ่งและยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด หลังออกจากคุกท่านก็กลับไปทำไร่ถั่งฝักยาว ที่บ้านเกิดใน จ.ลำลูกกา
แต่แล้วในปี พ.ศ. 2491 ก็เกิดการรัฐประหารของกลุ่มนายทหารที่นับถือในตัวจอมพล ป.อยู่ และเชิญท่านกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ ครั้งนี้ท่านอยู่นานถึง 9 ปี
ผ่านวิกฤตและเหตุการณ์กบฏของกลุ่มอำนาจมามากมาย เช่น กบฎเสนาธิการ, กบฎวังหลวง, กบฎแมนฮันตัน และยังเคยยึดอำนาจตัวเองด้วย
อีกทั้งยังโดนรอบสังหารถึง 3 ครั้ง แต่ก็รอดมาได้หมดดั่งปาฏิหาริย์
แต่สุดท้าย ท่านก็ถูกหักหลังโดยนายทหารลูกน้องคนที่ท่านไว้ใจและช่วยท่านรอดพ้นจากกลุ่มกบฏมาโดยตลอด เปรียบดั่งมือขวา ทำรัฐประหารเข้ายึดอำนาจ ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป.
"จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" ที่มีวลีเด็ดว่า "พบกันเมื่อชาติต้องการ"
อ้างว่าทนกับการเรียกร้องของประชาชน ที่เดินขบวนประท้วงการโกงการเลือกที่ว่ากันว่า มีจอมพล ป.อยู่เบื้องหลัง
จอมพล ป.ก็สามารถหลบหนีการจับกุมมาได้อย่างหวดหวิด และลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ญี่ปุ่น และไม่อีกโอกาสได้กลับมาประเทศไทยอีกเลย
และถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507
กระดูกของท่านได้นำกลับมาบรรจุอยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ซึ่งเป็นวัดที่ท่านเป็นคนดำริให้สร้างขึ้น
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นั้นเป็นผู้หนึ่งที่นำความเปลี่ยนแปลงมาแก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องวัฒนธรรมไทย เรื่องความรักชาติ และทำให้ประเทศสยามกลายเป็นประเทศไทย
อีกทั้งเป็นผู้ที่ทำให้เราทุกคนต้องยืนตรงวันละสองเวลาเมื่อเราได้ยิน "เพลงชาติไทย"
1
เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ
"คุณเจเจ หรือ นายกฤษณภูมิ พิบูลสงคราม"
นักแสดงหน้าใสสุดหล่อ ที่สาวๆหลงใหลและรู้จักกันเป็นอย่างดี
เขาคนนี้คือ เหลนของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม (เจเจ)
อ้างอิงจาก "หนังสือ 100 ตนผู้ทรงอิทธิพลแห่งสยามประเทศ"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา